อาการ |
ยาที่ใช้ |
ข้อควรระวัง |
เป็นไข้หรือปวด
ไข้ในเด็กดูได้จากการวัดปรอท
ถ้าวัดปรอททางปาก
เราถืออุณหภูมิสูงกว่า
37.8 องศาเซลเซียส เป็นไข้
ถ้าวัดทางรักแร้ได้เท่าไหร่ให้บวกอีก
0.5 องศาเซลเซียส เช่น
วัดทางรักแร้ได้
37.3 องศาเซลเซียส
ก็เทียบเท่ากับวัดทางปาก 37.8
องศาเซลเซียส
|
- พาราเซตามอล
- แอสไพริน
- ไอบูโปรเฟน (เช่น ยาชื่อ
จูนิเฟน บรูซิล เทเฟน ฯลฯ)
|
- ขนาดที่ใช้ตามข้างกล่อง
ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 5 วัน
เพราะอาจมีพิษต่อตับ
อย่างที่บอกแล้ว
- ห้ามใช้ในกรณีที่อาจเป็นสุกใส
ไข้หวัดใหญ่ หรือไข้เลือดออก
เพราะอาจเกิดโรค Reye's syndrome
ทำให้สมองบวม
และตับวายเสียชีวิตได้
แอสไพรินทำให้เกล็ดเลือดทำงานไม่ดี
เลือดออกมากเวลาเป็นไข้เลือดออก
และระคายเคืองกระเพาะ
ทำให้เลือดออก
ในกระเพาะอาหารได้
- ยาลดไข้นี้ให้ใช้ในเด็กอายุมากกว่า
6 เดือนขึ้นไป อย่าให้ตอนท้องว่าง
เพราะระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
ไม่ควรใช้ในกรณีที่สงสัยว่า
จะเป็นไข้เลือดออก
เรามักใช้เฉพาะกรณีที่มีไข้สูงเท่านั้น |
คลื่นไส้ อาเจียน
ควรเป็นอาการอาเจียนเล็กน้อย
อาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย
แต่ต้องไม่มีอาการอาการขาดน้ำ
ได้แก่ ปากแห้ง กระหม่อมบุ๋ม ซึม
หายใจเร็ว ถ้ามีอาการเหล่านี้
หรืออาเจียนนานกว่า 1 วัน
ควรปรึกษาแพทย์ |
- ไดเมนไฮดริเนต
(ดรามามีน, กราวอล,
ไดมีโน ฯลฯ)
- คอมเปอริโดน
(โมติเลี่ยม, โมติด้อม ฯลฯ)
|
- ยาตัวนี้ทำให้ง่วงได้
อาจมีอาการปากแห้ง
ให้ลูกจิบน้ำบ่อยๆ
ยานี้อาจใช้เป็นยาแก้เมารถ
เมาเรือได้
- ยาตัวนี้ไม่ทำให้ง่วงซึม
ใช้ได้แม่ในเด็กเล็ก
แต่ถ้าใช้กับเด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ
อาจมีผลต่อระบบประสาทบ้าง
ควรให้น้ำเกลือแร่ร่วมด้วย
เพื่อชดเชยเกลือและน้ำที่เสียไป |
ท้องเสีย
ควรเป็นท้องเสียที่ถ่ายไม่เป็นมูกเลือด
ถ่ายเป็นน้ำมาก
และไม่มีอาการขาดน้ำ
อย่างที่กล่าวแล้ว
ส่วนใหญ่อาการท้องเสียในเด็ก
มักหายไปได้เอง
โดยไม่ต้องใช้ยาในเด็กเล็กๆ
จะไม่ใช้ยาหยุดถ่าย
เพราะอาจจะมีอันตราย
ถึงขั้นเสียชีวิตได้ |
- ดื่มน้ำเกลือแร่โอ.อาร์.เอส
|
- บางกรณี
การใช้นมผงดัดแปลงย่อยง่าย
สำหรับเด็กท้องเสียชั่วคราว
ในช่วงที่ท้องเสีย
อาจช่วยให้อาการท้องเสียหายได้
โดยไม่ต้องพบแพทย์ ค่ะ
|
ท้องอืด
ต้องเป็นอาการท้องอืด
ที่ไม่มีอาการอาเจียนร่วมด้วย
เพราะอาจะเป็นอาการลำไส้อุดตัน
ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ค่ะ |
- ซิมเมทธิโคน
(โอวอล, ไมลอม,
แอร์เอ๊กซ์ ฯลฯ)
- ยาทิงเจอร์คาร์มิเนตีฟ ยาธาตุ |
- เป็นยาช่วยทำให้
ลมในทางเดินอาหาร
กระจายเป็นเม็ดขนาดเล็กๆ
ช่วยลดอาการท้องอืด
|
ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ
|
- เด๊กซ์โตรเมทธอร์แฟน
(โรมิลาร์)
|
- ห้ามใช้ในคนไข้หอบหืด
หรือปอดบวม
ใช้เพื่อลดการระคายเคืองในคอ
ห้ามใช้ถ้ามีเสมหะ
เพราะอาจทำให้เสมหะมาก
จนเป็นปอดบวมได้
และไม่ใช้นานเกิน 2-3 วัน
เป็นยาที่ควรใช้กับเด็กเล็ก |
ไอมีเสมหะ
|
- ไกวเฟนิซิน (โรบิสทุสซิน)
- แอมบร็อกซอล (มิวโคแซลแวน
มิวโคลิก)
- บรอมเฮกซีน (ไบโววอล ไดซอล)
- คาร์โบซิสเตอิน (ไรนาไทออล
เฟลมเม็กซ์) |
- ควรให้ลูกดื่มน้ำมากๆ
เพราะน้ำจะช่วยละลายเสมหะ
ให้ขับออกง่ายขึ้น
แต่ถ้าไอมากกว่า 3-4 วัน
ควรปรึกษาแพทย์
|
น้ำมูกไหล
ควรเป็นน้ำมูกใสๆ ไม่มีสีเขียว
|
- น้ำเกลือหยอดจมูก
ช่วยละลายน้ำมูกที่เหนียวข้น
และช่วยทำให้เยื่อบุจมูกชุ่มชื้น
หรืออาจช่วยดูดน้ำมูกลูกด้วยลูกยางแดง
สำหรับลูกเล็กที่ไม่ต้องการ
ให้ใช้ยาลดน้ำมูก
- ยาลดน้ำมูก
ร่วมกับยาช่วยทำให้จมูกโล่ง
(ไดมีแทป, แอคติเฟด,
ไรโนพร้อนท์) |
- ไม่ควรใช้เป็นเวลานาน
และขณะที่ไอ มีเสมหะมาก
เพราะทำให้เสมหะเหนียว
โดยเฉพาะจะไม่ใช้กับเด็กที่เป็นหอบหืด
จะทำให้หอบได้ง่ายขึ้น
|