มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ 2541]

การรักษาและป้องกันโรคบิสสิโนซิส

พ.ญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล


การวิจัยเรื่องการรักษาโรคบิสสิโนซิส ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในกลุ่ม acute events ส่วนใหญ่ในการทำ clinical trials จะดูที่ผลการเปลี่ยนแปลงของ flow rates พบว่า antihistamine และวิตามินซี ให้ผลในการ ป้องกัน bronchocon striction และให้การ bronchodi lators เช่นsalbutamol,isoprenaline, orciprenaline และอื่น ๆ จะป้องกัน และ reverse flow rate change ได้
แต่ผลการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางอาการของผู้ป่วย

ในผู้ป่วยรุนแรงนั้นใช้การรักษา เช่นเดียวกับ chronic bronchitis และ emphysema และในผู้ป่วย ที่มีการติดเชื้อ ระบบทางเดินหายใจ ก็ต้องได้รับการรักษา ภาวะติดเชื้อด้วย ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยนี้

เนื่องจากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้ว ถ้าไม่ได้รับการป้องกันมิให้สัมผัสกับฝุ่นฝ้าย ป่าน และปอ อีก เช่นต้องกลับเข้าไปทำงานในสิ่งแวดล้อมการทำงานเช่นเดิม ผู้ป่วยก็จะกลับมาเป็นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า และความรุนแรงของโรคก็มักจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนติดตามมามาก

ดังนั้นการป้องกันด้วยการให้มีการปรับปรุงสถานที่ทำงานและที่อยู่อาศัย เพื่อลดปริมาณฝุ่นฝ้าย ป่าน ปอ หรือฝุ่นเพิ่มซ้ำอื่น ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเบื้องแรก

ในส่วนนี้มีวิธีการไม่ยุ่งยากนัก เช่น การมีระบบทำความสะอาดที่ไม่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย ไม่ใช้ไม้กวาด, เครื่องเป่าลม แต่ใช้เครื่องดูดฝุ่น หรือการทำให้ฝุ่นเปียกหรือหมาดในการกำจัด เพิ่มความถี่ ในการทำความสะอาด ให้สอดคล้อง กับปริมาณฝุ่น ปรับปรุงกระบวนการผลิต และกระบวนการทำงาน ไม่ให้มีฝุ่นฟุ้งกระจาย

มีระบบกำจัดฝุ่นที่เหลือจากการปรับปรุงกระบวนการแล้วซึ่งอาจไม่มากด้วยระบบกำจัดเฉพาะที่ ซึ่งไม่ปล่อยฝุ่นที่กำจัดไปก่อปัญหาสุขภาพให้ผู้อาศัยอยู่ใกล้เคียงโรงงานด้วย ซึ่งในประเทศไทย ยังคงมีสภาพชุมชน ที่ตั้งอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมอยู่

ในระยะยาวต้องมีแผนการผลิตที่ไม่ให้มีฝุ่นหรือมีน้อยที่สุด และโรงงานควรตั้งอยู่ในเขตเฉพาะ เช่น การนิคมอุตสาหกรรม

สำหรับการป้องกันที่ตัวบุคคล ในผู้ที่ยังไม่ป่วย ควรได้รับการให้ความรู้ เรื่องการทำงาน ที่ปลอดภัย และการป้องกันโรคบิสสิโนซิส เพื่อให้มีทัศนคติ และการปฏิบัติที่ถูกต้อง

ในทีทำงานที่ยังมีฝุ่นอยู่ ควรให้มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันสุขภาพส่วนบุคคล เช่น ใช้ที่คลุมผมที่ปลอดภัย ไม่ทำให้ผมเป็นที่กักเก็บฝุ่น ใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นที่ได้รับการรับรอง (approved) แล้วว่าป้องกันฝุ่นฝ้าย ป่าน ปอ ที่ทำให้เกิดบิสสิโนซิสได้

สำหรับผู้ป่วยบิสสิโนซิส ควรได้รับการพิจารณาช่วยเหลือในเรื่องการพักจาก exposure ในระหว่างป่วย ให้ที่ผู้ฟื้น จากการป่วย ได้รับการจัดให้ทำงานที่เหมาะสม ซึ่งไม่มีฝุ่นฝ้าย ป่าน ปอ ซึ่งหลายแห่ง ได้ดำเนินการ ช่วยเหลือผู้ป่วย และป้องกันเพื่อนร่วมงาน ของผู้ป่วย ที่เป็นกลุ่มที่เสี่ยง ต่อการเกิดโรค บิสสิโนซิส อย่างได้ผล

นอกจากนั้นควรให้ผู้ป่วยป้องกันตนเองจากการได้รับฝุ่นชนิดอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มซ้ำโรค และหลีกเลี่ยง ควันบุหรี่ด้วย

ด้วยประเทศไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมมาไม่น้อยกว่า 20 ปี ควบคู่กับการมีแผนงานพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับแรก ๆ กระทั่งปัจจุบันนี้ กำลังอยู่ระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม แห่งชาติฉบับที่ 7

ในช่วงต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น ภายในประเทศมีการลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และมีการจ้าง แรงงาน ในภาคนี้ จำนวนมาก ส่วนใหญ่ เป็นแรงงานหญิง ซึ่งผู้ทำงานเหล่านี้ ต้องได้รับฝุ่นฝ้าย ป่าน และปอ แต่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคที่เกี่ยวของกับงาน ซึ่งเนื่องจากฝุ่นดังกล่าว

