มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2541 ]

ฝุ่น ไรฝุ่น และแมลงสาบ เกี่ยวพันกับโรคภูมิแพ้อย่างไร?

ดร.มัณฑนา พิชัยศรทัต


ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหอบหืด แพ้อากาศ ผื่นคันผิวหนัง ลมพิษ
เยื่อตาเยื่อจมูกอักเสบเรื้อรัง เมื่อแพทย์สอบถามประวัติ และนำมาทดสอบ
ทางผิวหนัง เพื่อหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ ปรากฏผลว่าเกื อบร้อยละ 80
ของผู้ป่วยเหล่านี้ แพ้ฝุ่นบ้าน ไรฝุ่น เชื้อรา ละอองเกสรดอกหญ้า และแมลงสาบ

ไรฝุ่นคืออะไร ?

เมื่อปีพ.ศ.2507 นักวิทยาศาสตร์ชาว ฮอลแลนด์และชาวญี่ปุ่น ต่างค้นพบ
ในเวลาไล่เลี่ยกันว่า "ไรฝุ่น" เป็นส่วนประกอบ สำคัญที่สุดที่เจือปนอยู่ในฝุ่น
ตามบ้านเรือน และก่อให้เกิดอาการแพ้หลายๆ ชนิด ไรฝุ่นไม่ใช่แมลง
แต่เป็นสัตว์ในกลุ่ม "อาร์โทรพอด" (ARTHROPOD) เป็นพวกแมง มีขาเป็นปล้อง
ตัวอ่อนมี 6 ขา เมื่อโตเต็มที่มี 8 ขา มีขนาดเล็ก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
ต้องใช้กล้องจุลทัศน์ส่องจึงจะเห็น เมื่อเติบโตเต็มที่มีขาทั้งหมด 4 คู่
ส่วนหน้า มีก้ามคล้ายก้ามปู 1 คู่ใช้ป้อนอาหารเข้าปาก
ไรฝุ่นอาศัยเศษรังแคของมนุษย์เป็นอาหาร ชอบอยู่ในที่อบอุ่นและอับชื้น
เช่น ตามที่นอน ผ้าห่ม เครื่องเรือนที่บุนวม และตามพรม เป็นต้น


สำหรับประเทศไทย ได้ทำการสำรวจเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ.2514 โดย
นพ.พิพัฒน์ ชูวรเวช ร่วมกับคณะแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจ พบว่า
บ้านเรือนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร มีไรฝุ่นมากมาย ซึ่งเป็น ประเภทเดียวกับที่
นักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศรายงานไว้
จากการสำรวจฝุ่นบ้าน และทดสอบทางผิวหนังในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้คนไทย พบว่าผู้ป่วยที่แพ้ฝุ่นมักแพ้ไรฝุ่นร่วมด้วย

แมลงสาบ...สารก่อภูมิแพ้ของชุมชน

แพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคภูมิแพ้เคยตั้งข้อสังเกตมานาน แล้วว่า
แมลง ที่อาศัยอยู่ตามบ้านเรือนน่าจะเกี่ยวข้องกับ โรคหอบหืด แต่ไม่มีข้อพิสูจน์
จนกระทั่งเมื่อประมาณกลางปีที่แล้ว วารสารทางการแพทย์ชื่อ New England Journal of Medicine ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่เก็บข้อมูลจากเด็กที่มีปัญหาหอบหืดอายุ 4-9 ขวบ
ที่อยู่ตามเมืองใหญ่ๆ 8 แห่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบว่าเด็กที่มีปัญหาดังกล่าว
ส่วนใหญ่แพ้แมลงสาบรองลงมาได้แก่ แพ้ตัวไรฝุ่นและแพ้ขนแมว
เมื่อนักวิจัยไปเก็บข้อมูลในห้องนอนของเด็กๆ จึงพบว่า มีสารก่อภูมิแพ้
ที่เกิดจากแมลงสาบ เช่น ขี้แมลงสาบ ไข่ หนวด เศษปีก ขาของ แมลงสาบเป็นจำนวนมาก
เมื่อเทียบกับที่เกิดจากไรฝุ่นและที่เกิดจากขนแมว

