นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
โดยความรู้ทั่วไปของประชาชนส่วนใหญ่จะทราบว่า จะโดยสาเหตุใดก็ตาม เมื่อฟันของ ท่านต้องหลุดร่วงออกจากปาก ก็แน่ใจได้เลยว่า ท่านได้สูญเสียอวัยวะส่วนตัวคือฟันซี่นั้น ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ในปัจจุบัน ท่านทราบหรือไม่ว่า ในหลาย ๆ กรณี ท่านสามารถจะรีบ หยิบฟันของท่าน ซี่ที่หลุดออกจากปากนั้นมาทำความสะอาด หรือมาปฏิบัติบางประการ ให้ถูกต้อง ท่านสามารถจะนำฟันซี่นั้นใส่คืนกลับเข้าสู่เบ้าฟัน และรีบไปพบทันตแพทย์ ใกล้ตัวท่าน ท่านก็มีโอกาสจะรักษาอวัยวะส่วนตัว คือฟันซี่นั้นของท่านเอาไว้ได้
การที่ฟันหลุดออกจากเบ้าฟัน โดยเกิดจากมีแรงกระทำตัวฟันแรงมาก และมีทิศทาง ขนานกับตัวฟันไปทางด้านปลายฟันจนกระทั่งทำให้ฟันหลุดออกจากเบ้าฟัน พบได้บ่อยครั้งในฟันถาวรและในฟันน้ำนม และมักพบในอัตราร้อยละ 3 ของอุบัติเหตุ ของฟันทั้งหมด ในฟันถาวรจะพบในรายที่รากฟันยังเจริญไม่สมบูรณ์มากกว่ารายที่รากฟันเจริญสมบูรณ์ แล้ว เนื่องจากจำนวนเอ็นยึดปริทันต์มีน้อยกว่า ความแข็งแรงของการยึดติดอยู่กับ เบ้าฟันจึงน้อยกว่า เมื่อมีแรงมากระทำจึงทำให้ฟันหลุดได้ง่าย
สาเหตุที่พบ
จากการเล่นกีฬา ขับขี่รถจักรยานยนต์ สำหรับเด็กนักเรียน สาเหตุที่พบได้คือ หกล้ม ฟันที่หลุดส่วนมากเป็นฟันหน้าบนมากกว่าฟันหน้าล่าง ทั้งในฟันถาวรและฟันน้ำนม ส่วนใหญ่จะหลุดซี่เดียวแต่อาจจะเป็นหลายซี่ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรง นอกจากนี้ยังพบว่ากระดูกเบ้าฟันอาจแตกหรือร้าวได้ ริมฝีปากมีบาดแผล เป็นต้น
เมื่อฟันหลุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับการรักษาให้เร็วที่สุด เพราะหากได้รับการรักษา ทันที ฟันนั้นอาจจะเก็บไว้ใช้ได้อีกนาน ส่วนใหญ่เมื่อเกิดอุบัติเหตุฟันหลุด ผู้ป่วยมักจะละเลย ที่จะพยายามหาฟันที่หลุด เพราะไม่ทราบว่าทันตแพทย์สามารถ ช่วยเก็บรักษาฟันนั้น ไว้ใช้ได้อีก ดังนั้นจึงสมควรที่ประชาชนทั่วไปจะได้เรียนรู้ ถึงการช่วยตัวเอง และวิธีที่ถูกต้องในการเก็บรักษาฟันที่หลุด ก่อนที่จะไปพบทันตแพทย์
เมื่อได้รับอุบัติฟันหลุดออกจากเบ้าฟัน ไม่ควรตกใจเกินเหตุ พยายามหาฟันให้พบ ถ้าฟันตกพื้นให้ล้างด้วยน้ำสะอาดเบา ๆ โดยจับเฉพาะตัวฟัน ไม่ควรจับบริเวณรากฟัน เพราะจะทำอันตรายเนื้อเยื่อรอบรากฟันได้ ถ้าทำได้ให้นำฟันที่ล้างสะอาดแล้วใส่กลับคืน ไปในเบ้ารากฟันตามเดิมโดยไม่ใช้แรงกดดันมากเกินไป แล้วไปพบทันตแพทย์โดยเร็ว
ถ้าไม่สามารถนำฟันกลับคืนสู่เบ้ารากฟันได้ ห้ามเก็บฟันไว้ในที่แห้ง หรือห่อผ้าไว้ แต่ควรเก็บฟันไว้ในของเหลวหรือสารละลายที่จะช่วยให้เนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน หรือเอ็นยึดปริทันต์ยังคงมีชีวิตอยู่ ก่อนไปพบทันตแพทย์ สารละลายดังกล่าวได้แก่ น้ำ น้ำเกลือ น้ำลาย น้ำนม เป็นต้น
