มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันพุธที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2541 ]

แกะรอย "ราคากลางยา" สู่เงื่อนงำทุจริตงบฯ 1,400 ล.สธ.

โดยหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน


ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ข้อ 26 และ 64 กำหนด ให้กระทรวง สาธารณสุข กำหนดราคากลาง ของยา ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และมีหน้าที่ แจ้งเวียนบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามที่คณะกรรมการแห่งชาติ ทางด้านยากำหนด พร้อมทั้ง ราคากลาง ของยาดังกล่าว และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบ โดยได้มีการกำหนดเรื่องดังกล่าว ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การพัสดุ มาตั้งแต่ปี 2529

กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะกรรมการการพิจารณากำหนดราคายา ที่ผ่านมาแล้ว รวมทั้งหมด 5 ชุด และได้ดำเนินการ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับราคากลาง ดังนี้

  1. ชุดที่ 1 มีรองปลัดกระทรวง ภ.ญ.ปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา เป็นประธานคณะ กรรมการตามคำสั่งที่ 134/2529 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2529 และคำสั่งที่ 192/2529 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 ตามลำดับ และได้มีการกำหนดราคากลาง ของยาในบัญชียาหลักแห่งชาติขึ้น ครั้งแรก
  2. ชุดที่ 2 มีรองปลัดกระทรวง น.พ.ประมุข จันทวิมล เป็นประธานคณะกรรมการ ตาม คำสั่งที่ 50/2532 ลงวันที่ 23 มกราคม 2532 เนื่องจากคณะกรรมการเดิมหลายท่าน ได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่
  3. ชุดที่ 3 มีรองปลัดกระทรวง น.พ.ประชา เอมอมร เป็นประธานคณะกรรมการ ตามคำ สั่งที่ 127/2535 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535
  4. ชุดที่ 4 มีรองปลัดกระทรวง ภ.ก.ตรี แสงธงทอง เป็นประธานคณะกรรมการแทน เนื่อง จาก น.พ. ประชา เอมอมร เกษียณอายุราชการ ได้ปรับปรุง และกำหนดราคากลางของยาใหม่ ดังนี้ และได้มีการประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดราคากลางของยาในบัญชียาหลักแห่ง ชาติ พ.ศ.2536 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 โดยยกเลิกประกาศกำหนดราคาฉบับเดิม
  5. สำนักคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการเดิม ได้มีบันทึก ที่ สธ 0804/4/233 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2537 เสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุข ไปปรับเปลี่ยน องค์ประกอบ ของคณะกรรมการ กำหนดราคายา โดยมอบหมาย ให้กองโรงพยาบาลภูมิภาค ทำหน้าที่ เป็นฝ่ายเลขาณุการคณะกรรมการ แทนกองควบคุมยา ซึ่งสำนักงานปลัดกดระทรวงสาธารณสุข ไม่ขัดข้อง จึงได้ออกคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 337/2537 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา กำหนดราคาชุดใหม่ ลงวันที่ 10 เมษายน 2537 โดยมีรองปลัดกระทรวง น.พ.รัตน์ ปาลิวนิช เป็นประธานคณะกรรมการ
    คณะกรรมการชุดนี้ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดราคากลาง ของยาใน บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2535 ยังน่าจะใช้ได้ และเห็นว่า พิจารณากำหนดราคายา ให้ยืดโครงสร้าง การกำหนดราคายา ของบริษัทต่าง ๆ เป็นเกณฑ์ โดยหน่วยงานใด จะเสนอขอปรับราคา ให้เสนอเหตุผลพร้อมโครงสร้างการกำหนดราคามาให้พิจารณา
  6. เนื่องจากการเกิดปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ทำให้ต้นทุนราคายาส่วน ใหญ่ สูงขึ้นมาก ทำให้การจัดซื้อ ของหน่วยงาน ไม่สามารถปฏิบัติ ตามที่กำหนด ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุได้ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ประกาศยกเลิก ราคากลางของยา ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2536 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 เพื่อดำเนินการกำหนดราคาใหม่ ให้เหมาะสม กับสถานการณ์
  7. กระทรวงสาธารณสุข ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาชุดใหม่ ตามคำสั่ง ที่ 283/2541 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2541 มี น.พ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวะพลา รองปลัดกระทรวง เป็นประธานคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการกำหนดราคายาในบัญชียาหลักแห่งชาติใหม่
กองโรงพยาบาลภูมิภาค ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ ได้มีหนังสือถึงหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการข้อกำหนด หรือปรับราคากลางของยา ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้เสนอข้อมูล มาที่ฝ่ายเลขานุการ ตามหนังสือ ที่ สธ 0211/09/040 ลงวันที่ 12 มกราคม 2541
แนวทางในการกำหนดราคากลางที่ผ่านมา
ในการกำหนดราคากลางที่ผ่านมา คณะกรรมการ ได้กำหนด โดยใช้แนวทาง ในการกำหนดราคากลาง โดยสรุปดังนี้
  1. ยาที่องค์การเภสัชกรรมผลิตได้ให้ใช้ราคาต่ำสุดจากสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยา ปัจจุบัน (TPMA) สมาคมผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม (PPA) และองค์การเภสัชกรรมเสนอมาเป็น ราคากลาง โดยจะต้องมีการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน
  2. ยาที่องค์การเภสัชกรรมไม่ได้เป็นผู้ผลิต ให้ใช้ราคากลุ่มที่มีการซื้อมาก ( Range of mode) ของราคาที่จัดซื้อได้จริง (Actual price) เป็นราคากลาง ในกรณีที่มีมากกว่า 1 กลุ่ม (mode) ให้ใช้กลุ่มราคาต่ำ (lower mode) เป็นราคากลาง เว้นแต่กลุ่มยา ซึ่งใช้รักษาชีวิต (life saving drug) อาจใช้กลุ่มที่มีราคาสูง (higher mode) ได้
โดยได้มีการสุ่มข้อมูลราคายาที่ในโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง รพศ./ รพท./ รพช. ซื้อจากบริษัทยา นอกจากนี้ราคายาที่กำหนดขึ้น บริษัทยา หรือองค์การเภสัชกรรม สามารถเสนอ ขอทบทวนราคาได้ โดยแนบหลักฐาน เสนอคณะกรรมการ