ในประเทศไทย พ.ศ.2513 (1970) นพ.พิพัฒน์ ชูวรเวช และคณะ
จากโรงพยาบาลตำรวจ ได้รายงานเกี่ยวกับการแพ้ ฝุ่นบ้าน และแมลงสาบ
ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ของคนไทย ในวารสารทางการแพทย์ LANCET (1970)
และได้รายงานในวารสาร จดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
ในปี 2514 (1971) และ 2517 (1974) ผลสรุปพบว่ามี>แมลงสาบ 10 ชนิด
ซึ่งทำการศึกษาโดย Dr. Princis K. ในปี 2514 โดย มาทำการศึกษาที่ประเทศไทย
พบว่ามี 4 ชนิด (Species) จาก 10 ชนิด ที่พบบ่อยในบ้านเรือน


ในคลินิกโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยมาด้วยอาการผื่นคัน ตุ่มใส ลมพิษและบวมที่ผิวหนัง
เป็นๆ หายๆ นอกจากนี้ ยังมีอาการไอ จามและหอบหืดอีกด้วย พบว่าเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้
ในกลุ่มโรคหอบหืด เมื่อตรวจทดสอบทางผิวหนังให้ผลบวกกับฝุ่น และแมลงสาบ
ส่วนแมลงสาบได้ทำวิจัยทั้งตัวแมลงสาบและมูลแมลงสาบด้วย
ยิ่งเด็กอายุน้อยพบว่าให้ผลบวกมากกว่าเด็กในกลุ่มอายุมากขึ้น
จึงมีความจำเป็นต้องกำจัดแมลงสาบออกจากบ้านเรือนผู้ที่ เป็นโรคหอบหืด
โดยเฉพาะผู้ที่ให้ผลบวกทางผิวหนัง (Skin Test)

การป้องกันแมลงสาบทำได้ ถ้าทุกคนในบ้านร่วมมือกัน พยายามเก็บอาหาร
ให้มิดชิด ใส่กล่องภาชนะ หรือใส่ถุงปิดปากให้แน่น หากมีเศษอาหารเหลือหรือขยะ
ควรเก็บใส่ถุงรัดยางให้แน่น และนำไปทิ้งในถังขยะซึ่งอยู่นอกบ้านทุกวัน
บ้านไม่ควรมีซอกหลืบที่ทำความสะอาดยากและอาจเป็นที่หลบซ่อนตัวของแมลงสาบ
การใช้กาวและอุปกรณ์ดักแมลงสาบช่วยกำจัดแมลงสาบได้บางส่วน
นอกจากนี้ ควรทำความสะอาดบ้านให้ดี หมั่นเก็บกวาด เช็ดถูบ้านเรือนด้วยน้ำยาถูพื้น
ที่มีสารกำจัดแมลงที่ปลอดภัยต่อสุขภาพก็ช่วยได้เช่นกัน

เชื้อราและละอองเกสรดอกหญ้าในอากาศ และสิ่งแวดล้อม

อากาศที่เราหายใจมีสปอร์ของเชื้อรา มีละอองของเกสรดอกหญ้า วัชพืชและต้นไม้
เจือปนอยู่คนทั่วไปหายใจเข้าไปจะไม่เกิดอาการ ยกเว้นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้
สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ ส่วนเชื้อรามีมากในที่ชื้นแฉะ ในที่อับ
อากาศไม่ถ่ายเท ส่วนละอองเกสร ดอกหญ้า วัชพืชและต้นไม้จะกระจายในอากาศ
ซึ่งบินปลิวลอยไปไกลได้หลายสิบกิโลเมตร

ผู้ป่วยที่แพ้เชื้อราควรอยู่ในที่แห้ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ตากเสื้อผ้าเปียกชื้น
หรือปลูกต้นไม้ในห้องส่วนผู้ที่แพ้ละอองเกสรดอกหญ้า ไม่ควรเข้าใกล้สนามหญ้า
ในวันที่ลมแรงควรอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ

ดร.มัณฑนา พิชัยศรทัต


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1