มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/
จำสั้นๆ i.am/thaidoc


" จะแน่ใจได้อย่างไรว่ายาแก้แพ้ที่คุณได้รับ จะไม่ทำให้คุณแพ้ยิ่งขึ้น "


ระวัง!!
ระวัง! ยาแก้แพ้


ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮีสตามีน เป็นยาที่ใช้รักษาอาการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้อากาศ ที่ทำให้ไอ จาม คัดจมูก หรือ อาการแพ้ที่เป็นผื่นคัน ตามผิวหนัง เช่น ลมพิษ เป็นต้นโดยยาแก้แพ้จะออกฤทธิ์ บรรเทาอาการต่างๆ เหล่านั้นมิได้แก้สาเหตุ ที่ทำให้เกิดอาการเหล่านั้นได้ เนื่องจากยาแก้แพ้ทั่วไปจะดูดซึมได้ดี ไม่ว่า
จะเป็นชนิดเม็ดหรือฉีดจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 15-30 นาที และจะออกฤทธิ์เต็มที่ภายใน 1 ชั่วโมง และจะหมดฤทธิ์ยา ถูกขับออกทางปัสสาวะภายใน 5-6 ชั่วโมง ดังนั้นจึงต้องใช้ยาแก้แพ้ ทุก 3-6 ชั่วโมง ถ้ายังไม่ได้มีการตรวจวินิจฉัยรักษาสาเหตุ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้เหล่านั้น เช่น โรคภูมิแพ้ ต้องรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ โดยหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้หรือฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิต้านทาน หรือโรคหวัดก็ต้องรักษาโดยการให้ยาทำลายจุลินทรีย์ ที่ทำให้เกิดโรคด้วย

ในการป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ จึงควรให้ยาแก้แพ้ ก่อนออกเดินทางอย่างน้อย 30 นาที รวมทั้งอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังการใช้ยาสลบด้วย แต่อาการเวียนศีรษะคลื่นไส้ อาเจียนที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นในนั้น อาจให้ยาหลังเกิดอาการแล้วได้

นอกจากนี้ยาแก้แพ้ส่วนใหญ่ยังมีอาการข้างเคียง ที่ไม่พึงประสงค์แตกต่างกันตามชนิดของยา และภาวะของผู้ป่วยแต่ละคนอาการที่มักพบบ่อยๆ คือ
  • ง่วงนอน ดังที่ต้องมีข้อห้ามสำหรับการใช้ยาแก้แพ้ทั่วไปว่า ห้ามใช้กับผู้ที่ต้องใช้สมาธิในการทำงานมาก เช่น ขับรถ ขับเรือ ทำงานกับเครื่องจักรกล
  • มึนศีรษะ ใจสั่น ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย ตาพร่า มองเห็นภาพซ้อน กังวล เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ถ่ายท้อง ปากแห้ง ปัสสาวะขัด
  • หญิงตั้งครรภ์ที่ใช้ยาแก้แพ้ จะทำให้ทารกในครรภ์พิการได้
  • เด็กเล็กๆ ที่ใช้ยาแก้แพ้ จะทำให้เกิดอาการประสาทหลอน ตื่นเต้น กังวล เดินเซ หรืออาจชัก และตายได้ ถ้าให้ยามากถึง 20-30 เม็ด
  • ยาแก้แพ้ในรูปยาทา อาจทำให้เกิดอาการแพ้ คันผิวหนังได้ นอกจากนี้ยาแก้แพ้อาจทำให้เม็ดเลือดขาดน้อยลงได้
  • และยาแก้แพ้ยังอาจเสริมฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับและแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจใช้ยาแก้แพ้ เป็นยานอนหลับได้ในบางกรณี

ดังนั้น จึงมีข้อห้ามใช้ยาแก้แพ้ ในสตรีมีครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 3 เดือนแรก สตรีกำลังให้นมแม่แก่ทารก ทารกที่มีภาวะขาดน้ำมาก และผู้ป่วยในภาวะโคมา เป็นต้น

คิดให้ดีก่อนที่จะตัดสินในใช้ยาแก้แพ้

ภญ.รศ.เทวี โพธิผละ


[ที่มา..นิตยสาร fitness ปีที่ 10 ฉบับที่ 102]

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1