มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 22-23 สิงหาคม 2541 ]

ทุจริตซื้อยา …โอกาสของประชาคม สาธารณสุข

เรียบเรียงโดยนายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ อดีต เลขาธิการแพทยสภา


เรื่องการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ ในโรงพยาบาลของ กระทรวงสาธารณสุข ทั่วประเทศ ปรากฏเป็นข่าว ทางสื่อมวลชน มากว่า 1 สัปดาห์แล้ว ข่าวดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย ในความโปร่งใส ของนักการเมือง และ ผู้บริหารระดับสูง ในกระทรวงสาธารณสุข เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เนื่องจาก แพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชน และ สาธารณสุขจังหวัด ทั่วประเทศ ได้ถูกคำสั่ง ที่ไม่ปรากฏลายลักษณ์อักษร ให้สั่งซื้อยา และเวชภัณฑ์ ในราคา ที่แพงกว่าปกติ ถึง 2-3 เท่า จากบริษัทนายหน้า แพทย์เหล่านั้น ไม่ยอมตกเป็น เครื่องมือ ในการ แสวงหา ผลประโยชน์ และได้ลุกขึ้นมา ร้องเรียน ต่อทางชมรมแพทย์ชนบท ให้ดำเนินการต่อสู้ เรียกร้อง ให้ผู้รับผิดชอบ ออกมาชี้แจง แสดงเหตุผล ณ เบื้องหน้า สาธารณะ

นายรักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีว่าการ และนาย ธีรวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ รัฐมนตรีช่วย ได้แถลงชี้แจง ในเวลา ต่อมาว่า ได้สอบถาม นักการเมือง 9 คน ที่ช่วยกันดูแล สธ. ไม่ปรากฏว่า มีผู้ใด แสวงหาผลประโยชน์ ดังกล่าว และไม่มีใคร รู้จัก กับบริษัทนายหน้าเหล่านั้น หากทางจังหวัด มีปัญหา ส่อเค้าไปในทางทุจริต ก็จะมีการ ตรวจสอบต่อไป

ทำไมจึงมีการแสวงหาประโยชน์ จากการซื้อยา ?
แต่เดิมมักจะมีข่าว ในการแสวงหาประโยชน์ จากการก่อสร้างโรงพยาบาล เครื่องมือแพทย์ราคาแพง เพราะ ได้เป็นกอบ เป็นกำ ขณะนี้มีคำถามว่า ทำไมจึงมีการแสวงหาผลประโยชน์ จากการซื้อยา และเวชภัณฑ์ ?

มีคำตอบที่ควรพิจารณาอยู่ 2 ประการ
ประการที่หนึ่ง ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา งบประมาณในการลงทุน เช่น งบฯก่อสร้าง ได้ลดลงมาก โดยที่ในปี 2540 งบฯลงทุน ประมาณ 26,000 ล้านบาท ลดเหลือ 17,000 บาทในปี 2541 และเหลือ 9,000ล้านบาท ในปี 2542 ซึ่งเป็นโครงการ ต่อเนื่อง ไม่มีโครงการใหม่ๆ ให้แสวงหาผลประโยชน์ได้
ในขณะที่ งบฯดำเนินการ ที่สามารถนำไปใช้ซื้อยา และเวชภัณฑ์ ได้เพิ่มขึ้นจาก 17,000 ล้านบาท ในปี 2541 และเพิ่มเป็น 20,000 ล้านบาท ในปี 2542
งบฯดำเนินการก้อนนี้ จึงถูกมองด้วยความเอาใจใส่เป็นพิเศษ

ประการที่สอง ปลายปีงบประมาณ 2541 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ เพิ่มเติมให้อีก 1,400 ล้านบาท เงินก้อนนี้ สามารถ นำไปซื้อยา และเวชภัณฑ์ได้ งบประมาณดังกล่าวถูกส่งไปยังสำนักงาน สาธารณสุข จังหวัด เพื่อส่งต่อให้ โรงพยาบาล และสถานีอนามัยต่อไป

