มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/
จำสั้นๆ i.am/thaidoc


" ปัญหาหูไม่ใช่เรื่องเล็ก
ใช้เครื่องช่วยฟังอย่างไรให้กฎเหล็ก ต้องศึกษากันไว้ "


เครื่องช่วยฟัง

นพ.วัชรพล ภูนวล

มีคนจำนวนมากทั่วโลกที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน จะโดยสาเหตุอะไรก็ตามที่ทำให้มีการเสียการได้ยินลงไป และเมื่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หู คอ จมูก แพทย์แนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟังเพราะไม่สามารถแก้ไข ให้ได้ยินดีขึ้นด้วยวิธีอื่น (ผ่าตัดหรือกินยา)

มีคนไข้ที่ได้รับเครื่องช่วยฟังไปแล้วเกิดมีปัญหาการใช้มากมาย ปัญหาหนึ่งส่วนเกิดขึ้นเพราะคนไข้ไปซื้อเครื่องช่วยฟังตามท้องตลาด หรือบริษัทมาใช้เอง โดยไม่ได้รับการตรวจอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการทางการแพทย์จากผู้เชี่ยวชาญ และมีส่วนหนึ่งนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง จึงอยากจะขอแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยิน และจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังหรือกลุ่มที่กำลังใช้เครื่องช่วยฟัง แล้วมีปัญหาอยู่ครับ

ข้อควรจำสำหรับผู้ใช้เครื่องช่วยฟัง

  • เครื่องช่วยฟังจะไม่สามารถช่วยให้ได้ยินคำพูดทุกคำได้ชัดเจน เท่ากับคนปกติต้องอาศัยการฝึกฟังและการมองริมฝีปากช่วย จึงจะทำให้สามารถเข้าใจคำพูดได้มากขึ้น
  • ในกรณีที่ผู้ใช้หูหนวกและพูดได้ไม่เครื่องช่วยฟัง ไม่ช่วยให้ผู้ใช้พูดได้ดีทันทีหรือในกรณีฝึกฝนให้เด็กหัดพูด หัดฟัง ซึ่งอาจใช้เวลานาน
  • ควรใส่เครื่องช่วยฟังตลอดเวลาจะถอดออกก็เฉพาะเวลานอน ตอนอาบน้ำ หรือเวลาเล่น เวลามีเสียงดังมากๆ เช่น เสียงเครื่องบิน เสียงรถ ฟ้าร้อง หรือเมื่อเข้าใกล้เครื่องฉายรังสีเอ๊กซเรย์ เครื่องจักรกำลังทำงาน พัดลม เป็นต้น
  • อย่าซื้อเครื่องช่วยฟังไปเก็บไว้เฉยๆ โดยไม่ใส่ใจ
  • ถ้ามีอาการเจ็บหรือคันหูข้างที่ใส่เครื่องช่วยฟัง ให้งดใช้เครื่องและไปให้แพทย์ตรวจดู เพราะอาจมีการอักเสบในหูได้
  • เครื่องช่วยฟังและพิมพ์หูใช้ได้เฉพาะตัวบุคคล ไม่สามารถใช้แทนกันได้
  • เมื่อใช้เครื่องช่วยฟังไปนานๆ ต้องไปให้แพทย์ตรวจดู และตรวจการได้ยินว่าประสาทหูเสียเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ พร้อมทั้งตรวจสอบการทำงานของเครื่องช่วยฟังอย่างน้อยที่สุดปีละครั้ง

การดูแลเครื่องช่วยฟัง

  • ระวังอย่าให้เครื่องตก หรือกระทบของแข็ง
  • ก่อนเปิดใช้เครื่องช่วยฟังทุกครั้ง ควรตรวจดูใส่ถ่านให้ถูกขั้ว ใส่ขั้วต่อต่างๆ ให้แน่น
  • ระยะแรกควรใส่เครื่องช่วยฟังเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ เช่น ขณะคุยกับคนในบ้าน
  • ขณะมีเครื่องช่วยฟัง อย่าเข้าไปในที่ที่มีเสียงดังมากๆ
  • ระวังอย่าให้เครื่องสกปรกหรือฝุ่นจับ ถ้ามีอะไรอุดตัน ให้ใช้ผ้าแห้งหรือไม้พันสำลีแห้งเช็ดออกอย่าใช้ของเหลวระเหยได้ เช่น แอลกอฮอล์ เบนซิน ทินเนอร์หรืออีเทอร์ เช็ดเครื่องเป็นอันขาด
  • ระวังอย่าให้สายฟังตึงหรือพันกัน
  • ระวังอย่าให้แผ่นพลาสติกที่รอบหูฟังหลุดหายไป เพราะอาจทำให้เสียงหวีดได้
  • ทุกครั้งที่ไม่ใช้เครื่องให้เอาถ่านออก
  • ควรมีถ่านไฟใหม่ติดได้อยู่เสมอ
  • อย่าให้เด็กเล่นตีกันที่หู เพราะเครื่องช่วยฟังเสียหายได้ง่าย
  • ถ้าสงสัยว่า เครื่องเสีย อย่าแกะหรือเปิดส่วนใดๆ ของเครื่อง แก้ซ่อมเครื่องด้วยตนเอง อาจทำให้เครื่องเสียหายมากขึ้น ควรให้ช่างผู้ชำนาญซ่อมให้
  • อย่าพันสายของเครื่องติดกับตัวเครื่องจนแน่น
  • อย่าเปิดเครื่องดังเกินไป อาจทำให้เสียงพร่าได้ยินไม่ชัดเจน และเป็นอันตรายต่อประสาทหู
  • อย่าให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดปิดกั้นไม่โครโฟนของตัวเครื่อง เพราะทำให้รับเสียงไม่ดีเท่าที่ควร
  • อย่าประหยัดแบตเตอรี่โดยเปิดเบาเกินไป เพราะทำให้ฟังไม่รู้เรื่อง
  • อย่าใช้แบตเตอรี่เก่าที่มีของเหลวไหลเยิ้มออกมา
  • อย่ารักษาโรคต่างๆ เกี่ยวกับหูด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหูทุกครั้ง


[ที่มา..นิตยสาร fitness ปีที่ 10 ฉบับที่ 102]

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1