มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/
[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2541]
ค็อก ๆ แค็ก ๆ
ถึงเวลาของยาแก้ไอ
รศ.ภญ.ธิดา นิงสานนท์
การไอ เป็นกลไกธรรมชาติที่เกิดขึ้นเอง เมื่อร่างกายต้องการขจัดเอาสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรค ที่มีอยู่ในทางเดินหายใจออกมา นับเป็นกลไกที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งการไอมาก ๆ หรือนาน ๆ ก็ก่อให้เกิดความรำคาญ เป็นอย่างมากได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องใช้ยา เพื่อช่วยบรรเทาอาการลง
สาเหตุของการไอนั้นมีมากมาย ตั้งแต่การแพ้สารบางอย่าง การแพ้ฝุ่นควัน การติดเชื้อในทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง เช่น การเป็นหวัดธรรมดา จนไปถึงการติดเชื้อที่รุนแรง เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวมหรือวัณโรค
ยาบรรเทาอาการไอ ที่ควรรู้จัก อาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
- ยากดอาการไอ เป็นยาที่จะไปกดศูนย์ควบคุมการไอที่สมอง เช่น โคดีอีน แต่ควรใช้ยานี้ในกรณีที่มีอาการไอแห้งหรือไออย่างรุนแรง ยาในกลุ่มนี้จะทำให้ผู้รับประทานเกิดอาการซึมและง่วง
- ยาขับเสมหะ (Expectorant) เป็นยาที่จะไปเพิ่มของเหลวในหลอดลมเพื่อช่วยลดความเหนียวของเสมหะลง และเป็นการกระตุ้นให้มีการขับเสมหะ
- ยาละลายเสมหะ (Mucolytic) เป็นยาที่มีฤทธิ์ทำให้โมเลกุลของเสมหะแตกออก เหลวลงละลายน้ำได้มากขึ้น เพื่อให้ถูกขับออกมาได้ง่ายขึ้น
โดยทั่วไปแล้ว ถ้ามีอาการไอที่ไม่รุนแรงมากนักและมีเสมหะ แพทย์หรือเภสัชกร มักจะแนะนำ ให้ใช้ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ รวมกับการดื่มน้ำมาก ๆ ในการบรรเทารักษา แต่หากอาการไออยู่ในขั้นรุนแรง แพทย์และเภสัชกร ก็จะแนะนำให้ใช้ยา ที่มีฤทธิ์กดอาการไอร่วมด้วย เช่น โคดีอีน ซึ่งเป็นยาที่มีฤทธิ์สงบประสาท แต่ถ้าใช้ในขนาดสูงจะมีฤทธิ์กดการหายใจด้วย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวัง ในการใช้ทุกครั้ง ข้อสำคัญ ยานี้จะห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นหืด และในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนเป็นอันขาด
และหากคุณพ่อคุณแม่ ไม่แน่ใจว่าจะใช้ยาอะไร ในการบรรเทาอาการไอ เมื่อเกิดขึ้นควรปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกรก่อน พร้อมทั้งควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ที่ได้รับมา อย่างเคร่งครัดด้วย
รศ.ภญ.ธิดา นิงสานนท์
[ BACK TO LIST]
มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]
Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600