กระบวนการแสวงหาประโยชน์จากการซื้อยา
ข้อมูลจากสื่อมวลชน และชมรมแพทย์ชนบท พอจะสรุปได้ว่า
เมื่อรัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้ 1,400 ล้านบาท กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดสรรเงินเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ 840 ล้านบาท จัดสรรให้ โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัย อีก 560 ล้านบาท จัดสรรให้ โรงพยาบาล- ศูนย์ทั่วไป ระดับจังหวัด โดยมีวิธีการ จัดสรรงบประมาณ ที่จะจัดสรร ให้กับบางจังหวัด ที่ "สั่งให้เต็มที่" มากเป็นพิเศษ และมีกระบวนการ ในการแสวงหาผลประโยชน์ ดังนี้ ( ดูแผนภูมิ ประกอบ)
1. นายแพทย์ระดับ 9 ในส่วนกลาง 2 ท่าน เป็นผู้ดำเนินการ และโทรศัพท์สั่งการ ไปยัง นายแพทย์ สาธารณสุข จังหวัด โดยตรง โดยมีรายชื่อ บริษัทยา และราคายากำกับไปด้วย
2. นักการเมืองโทรศัพท์ สั่งการไปยัง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดโดยตรง เฉพาะจังหวัดที่ สนิทสนม เป็นพิเศษ
3. บริษัทนายหน้า ติดต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาล โดยตรง พร้อมนามบัตร นักการเมือง

เมื่อมีกระบวนการจัดสรร และมีคำสั่ง ให้แสวงหาผลประโยชน์ ทางนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ได้ดำเนินการ ตอบสนองใน 4 รูปแบบดังนี้ (ดูแผนภูมประกอบ)
ก. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นผู้ดำเนินการ สั่งยาและเวชภัณฑ์เอง แต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีการ ประกวดราคา แต่ใช้วิธี การตกลงราคา ตามอำนาจของตน โดยแบ่งซอยบิล เช่น หากจังหวัดนั้น ได้งบ ประมาณ 10 ล้านบาท ก็จะมีการสั่งซื้อยา แบ่งซอยบิล ครั้งละ 100,000 บาท เพื่อให้สามารถจัดซื้อได้ โดยวิธี ตกลงราคา หากมีการตรวจสอบ ก็จะพบว่า จะมีบิลสั่งซื้อยา จำนวน 100 ใบ จากบริษัท ไม่กี่บริษัท ในราคา ที่สูงกว่าปกติ

ข. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด โอนเงินให้ทางโรงพยาบาล ดำเนินกาสรจัดซื้อ/จ้างเอง แต่ต้องซื้อยากับ บริษัท ที่กำหนด มาแล้ว ในราคาที่แพงกว่าปกติ โดยอ้างว่า ถูกนายแพทย์ระดับ 9 (อย่างน้อย 2 คน) จากส่วนกลาง โทรศัพท์มาบอกว่า ถูกนักการเมืองสั่งมา ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ก็ต้องใช้วิธี ตกลงราคา เช่นกัน

ค. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด โอนเงินให้โรงพยาบาล รับไปดำเนินการเองทั้งหมด ตามแต่จะเห็นสมควร แต่ขอร้อง ทางโรงพยาบาล ด้วยวาจาว่า ให้นำเงินสด (จากเงินสวัสดิการของโรงพยาบาล หรือเงินส่วนตัว ของผู้อำนวยการ) มามอบให้กับ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เพื่อส่งให้ส่วนกลางต่อไป เช่น บางจังหวัด ได้รับงบ ประมาณ 20 ล้านบาท นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ต้องส่งเงินให้ ส่วนกลาง 2-4 ล้านบาท

ง. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด บริหารงบประมาณโดยโปร่งใส โดยไม่สนใจใบสั่ง ที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร โดยโอนงบประมาณให้โรงพยาบาลต่างๆ ดำเนินการ ตามระเบียบที่ถูกต้อง และเหมาะสม ( ที่จริง ข้อ ก.ข.และ ค. ก็มีการ ดำเนินการ ตามระเบียบฯพัสดุ ได้อย่างถูกต้องเช่นกัน นี่เป็นจุดอ่อน ของระเบียบฯพัสดุ) เช่น สำนักงาน สาธารณสุข จังหวัด นครศรีธรรมราช ลพบุรี ภูเก็ต เป็นต้น

อนึ่ง บางจังหวัด อาจสั่งซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรม แต่ระบุในช่องหมายเหตุ ถึงชื่อบริษัท การจัดซื้อผ่าน องค์การ เภสัชกรรม จะทำในวงเงินเท่าไร ก็ได้ ไม่จำกัด ทำให้สั่งซื้อได้ครั้งละมากๆ และไม่ค่อยถูกเพ่งเล็ง จากสำนักงาน ตรวจเงินแผ่นดิน เพราะเป็นการซื้อจากรัฐวิสาหกิจ