ทั้งนี้เนื่องจากในระยะ 20 ปีที่ผ่านมานั้น ประเทศไทย อยู่ระหว่างขาดการพัฒนา ทางการแพทย์ และสาธารณสุข ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงาน และการป้องกันโรค จากการทำงาน และมลพิษ ทำให้ที่ผ่านมา ผู้ป่วยที่เป็นผู้ทำงาน ในกลุ่มนี้ ไม่ทราบถึงสาเหตุการป่วย ไม่ได้รับการรักษา ที่สอดคล้องกับสาเหตุ

และผู้ทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ ไม่ได้รับการป้องกันโรคนี้

แพทย์เวชปฏิบัติ แพทย์อุรเวช และแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ เป็นบุคคลที่สำคัญ ในการให้การวินิจฉัย โรคบิสสิโนซิส ซึ่งการวินิจฉัยไม่ซับซ้อน ถ้าแพทย์ได้ซักถามประวัติ การทำงานของผู้ป่วยทุกราย โอกาสที่จะเพิ่ม ความถูกต้อง และความแม่นยำ ในการวินิจฉัย และการช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อนร่วมงาน ของผู้ป่วย และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

และแพทย์ควรได้มีการรายงานผู้ป่วยนี้ เช่น เป็นกรณีศึกษาอุบัติการ ของโรค หรือการศึกษาวิจัย อื่น ๆ และนำลงพิมพ์ในวารสาร และหนังสือทางวิชาการ ด้านการแพทย์
เพื่อช่วยพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์ใรส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคบิสสิโนซิสด้วย

สำหรับแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับฝุ่นเหล่านี้ เช่นพื้นที่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร พื้นที่ภาคเหนือ พื้นที่เฉพาะบางแห่ง ควรได้จัดให้มีการ พัฒนาบุคลากร เพื่อการเฝ้าระวังโรค บิสสิโนซิส (Byssinosis surveillance)

ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาได้ไม่ยุ่งยาก จะช่วยป้องกันการเกิดโรคนี้ได้มาก ส่งผลถึงความมีสุขภาพ และคุณภาพ ของผู้ทำงาน และการผลิตที่มีประสิทธิภาพด้วย แรงงานที่มีคุณภาพเชิงสุขภาพที่ดี จะเป็นประโยชน์ แก่ชุมชน และท้องถิ่นโดยรวมด้วย

ฝุ่นชนิดต่าง ๆ – อันตรายที่แตกต่าง
ชนิดของฝุ่น/งานอันตรายต่ออวัยวะชื่อโรคตัวอย่างอาการ
-ฝุ่นฝ้าย
(Cotton Dust) /
งานสิ่งทอ
เกี่ยวกับฝ้าย
ทางเดินหายใจ/ปอด
เยื่อบุตา
ทางเดินหายใจส่วนต้น
โรคบิสสิโนซิส
ต้อลม
ต้อเนื้อ
ทางเดินหายใจ
ส่วนต้นอักเสบ
แน่นหน้าอก
หายใจอึดอัด
ไอ มีเสมหะ
คัน เจ็บตา ตาแดง
มองไม่ชัดบางครั้ง
เจ็บคอ คันจมูก ฯลฯ
-ฝุ่นจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
(Other organic dust)
เช่นงานกับ
ฝุ่นชาญอ้อย
ทางเดินหายใจ/ปอด
คล้ายกับฝุ่นฝ้าย
โรคบาแกสโซซิสอาการคล้ายกับ
โรคทางเดินหายใจอื่น
-ฝุ่นแร่ใยหิน
(Asbestos)
ในงานเกี่ยวกับ
แร่ใยหิน
เนื้อปอด/โพรงจมูก
เยื่อบุปอด/เยื่อบุอื่น
โรคแอสเบสโตซิส โรคมะเร็งเมโสเทสิโอมา แน่นหน้าอก
หายใจลำบากฯ
เสียชีวิต
-ฝุ่นควอซหรือ
ฝุ่นหินทราย (Quartz)
ในงานเกี่ยวกับ
ฝุ่นหิน/ทราย
มีพังผืดที่เนื้อปอดเป็นหลัก โรคซิลิโคซิส แน่นหน้าอก อึดอัด
หายใจลำบาก
เหนื่อยง่ายเมื่อออกแรง
-ฝุ่นโลหะ (Metals)
เช่น ฝุ่นทังสเตน
ฝุ่นเหล็ก
ฝุ่นอะลูมิเนียม
เนื้อปอด ทางเดินหายใจ โรคปอดโลหะแข็ง โรคซิเดอโรซิส
โรคอลูมิโนซิส
แน่นหน้าอก อึดอัด
หายใจลำบาก
เหนื่อยง่ายเมื่ออกแรง และกลุ่มอาการอื่นๆ
-ฝุ่นอื่น ๆ (Other dusts) เนื้อปอด ทางเดินหายใจ โรคทัสโคซิส แน่นหน้าอก
อาจมีวัณโรคแทรก
และไอเป็นเลือด

พ.ญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล


[BACK TO LISTS]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1