กระทรวงสาธารณสุข ได้ระบุปัญหาถึงอุปสรรคการดำเนินการเรื่องราคากลาง ไว้ 3 ประการ คือ

  1. การหาโครงสร้างและต้นทุนราคายาที่ผ่านมาเป็นไปได้ยาก เนื่องจากระบบการเก็บข้อ มูล ที่เกี่ยวข้อง กับการนำเข้ายา และเภสัชเคมีภัณฑ์ ไม่เป็นระบบที่ดี จึงค้นหาข้อมูลต้นทุน ได้ยาก และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความร่วมมือในการเสนอข้อมูลดังกล่าว น้อยมาก
  2. หน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคเอกชนให้ความสนใจ ในการเสนอราคายาต่าง ๆ เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาน้อย จะเสนอเฉพาะรายการ ที่บริษัทสนใจเท่านั้น เป็นส่วนใหญ่
  3. ราคากลางที่ผ่านมามีความยืดหยุ่นน้อย การเปลี่ยนแปลงของราคากลาง ไม่ทันกับ การเปลี่ยนแปลง ของราคายา ในท้องตลาด เนื่องจากไม่มีกลไกติดตามราคายา และการดำเนินการ ในรูปคณะกรรมการทั้งคณะยังไม่คล่องตัวเท่าที่ควร
ปัญหาจะยากเย็นดังที่กล่าวหรือไม่ เพราะอีกด้านหนึ่ง ก็มีผู้เสนอข้อมูลว่า สามารถอ้างอิง จากการจัดซื้อที่ผ่าน ๆ มาได้ ฯลฯ แต่ ณ วันนี้ เรื่องการยกเลิกราคากลางยา ของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ถูกระบุว่า เป็นใบเสร็จใบที่ 1 ไปแล้ว เพราะหลังจากการยกเลิกราคากลางยาแล้ว สธ. กลับทำเป็นนอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น ซื้อยากันระลอกแล้วระลอกเล่า จนเป็นเรื่องแดงขึ้นมาในงวดนี้
[BACK TO LISTS]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1