ภ.ญ.อุบลรัตน์ ประดิษฐ์กุล
ท้องผูก ถ่ายไม่ออก อึดอัดแน่นท้อง!! เมื่อต้องประสบกับอาการเหล่านี้ คนส่วนใหญ่ มักพึ่งยาระบาย ซึ่งหากใช้เป็นครั้งคราวก็คงไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่ก็มีคนบางกลุ่ม นิยมใช้ยาระบายเป็นประจำหรือแม้แต่ต้องการใช้ในวัตถุประสงค์อื่น ที่นอกเหนือจาก การช่วยให้ถ่าย เช่น นำมาเป็นยาลดความอ้วน ก็อาจเป็นเหตุให้ติดยาระบายโดยไม่รู้ตัว
ยิ่งไปกว่านั้นคือ การใช้ยาระบายเป็นประจำยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งเป็นการนำไปสู่การเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ มากมาย อาทิ เกิดภาวะการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ทำให้อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กระหายน้ำ ผนังช่องท้องอักเสบ คลื่นไส้ ระคายเคืองและปวดแสบปวดร้อนบริเวณทวารหนัก
ยาระบายที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดมีหลายประเภทด้วยกัน โดยแต่ละประเภท อาจออกฤทธิ์ ในการระบายได้ไม่เท่ากัน ขณะเดียวกันผลข้างเคียงที่ได้รับจากการใช้ยา ยังแตกต่างกันด้วย เช่น
ผลข้างเคียงที่ได้รับจากการใช้ยาระบาย |
|
โดยเฉพาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มักประสบกับปัญหาท้องผูก การใช้ยาระบาย นอกจากจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกวิธีแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบถึงทารกในครรภ์ด้วย เพราะยาระบายจะไปกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ส่งผลให้มดลูกบีบตัวไปด้วย
ที่สำคัญคือ การรับประทานยาระบายยังส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ซึ่งในภาวะ ที่ตั้งครรภ์ร่างกายไม่ควรขาดน้ำ เพราะจะทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งจะส่งผลถึงทารกในครรภ์ด้วย นอกจากนี้ยังทำให้ทารกขาดสารอาหาร โดยเฉพาะ ยาระบายประเภทน้ำมันระหุ่งนั้นจะทำให้ทารกขาดวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น เอ ดี อี เค เพราะจะถูกระบายออกไปด้วย
และหากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการท้องผูกและต้องการที่จะเพิ่มการขับถ่ายควรรับประทาน พรุนสด หรือพรุนสกัดเข้มข้น ซึ่งจะช่วยให้ระบายได้ดีเช่นกัน แต่การออกฤทธิ์ จะนุ่มนวลกว่า ไม่ทำให้ปวดเสียดท้อง ขาดวิตามิน น้ำ และเกลือแร่ หรือถ่ายกะปริดกะปรอย เหมือนการรับประทานยาทั่วไป
ฉะนั้นก่อนใช้ยาระบายทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และหากเลี่ยงได้ ก็จะเป็นการดี เพราะไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาระบายประเภทใดก็ไม่ได้ให้ผลในทางบวก 100% โดยเฉพาะบุคคลที่ใช้ยาระบายเป็นประจำอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา และอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้
การใช้ยาระบายเพื่อรักษาอาการท้องผูกหรือลดความอ้วนตามคำโฆษณาด้วยชาชง เพื่อสุขภาพ ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ จึงไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องนัก การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดคือการเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารไฟเบอร์มาก ๆ เพราะหน้าที่ของไฟเบอร์คือการเพิ่มปริมาณอุจจาระให้กับลำไส้ใหญ่ ช่วยกระตุ้น ให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ
"กากใยอาหาร" โดยมากจะมีอยู่ในผักและผลไม้ เช่น พรุน ส้ม มะละกอ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักโขม ข้าวกล้อง ฯลฯ โดยเฉพาะพรุนนั้นเป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์ มากเป็นพิเศษ และยังเป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ ในทางการแพทย์จึงนิยมใช้พรุน ซึ่งเป็นผลไม้ ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายตามธรรมชาติ แก้ไขอาการท้องผูก
ภ.ญ.อุบลรัตน์ ประดิษฐ์กุล
main |