มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากนิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2540 ]

โรคมะเร็ง กับ วิถีทางการดำรงชีวิตของคนเรา

พญ.จันทรา เจณณวาสิน


มะเร็งเป็นโรคร้ายที่ทุกคนหวาดผวาเนื่องจากสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็งนั้น ไม่มีใครทราบแน่นอนถึงแม้บทบาททางกรรมพันธุ์มีส่วนสำคัญในการเกิดโรคมะเร็ง หลายชนิด เช่น การบิดผันแปรสภาพ (Mutation) ของยีน BRCA 1 และ 2 มีส่วนในการทำให้เกิดมะเร็งเต้านมในสตรีอายุน้อยก่อนถึงวัยหมดประจำเดือน มะเร็งของรังไข่และของลำไส้ใหญ่มีส่วนเกี่ยวกับยีนเช่นกัน แต่ประมาณ 80% ของโรคมะเร็งทั้งหลาย (รวมทั้งมะเร็งของเต้านมด้วย) เกิดขึ้นจากวิธีทางการดำรงชีวิต และสภาพแวดล้อมของคนเรานั่นเอง คือ อาหาร เครื่องเสพบริโภค ทั้งปวง อากาศที่หายใจ อาชีพการทำงาน ตำแหน่งที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพ

มะเร็งเป็นโรคที่กำจัดถอยรากถอนโคนให้สิ้นซากได้ยาก ถ้ามันกระจายแพร่ไปสู่ ส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทั้งนี้เพราะมะเร็งคือ เซลล์ของร่างกายที่มีรูปร่างและคุณสมบัติผิดแปลกไปจาก เซลล์ปกติทั่วไป ร่างกายของคนเราประกอบด้วยเซลล์ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของอวัยวะต่าง ๆ นับเป็นหลายพันล้านเซลล์ เซลล์เหล่านี้แบ่งแยกหน้าที่กันเป็นสัดส่วนต่างร่วมกัน ประสานงานเพื่อการดำรงชีวิตที่แข็งแรงเป็นปกติสุข และเมื่อมีเหตุใดก็ตามมาทำให้ เซลล์ของร่างกายเกิดแปรสภาพผิดปกติไปโดยมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นตุ่ม เป็นก้อนขึ้นมา กลุ่มเซลล์เหล่านี้มีชื่อว่าเนื้องอกชนิดธรรมดา (Beningn tumor) หรือเป็นเนื้อร้าย(Malignant Tumor Cancer) ที่เรียกว่ามะเร็ง เพราะนอกจากมันมีขนาด โตขึ้นเบียดบังเนื้อที่ของอวัยวะรอบด้านแล้ว มันยังสามารถแตกหน่อแพร่กระจายไปตาม ระบบน้ำเหลืองหรือกระแสโลหิตสู่อวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย ด้วยเหตุนี้ หนทางป้องกัน การเกิดมะเร็งและวิธีค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรกก่อนที่มันจะแพร่สู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเรียกว่าCarcinoma in Situ รวมทั้งการเสาะหาเซลล์ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปในทาง ผิดปกติ (Dysplaia or Atypia) ก่อนที่จะถึงขั้นเป็นมะเร็ง นั่นย่อมเป็นเป้าหมายในการรณรงค์ เพื่อสุขภาพที่ดีปลอดจากโรคร้าย

ในปัจจุบัน การค้นคว้าทางวงการแพทย์ช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อม และสิ่งบริโภค ที่มีอิทธิพลในการช่วยเพิ่มหรือลดอัตราการเสี่ยงการเกิดมะเร็ง เป็นต้นว่า