น้ำ เป็นสิ่งที่หาได้ง่ายที่สุดแต่เป้นของเหลวที่มีความเข้มข้นต่ำ ทำให้เซลล์ของเนื้อเยื่อ รอบรากฟันแตกได้ ไม่จำเป็นไม่ควรใช้ แต่อาจเก็บฟันไว้ในถุงพลาสติกที่สะอาด แล้วแช่ในน้ำแข็ง
น้ำเกลือ ชนิดเดียวกับที่ใช้ในสถานพยาบาล สามารถใช้ได้ดี แต่หาได้ไม่ง่ายในทุกท้องที่ ที่เกิดอุบัติเหตุ
น้ำลาย โดยให้ผู้ป่วยเก็บฟันที่ล้างสะอาดแล้วไว้ในกระพุ้งแก้ม แต่ไม่ควรทิ้งไว้นาน หลายชั่วโมง เพราะในน้ำลายจะมีจุลินทรีย์อยู่ด้วย นอกจากนี้ความเป็นกรด ด่าง และความเข้มช้นของน้ำลายมีผลต่อเซลล์ของเนื้อเยื่อรอบรากฟันด้วย
น้ำนม เป็นสารละลายที่ใช้ได้ดีมาก ความเป็นกรดด่าง และความเข้มข้นของน้ำนม จะไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อรอบรากฟัน สามารถรักษาให้เนื้อเยื่อรอบรากฟันมีชีวิตอยู่ได้ ถึง 3 ชั่วโมง
สารละลายที่สามารถหาได้ง่ายและเหมาะสมที่สุดคือ "น้ำนม" หลังจากนำฟันแช่ใน สารละลายที่หาได้เร็วที่สุดภายหลังเกิดอุบัติเหตุแล้ว ควรนำ ผู้ป่วยและฟัน ไปพบ ทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะความสำเร็จในการนำฟันกลับเข้าไปปลูกใหม่ในเบ้ารากฟัน จะได้ผลดีมาก ถ้าระยะเวลาที่ฟันอยู่นอกช่องปากไม่เกิน 30 นาที
เมื่อผู้ป่วยนำฟันมาให้ทันตแพทย์หรืออาจนำฟันใส่ในเบ้ารากฟันมาเรียบร้อย ก่อนอื่น ทันตแพทย์จะตรวจดูบาดแผลทั่วไป เช่น บริเวณริมฝีปากบนและล่าง ความมีสติของผู้ป่วย การมองภาพเห็นเป็นรูปซ้อนหรือไม่ ซึ่งถ้ามีอาการทางสมอง ต้องส่งไปโรงพยาบาลทันที เมื่อตรวจดูในช่องปากพบว่าฟันหายไป ตรวจดูเบ้าฟันว่ามีการฉีกขาดของเหงือกบริเวณฟัน หรือไม่ การถ่ายภาพรังสีเพื่อช่วยตรวจว่า มีการหักของกระดูกบริเวณอื่นรวมด้วยหรือไม่ เพราะถ้ามีการหักของกระดูกเบ้าหัน การปลูกฟันจะไม่ได้ผลดี จากนั้นทันตแพทย์ จะตรวจดูฟันที่นำมาว่ามีสิ่งปนเปื้อนมากน้อยเพียงใด ควรตรวจดูเบ้าฟันและฟันข้างเคียง ก่อนที่จะปลูกฟันกลับเข้าไป
การปลูกฟันกลับ อาจทำไม่ได้ผล เช่นในราย
การติดตามผล
ควรติดตามอย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปี การปลูก
ฟันชนิดนี้คาดหมายอยู่แล้วว่า ฟันจะอยู่ได้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็นปี หรือหลายปีแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ปลูกฟันกลับกระดูกขากรรไกรที่บริเวณนี้จะยุบตัวลงเหมือนกับฟันถูกถอนไป แต่เมื่อปลูกฟันแม้จะมีการละลายของตัวรากฟัน กระดูกขากรรไกรจะยังคงเหมือนเดิม ในที่สุดแม้จะต้องถูกถอนไป การใส่ฟันจะยังดูเป็นธรรมชาติมากกว่า
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
main |