มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

แพทย์เตือนอย่าเห่อแฟชั่น'อาหารชีวจิต' โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไต-เบาหวาน

จาก กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ.2541


แพทย์เตือนผู้ป่วยโรคไต ไตวายเรื้อรัง เบาหวานหัวใจ ไม่ควรเห่อตามแฟชั่นรับระทานอาหารแบบชีวจิต เพราะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ รวมทั้งควบคุมอาหารและน้ำ แนะนำเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนตรวจสุขภาพประจำปี

รศ.พันเอกหญิงพรรณบุปผา ชูวิ เชียร หัวหน้าหน่วยโรคไต โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ และที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทประกันชีวิตศรีอยุธยา ซีเอ็มจี จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริหารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าขอสนับสนุนให้ประชาชนที่สนใจเรื่องสุขภาพ หันมาบริโภคอาหารชีวจิต เพราะเป็นการกลับคืนสู่ธรรมชาติ ย้อนอดีตเมื่อครั้งปู่ย่าตายายนิยมบริโภค พืชผักสวนครัว น้ำพริก ที่มีคุณค่าต่อร่างกาย ปลอดสารพิษเมื่อบริโภคแล้ว ยังมีกากอาหาร ช่วยในการขับถ่าย รวมทั้งลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้เป็นอย่างดี

"แต่ขอเตือนผู้ป่วยโรคไต ไตวายเรื้อรัง เบาหวาน หัวใจ ไม่ควรรับประทานอาหารแบบชีวจิต เพราะผู้ป่วยเหล่านี้ ถูกควบคุมอาหารบางประเภท และต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ อาหารชีวจิตจะมีปริมาณโปรตีนต่ำ เด็กก็ไม่ควรรับประทานเฉพาะชีวจิตอย่างเดียว เพราะร่างกายต้องการโปรตีนไปเสริมสร้างให้เจริญเติบโต ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว"

รศ.พันเอกหญิงพรรณบุปผา กล่าวอีกว่า ในภาวะปกติควรจะได้รับโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน ในโปรตีน 100 ส่วน จะมี ไนโตรเจน 1 ส่วน โดยโปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ และเนื้อเยื่อต่างๆ ของ ร่างกาย แต่ในผู้ป่วยโรคไตและเบาหวาน หากรับประทานมากเกินไป จะมีการสะสมของเสียสาร ประกอบไนโตรเจนต่างๆ สูง ซึ่งเป็นผลเสียต่อร่างกาย หากรับประทานน้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อการรักษาสมดุลของไนโตรเจน ในระยะยาวจะทำให้เกิดภาวะทุพโภนชนาการของผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง จะต้องจำกัดอาหารโปรตีนเหลือเพียง 40 กรัมต่อวัน และควรเลือกโปรตีนที่มีคุณค่า ทางอาหารสูง คือ โปรตีนจากไข่ และเนื้อสัตว์ แต่ลดปริมาณลง การที่ต้องจำกัด อาหารโปรตีน เพื่อไม่ให้ไตก็ต้องทำงานมาก แล้วจะเสื่อมเร็ว และยิ่งผู้ป่วยเป็นโรคไตวาย ขั้นรุนแรง ต้องหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดทุกชนิด อาหารที่มีน้ำ หรือผลไม้ อาทิ แตงโม มะเขือเทศ เพราะน้ำจะเป็นตัวกระตุ้นให้น้ำท่วมปอด ท่วมหัวใจ และยังมีการคั่งของเลือด ทำให้เกิดอาการ แน่นหน้าอก เหนื่อย หายใจหอบ หัวใจเต้นช้าลง จนหยุดเต้นไปในที่สุด

"หมอขอแนะนำให้หมั่นใส่ใจกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และอย่ากินอาหารชนิดใดซ้ำซากจำเจ เพราะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหารได้ หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ คนเป็นโรคเบาหวาน ก็ต้องจำกัดแป้ง ข้าว หรือผลไม้สุก ถ้าเป็นโรคอ้วน ต้องจำกัดไขมัน หากมีเวลาก็ควรจะตรวจสุขภาพ รักษาเสียแต่เนิ่นๆ จะปลอด ภัยกว่า"

รศ.พันเอกพรรณบุปผากล่าวว่า อาหารชีวจิตไม่ได้รักษาโรคมะเร็ง แต่หายจากอาการ ท้องผูก มีกำลังใจ เพราะจิตคนเราแรงกล้า สามารถทำให้ร่างกายถดถอย หรือดีขึ้นได้ ขอเน้นว่า ให้รักษาโรคที่เป็นอยู่ โดยการใช้อาหารชีวจิตเป็นกลุ่มการรักษาด้วยอาหาร ที่เรียกว่า Diet control หรือ Diet Therapy และต้องประกอบกับการใช้ยาแผนปัจจุบันด้วย จึงจะได้ผลดีเลิศ ซึ่งระหว่างการรักษา อาจจะต้องมีอาการแพ้ยา หรือมีผลข้างเคียง จากการรักษาโรคบ้าง


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1