มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/
[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2541 ]
เกร็ดน่ารู้เรื่องยา
เภสัชกรหญิงอุบลรัตน์ ประดิษฐ์กุล
ในยุคที่เศรษฐกิจไม่เป็นใจ ความลื่นไหลของเงินตราก็พลอยติดขัดไปด้วย ความขัดสน จึงบังเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบ ต่อระบบการค้าโดยทั่วไปแล้ว ยังส่งผลถึง การดำเนินชีวิต และการรักษาสุขภาพของประชาชนด้วย
เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อาการผิดปกติบางอย่างที่ร่างกาย แสดงออกมา อาจหมายถึงโรคภัยไข้เจ็บที่รุนแรงก็ได้ ดังนั้น การวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง โดยแพทย์ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เป็นอันดับแรก และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันอีกประการก็คือ "การใช้ยารักษาโรคอย่างถูกต้อง"
เนื่องจากยานั้นแตกต่างจากอาหาร ดังนั้นก่อนใช้ยาใด ๆ ทุกครั้ง ผู้ใช้จึงต้องทราบถึง สาเหตุ และอาการของตนก่อน เพื่อจะได้เลือกยาได้ถูกโรค ถูกขนาด ถูกเวลาและถูกวิธี
ข้อควรคำนึงถึงก่อนการรับประทานยามีหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น
- ยาก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนอาหารประมาณ ?-1 ชั่วโมง
- ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารประมาณ 15-30 นาที แต่ถ้าเป็นยาที่ระบุว่าต้องรับประทานหลังอาหารทันที หรือต้องรับประทานพร้อมอาหาร ผู้ป่วยก็ไม่ควรรับประทานยาประเภทนี้ขณะท้องว่าง เพราะส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะ
และ ถ้าเป็นยาลดกรด ควรรับประทาน ก่อนอาหาร หรือหลังอาหาร 1/2 - 1 ชั่วโมง จึงจะให้ผลดี
- ยาเม็ดหรือแคปซูล ควรกลืนทั้งเม็ดพร้อมน้ำ ส่วนที่ระบุว่า "เคี้ยวก่อนกลืน" ก็ต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อน
- ยาน้ำ ควรเขย่าขวดก่อนรับประทานทุกครั้งเพื่อให้ตัวยากระจายทั่วทั้งขวด
- ยาผง ที่ต้องละลายน้ำก่อนรับประทาน เช่น ยาขับเสมหะ หรือยาระบายบางชนิด ห้ามรับประทานแห้งแล้วค่อยดื่มน้ำตาม เพราะอาจทำให้เกิดการอุดตัน ของทางเดินอาหารได้
- อย่าละเลยคำเตือนที่ระบุมากับยา เช่น ยาบางชนิดต้องรับประทานต่อเนื่องทุกวันจนหมด ยาบางชนิดต้องรับประทานน้ำตามมาก ๆ เพราะยาอาจตกตะกอนที่ไตเกิดนิ่วบางชนิด
- ไม่ควรรับประทานเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีแอลกอฮอร์ผสมอยู่ เพราะแอลกอฮอร์มักมีผลต่อการดูดซึมยาเสมอ
- ยาใช้เฉพาะที่ เช่น ยาเหน็บที่สอดทวารหนัก หรือสอดทางช่องคลอด ควรนำยาไปจุ่มน้ำสะอาดก่อนเพื่อให้เม็ดยาลื่น ซึ่งจะสะดวกแก่การสอดใส่ และหลังจากสอดแล้วควรนอนพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาละลาย และดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ข้อควรจำ ยาที่สอดเข้าทวารหนัก ควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อเป็นการป้องกันยาหลอมตัว และช่วยให้ยามีความแข็งพอที่จะสอดเข้าทวารได้
และถึงแม้ว่ายาจะมีคุณอนันต์ แต่หากใช้อย่างไม่ถูกวิธี หรือถูกขนาด ยานั้นก็อาจ กลายเป็น โทษมหันต์ได้ ดังนั้นการรู้จักวิธีใช้ยาอย่างถูกต้อง จึงเป็นการช่วยขจัด และบำบัดโรคต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ผู้ใช้จึงควรอ่านฉลากยา ก่อนใช้ทุกครั้ง แต่ข้อสำคัญ ที่ลืมไม่ได้เลย คือ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ ของแพทย์ หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัดด้วย
เภสัชกรหญิงอุบลรัตน์ ประดิษฐ์กุล
[ BACK TO LIST]
มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]
Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600