มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2541]

เคล็ด (ไม่) ลับกับการใช้ยา

เภสัชกร ดร.มนัส พงศ์ชัยเดชา


เจอเข้ากับฤดูมรสุมที่อากาศแปรปรวนตลอดเวลา เดี๋ยวลมฝ่ายเหนือปะทะลมฝ่ายใต้ ทำให้เกิด พายุฝนฟ้าคะนองไปทั่ว แต่เดี๋ยวเดียวองศาความร้อน ก็ปะทุขึ้นมาอีก วัน ๆ ต้องเจอทั้งร้อน และฝน สลับกันไป 2-3 รอบก็มี ใครที่มีร่างกาย ไม่ค่อยแข็งแรง หรือมีภูมิต้านทานน้อย ก็พลอยต้องล้มหมอน นอนเสื่อ ไปตาม ๆ กัน

ช่วงนี้ "ยาลดไข้บรรเทาปวด" จึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพราะโดยนิสัยคนไทยแล้ว แค่อาการเจ็บไข้เล็ก ๆ น้อย ๆ มักไม่ค่อยพึ่งหมอสักเท่าใด ขอพึ่งยาเม็ด ตามร้านขายยาก่อน ถ้าไม่หายจริง ๆ จึงไปหาหมอ รักษา อย่างเป็นเรื่องเป็นราว

แต่ "ยา" ไม่ใช่อาหารที่จะซื้อมารับประทานเองตามชอบใจ ก่อนใช้ยาในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นยาชนิดใด ก็ตาม ควรทราบถึงสาเหตุ และอาการ เพื่อให้สามารถเลือกยาได้ถูกกับโรค และที่สำคัญ คือต้องใช้ให้ถูก ขนาด ถูกเวลาและถูกวิธี

สิ่งที่ควรพึ่งระวังในการใช้ยามีดังนี้

ส่วนยาที่ใช้เฉพาะที่ เช่น ยาเหน็บที่ใช้สอดทวารหรือสอดทางช่องคลอด ควรนำยาจุ่มน้ำก่อน เพื่อให้ลื่น และนอนพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาละลาย และดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ยาที่ใช้สอดเข้าทวารหนัก ต้องเก็บไว้ ในตู้เย็น เพื่อป้องกันยาหลวมตัว และช่วยให้ยามีความแข็งพอ ที่จะสอดเข้าทวารหนักได้

ที่สำคัญคือ วันหมดอายุ เป็นสิ่งที่ไม่ควรลืมเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากยานั้นหมดอายุ หรือเสื่อมสภาพแล้ว แทนที่ยาจะช่วยรักษา ให้หายจากอาการเจ็บป่วย ก็จะกลับกลายเป็นโทษ ทำให้อาการหนักขึ้นกว่าเดิมได้ ซึ่งการจะดูว่า ยาหมดอายุหรือไม่ ก็ดูได้จากฉลากยา บนกล่อง หรือขวดยานั้น โดยทั่วไป มักเขียนเป็น ภาษาอังกฤษ วัน-เดือน-ปี ที่หมดอายุ เช่น Exp. Date 8/6/98 หรือ Use By Feb. 98 หรือ Use Before Apr. 98 เป็นต้น

ยาเม็ด เม็ดหนึ่งสามารถให้ทั้งคุณและโทษ ฉะนั้นก่อนใช้ยาทุกครั้งควรอ่านฉลากยาอย่างละเอียด เพราะบนฉลากยาได้มีข้อแนะนำทั้งสรรพคุณในการรักษา วิธีใช้ ขนาดที่ถูกต้อง รวมถึง วันหมดอายุ ของยานั้น ๆ ด้วย

ใช้ยาอย่างฉลาด ย่อมให้คุณมากกว่าโทษ หากมีปัญหาเรื่องยาให้ปรึกษาเภสัชกรจะดีที่สุด

เภสัชกร ดร.มนัส พงศ์ชัยเดชา


[BACK TO LISTS]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1