1. อาหาร เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความโน้มเอียงของการเกิดโรคมะเร็ง ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนคนไข้ที่ตายด้วยโรคมะเร็ง อาหารที่มีไขมันสัตว์สูง มีบทบาทสำคัญ ในการทำให้เกิดมะเร็งของเต้านม ลำไส้ใหญ่ มดลูกและต่อมลูกหมาก ดังนั้น ท่านควรกำหนดปริมาณไขมันไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนแคลอรีในอาหารทั้งหมด ที่รับประทานในขณะเดียวกันท่านควรเพิ่มจำนวนกากอาหารโดยเฉพาะ เส้นใยจากพืช (Fiber) ให้ถึง 30 กรัมต่อวัน สัดส่วนธัญพืชที่มีเส้นใยมากตามตาราง ถ้าท่านรับประทาน ถั่วต้ม (เช่น Peas or bean or Lentil) ครึ่งถ้วยตวง ข้าวสาลีซ้อมมือหนึ่งจาน รวมทั้งข้าวเจ้าซ้อมมือ หรืออาหารเช้า จากข้าวสาลี ชนิด (high fiber wheat-bran cereal) ก็ได้ ท่านได้รับ กากเส้นใยถึง 5 กรัม ส่วนขนมปังที่ทำจากข้าวสาลีซ้อมมือหรือข้าวไรน์ 1 แผ่น มีเส้นใยกากอาหาร 2 กรัม เท่ากับผักหรือผลไม้ 1 ส่วนเสริฟ (one serring) (คำว่า 1 ส่วนเสริฟ หรือ One Serring ของผักหรือผลไม้มีปริมาณ เท่ากับ ผักใบเขียว 1 ถ้วยตวง ผักต้มหรือผักดิบหั่นละเอียด ครึ่งถ้วยตวง น้ำผลไม้หรือน้ำผักคั้นถ้วยตวง แอปเปิ้ลขนาดกลาง 1 ผล ส้ม 1 ผล กล้วยหอม 1 ลูก ผลไม้แห้ง 2 ช้อนโต๊ะ ในแต่ละวันคนเราควรรับประทานผักหรือผลไม้ให้ได้ปริมาณถึง 5 ส่วนเสริฟ) ผลสำรวจที่ตีพิมพ์ในหนังสือของสถาบันมะเร็ง (Journal of the National Cancer Institute วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1996) แสดงให้เห็นว่าสตรีที่อยู่ในมลรัฐนิวยอร์ก ถ้าเธออยู่ในกลุ่มที่รับประทานผักผลไม้มากกว่า 5 ส่วนเสริฟต่อวันแล้วเธอมีอัตราเสี่ยง ในการเกิดมะเร็งของเต้านมลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มสตรีที่รับประทาน ผักผลไม้เพียงประมาณ 3 ส่วนเสริฟต่อวัน

ดังนั้นท่านควรรับประทานผักใบเขียว และผลไม้ที่มีสีส้ม เช่น ผักขม ผักคะน้า มะเขือเทศ แครอท แตงกวา ข้าวโพด มะนาว ส้ม แอปเปิล มะละกอ ซึ่งต่างมีสารที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โดยการทำลายอนุมูลอิสระ (Free radical) และผักบางชนิด เช่น ผักกะหล่ำปลี มรอกคอรี่ ผักคะน้า ดอกกระหล่ำ รวมทั้งหัว Brussel sprocets มีสาร Sulforaphane ซึ่งช่วยกระตุ้น การทำงานของน้ำย่อย (enzymes) ของร่างกายซึ่งมีบทบาทในการต่อสู้มะเร็งของเต้านม แบบเดียวกับสาร Carotinoicl ในพืชผักสีส้ม ช่วยสกัดกั้นการเจริญเติบโตของมะเร็งในปอด แต่ถ้าเป็นสารสกัดหรือสังเคราะห์ เช่น วิตามิน ซี วิตามิน อี (C E) และกรดโพลิก ที่มีบรรจุขวดขายอยู่ตามร้านจำหน่าย กลับไม่มีผลดีดังที่ทำการทดลองในสภาพธรรมชาติ คือ ในผักผลไม้สด ยกตัวอย่าง ผักชีที่ราคาสูงขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 140 บาท ในกรุงเทพฯ นั้น มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก ผักชีสับละเอียดครึ่งถ้วยตวง ให้วิตามินซีถึง 40 มิลลิกรัม (ประมาณสองในสามส่วนของร่างกายที่ต้องการ) และมีปริมาณวิตามิน ซีเท่ากับ สับปะรดสับสองถ้วยตวง รวมทั้งมีปริมาณเหล็ก ซึ่งสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ถึงสิบเท่าของไข่ลวกหนึ่งฟอง นอกจากนี้ยังมีสารเบต้า คารอตีน (beta carotene) ซึ่งป้องกันการเกิดมะเร็ง และมีธาตุแคลเซียมเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผักชีมิใช่แต่ ปรุงกลิ่นเติมสีโรยหน้าให้สวยงามเท่านั้น มันมีคุณประโยชน์มากมายดังกล่าว ยกเว้นแต่ว่า ราคาช่วงนี้สูงขึ้นจนคงต้องปลูกรับประทานเองเสียแล้ว นอกจากนี้พวกเต้าหู้มีคุณอนันต์เช่นกัน

2. การเสพสูบใบยา และบุหรี่ ซิการ์ทุกชนิด เป็นการเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ อีกถึง 30 เปอร์เซ็นต์ มะเร็งปอด มะเร็งในช่องปาก ลำคอ (throat) หลอดอาหาร ตับอ่อน ไต ปากมดลูก กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้บุคคลที่รับควันบุหรี่ เนื่องจากผู้ใกล้ชิดสูบบุหรี่ จัดเป็น Second-hand Smoker นับว่าเป็นกลุ่มที่มีอัตราการตายเนื่องจากมะเร็งที่ปอดสูงกว่า กลุ่มชนที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ ข่าวดีที่น่าสรรเสริญคือ บรรดาผู้บริหารบริษัทสายการบินไทย ในการงดการสูบบุหรี่ในเครื่องบิน เส้นการเดินทางระหว่างลอสแอนเจลิสและกรุงเทพฯ โดยที่สายการบิน EVA ได้ปฏิบัติมาก่อนหน้านี้เช่นกัน