หากไม่ทำตามคำสั่ง จะเกิดอะไรขึ้น

เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง เข้ามาดูแลวงการสาธารณสุข จะทำการรังแก ข้าราชการ ประจำ ที่ไม่ยอม ตกเป็นเครื่องมือ ในการแสวงหาผลประโยชน์ ให้ตน และพรรคพวก เช่นการโยกย้าย ไปอยู่ ในตำแหน่ง ที่ไม่สำคัญ หรือย้ายไปอยู่ จังหวัดไกลๆ แล้วเอาพรรคพวกของตน ที่ไม่มีผลงาน แต่ตอบสนอง ผลประโยชน์ ทางการเมือง มาดำรง ตำแหน่งแทน ที่ผ่านมา มี อธิบดี นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัด ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล หลายท่าน ได้ประสบชะตากรรม ดังกล่าวมาแล้ว เช่น กรณี นายแพทย์ มรกต กรเกษม อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา ถูกย้ายออกจากตำแหน่ง เพราะไม่ยอม หาเงินให้ นักการเมือง หรือกรณี การสนับสนุน พรรคพวกตนเอง โดยเลื่อนจากตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาล ซึ่งเป็น ระดับ 9 ไม่ถึง 2 ปี ไปดำรงตำแหน่ง ปลัด สธ. ซึ่ง ทางสำนักงาน ก.พ. ได้สรุปแล้วว่า ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากคุณสมบัติ ไม่ครบถ้วน ยังเป็นปัญหา คาราคาซัง กันอยู่ จนทุกวันนี้

ประชาคม สาธารณสุข จะต้องช่วยกัน จับตามองว่า ขณะนี้ กำลังมีการ เสนอให้โยกย้าย อธิบดี อย่างน้อย 2 ท่าน เพราะ ไม่ตอบสนอง ผลประโยชน์ ให้กับนักการเมือง และพวกพ้อง ซึ่งจะมีการนำเรื่องนี้ เสนอต่อ คณะ รัฐมนตรี ในเร็วๆนี้ หากผ่านความเห็นชอบ ของ คณะรัฐมนตรี รัฐบาลจะตอบคำถาม ต่อ ประชาคม สาธารณสุข ได้อย่างไรว่า รัฐบาลได้ปกป้องคุ้มครองคนดี

หากทำตามคำสั่ง จะเกิดอะไรขึ้น

1) ข้าราชการประจำ ที่ทำตามคำสั่ง ทั้งที่เต็มใจ และไม่เต็มใจ จะไม่ถูกกลั่นแกล้งโยกย้าย หรือได้รับการ สนับสนุน ให้ก้าวหน้าต่อไป แต่ถ้าทีการสอบสวน คนที่จะต้องรับเคราะห์ เพราะมีหลักฐานชัดเจน คือ นายแพทย์ สาธารณสุขจังหวัด และ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล ที่ทำตามคำสั่งนั้น ส่วนคนสั่ง ก็ลอยนวล เพราะหาหลักฐานไม่ได้ ดังนั้น จะมีข้าราชการ ที่รับผิดชอบในหน้าที่ จำนวนไม่น้อย จะต้องรับกรรม ที่ตน ถูกบีบคั้น ให้กระทำ อย่างไม่มีทางเลือก
2) เงินของแผ่นดินถูกปล้น โดยไม่สนใจว่า ประเทศชาติ กำลัง ประสบ ภาวะวิกฤต ขนาดไหน ไม่สนใจว่า ปัญหา ทางการแพทย์ และ สาธารณสุข ของประเทศในปัจจุบัน เป็นปัญหาที่ วิกฤต สลับซับซ้อน ยากแก่การ เยียวยา แก้ไข จำเป็นต้องระดม สรรพกำลัง ไม่ว่าจะเป็น งบประมาณ กำลังคน พลังทางปัญญา สภาวะ ความ เป็นผู้นำ รวมทั้งการดำเนินงาน ในลักษณะ ประชาคม จึงจะนำทางให้คนไทย พ้นวิกฤต ทางสุขภาพได้
3) อาจต้องมีหารศึกษาวิจัยว่า เงินที่ปล้นไปนั้น หากไม่ถูกปล้น จะช่วยชีวิตคนเพิ่มขึ้น เป็นปีละเท่าไร หรือหากถูกปล้นไป จะทำให้คนเจ็บป่วย หรือล้มตาย เพิ่มขึ้นอีเท่าไร เพราะหากเงินถูกปล้นไป จำนวน 500 ล้านบาท เงินจำนวนนี้ สามารถซื้อวัคซีน ช่วยเหลือชีวิต เด็กไทย เป็นจำนวนมาก
คำถามต่อจุดยืนรัฐบาล

ขณะนี้มีการพูดคุณกัน ในกลุ่มแพทย์ และชาวสาธารณสุขส่า วงการสาธารณสุข มัวหมองมาก สาเหตุหนึ่ง ก็คือ พรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ไม่เพียงแต่พรรคการเมืองพรรคนี้ ไม่มีความแน่วแน่ทางการเมือง ไม่มีวิสัยทัศน์ ในการส่งเสริม พัฒนาสุขภาพ และคุณภาพชีวิต ของคนไทยแล้ว ยังตั้งหน้าตั้งตา ปล้นเงิน ของแผ่นดิน อย่างไม่สะทกสะท้าน นอกจากนี้ยังทำลาย วัฒนธรรมองค์กร ของวงการสาธารณสุข ทำลาย ระบบคุณธรรม ในการแต่งตั้ง โยกย้ายลงหมดสิ้น

เรื่องนี้ หากรัฐบาลเพิกเฉย นโยบายที่แถลงไว้ ต่อสภาที่ว่า จะบริหารชาติบ้านเมือง ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ก็เป็นเพียง นโยบาย ที่เป็นตัวหนังสือเท่านั้น รัฐบาลจะต้องแสดงจุดยืน อย่างชัดเจน ในการมีมาตรการ กลไก กระบวนการ และวิธีดำเนินงาน ที่สะท้อนให้เห็นว่า ต้องการขจัด คนโกงชาติบ้านเมือง

รัฐบาลจะต้องนำความจริง ออกมาแสดงทั้งหมด ตั้งแต่จำนวน งบประมาณ ที่จัดสรรให้แต่ละจังหวัด หลักเกณฑ์ และ วิธีการจัดสรร ให้แต่ละจังหวัด หลักเกณฑ์และ วิธีการจัดสรร กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง รายการสั่งซื้อยา และ เวชภัณฑ์ ของแต่ละจังหวัด ทั้งหมด ซึ่งไม่เพียงแต่ ตอบสนอง เจตนารมณ์ ของ รัฐธรรมนูญใหม่ และ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร ของราชการ หากแต่ยังแสดงจุดยืน ที่แจ่มชัดของรัฐบาลนี้

ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลต้องมีแผนแม่บทในการปฏิรูป การเมือง ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ และนอกเหนือ รัฐธรรมนูญใหม่ ต้องมีความชัดเจน ในเรื่องการปฏิรูป ระบบราชการ เร่งออกกฎหมาย ฉบับสำคัญๆ ออกมา เร่งเรื่องการจัดตั้ง องค์การมหาชนอิสสระ ที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปสาธารณสุข และเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้ประชาคมทั่วประเทศ

สร้างประชาคม สาธารณสุขให้เข้มแข็ง
สำหรับวงการสาธารณสุข ขณะนี้ ควรใช้ วิกฤต ให้เป็นโอกาส ในการสร้างประชาคม สาธารณสุข ให้เข้มแข็ง

นี่เป็นเรื่องสำคัญที่สุด
ชมรมแพทย์ชนบท ชมรมเภสัชชนบท ชมรมแพทย์ผู้สูงอายุ สภาวิชาชีพ และองค์กรพัฒนาเอกชน ทางด้านสาธารณสุข ควรร่วมแรงร่วมใจ กับข้าราชการที่ดี นักการเมืองทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลที่ดี ช่วยกันสร้าง ประชาคม สาธารณสุข ให้เข้มแข็ง สร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ เพื่อเป็นป้อมปราการ ใหม่ไม่ให้นักการเมืองไม่ดี สมคบกับ ข้าราชการ ที่เห็นแก่ได้ และฉวยโอกาส ทำลายวงการแพทย์ และสาธารณสุขอีกด้วย


[BACK TO LISTS]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1