3. แอลกอฮอล์ พวกเหล้า เบียร์ ไวน์ ต่าง ช่วยเสริมคุณสมบัติของสาร ในใบยาสูบ ทำลายร่างกายและก่อให้เกิดมะเร็งในปากและลำคอ รวมทั้งที่ตับ องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำว่า สตรีไม่ควรดื่มเหล้าเกินหนึ่งแก้ว และบุรุษไม่ควรดื่มเกินสองแก้ว ในแต่ละสัปดาห์ (หนึ่งแก้วในที่หมายถึง เหล้าไวน์ 5 oz เบียร์หนึ่งขวดหรือหนึ่งกระป๋องที่มีขนาด 12 oz เครื่องดื่มคอกเทลที่มีขนาด 1.5 oz และแอลกอฮอล์ distilled spirits ไม่เกิน 80 proof) สตรีที่ดื่มเหล้าวันละหนึ่งแก้ว มีอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นถึง 11 เปอร์เซ็นต์ (Cancer Causes and Control, Vol 5, 1994)

4. แสงแดดช่วงระหว่าง 9.00-15.00 น. และการอบผิวให้เป็นสีน้ำผึ้งตามสถานเสริมสวย ช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ของผิวหนังสูงขึ้นถึง 66 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ผิวบาง

5. สิ่งที่อยู่ในการควบคุมของแพทย์ เช่น รังสีเอกซเรย์ และการบำบัด รักษาด้วยรังสี ย่อมเพิ่มอัตราการเปลี่นแปลงของเซลล์ให้ผิดปกติไปจนถึงขั้นเป็นมะเร็งได้ ส่วนตัวยาฮอร์โมนสตรีเพศอีสโตรเจนที่ผสมอยู่ในตัวยาคุมกำเนิดและที่ใช้ป้องกัน โรคกระดูกผุ โรคหัวใจ รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ ที่ติดตามมาในวัยหมดประจำเดือน ตัวยาฮอร์โมนนี้ก่อให้เกิดมะเร็งในมดลูก และมีส่วนเสริมให้อัตราการเกิดมะเร็งเต้านม สูงขึ้นด้วย ดังนั้นการใช้ยาที่มีฮอร์โมนตัวนี้ควรอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ บางครั้งยาเข้าสมุนไพรบางอย่างมีสารที่ให้ฮอร์โมนผสมอยู่ด้วย ด้วยเหตุนี้ ควรตรวจดู ส่วนผสมของยาแต่ละชนิด

6. สารเคมีหลายชนิด ที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมและตามบ้านเรือนมีพิษร้าย ในการกระตุ้นให้เกิดมะเร็งและความผิดปกติและพิการอื่น ๆ ที่อาจถึงชีวิตได้ เรื่องนี้นอกจากภาครัฐและนักวิทยาศาสตร์ช่วยกันกวดขันดูแลแล้ว ภาคเอกชนและตัวบุคคล แต่ละคนควรถือเป็นหน้าที่ในการเสาะหาความรู้เพื่อป้องกันตนเอง ชุมชนที่ตนอยู่อาศัย ควรส่งเสริมการใช้สารเคมีที่สลายตัวได้ตามธรรมชาติไป เป็นสารไม่มีโทษ (Biodeqradable หรือ Environmental Safe)

7. ความโน้มเอียงทางพันธุ์กรรม เป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้บุคคลที่มี ประวัติการเกิดมะเร็งในครอบครัวโดยเฉพาะ มะเร็งของเต้านม รังไข่และลำไส้ เปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกสุขลักษณะอนามัย เพื่อลดอัตราการเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง นอกเหนือไปจากการตรวจทดสอบหายันต้นตอในการเกิดมะเร็ง

องค์การป้องกันมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาได้ขอร้องให้แต่ละคนตั้งใจทำคำมั่นสัญญา ในการเปลี่ยนวิถีทางดำรงชีวิตไปในทางลดอัตราการเกิดมะเร็ง โดยกำหนดวันที่ หยุดสูบบุหรี่ กำหนดวันเริ่มออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีคุณประโยชน์ดังกล่าวแล้ว พยายามหาวิธีทางลดความเครียด หาเวลาไปตรวจเช็กร่างกายเป็นประจำ และหาแนวร่วมในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตัวเราให้อยู่ในขอบเขตแห่งสุขลักษณะ โดยเฉพาะเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือตามเมืองใหญ่ ๆ

พญ.จันทรา เจณณวาสิน


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1