LASIK เทคโนโลยีเพื่อสายตา
|
---|
ศ.พญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
วิธีรักษาสายตาด้วย Excimer ได้รับการรับรอง
จากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ในปี 1995
ต่อมาพบว่าการใช้แสง Excimer ลงไปยิงผิวของกระจกตาโดยตรง ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บปวดหลังทำอย่างมาก อีกทั้งผิวกระจกตาที่ถลอก
ในบางคนใช้เวลานานกว่าจะหาย ต้องใช้ยาหยอดช่วยรักษาแผลอยู่นาน
จึงเริ่มมีการค้นพบวิธี LASIK คือ ไม่ใช้แสงยิงไปโดยตรง
บริเวณผิวกระจกตา แล้วใช้แสง Excimer ยิงลงไป โดยใช้ computer ช่วย เสร็จแล้วนำพวกผิวกระจกตาที่ถูกฝานกับลงมาปิดตาไว้เหมือนเดิม
วิธี LASIK เริ่มทำกันในปี 1989 และเรื่อยมา
จนถึงปัจจุบันยังทำกันอยู่ทั้ง 2 วิธี วิธีที่ใช้แสงยิงลงไปโดยตรง
ได้ผลดีสำหรับสายตาสั้นไม่มาก และดีสำหรับผู้ป่วยบางคน
ที่มีความผิดปกติของผิวกระจกตา ถือโอกาสรักษาโรคผิวกระจกตา
ร่วมกับการแก้ไขสายตาไปด้วย แต่มีข้อเสียตรงที่หลังผ่าตัดจะมีอาการปวด
และเจ็บตามาก เมื่อเทียบกับวิธี LASIK ส่วนมากจะไม่มีอาการเจ็บปวด
แผลหาย และสายตากลับมาสู่ปกติเร็วกว่า และสามารถแก้ไขสายตาสั้น ตั้งแต่น้อยไปมากสุดได้จึงเป็นวิธีที่นิยมกันในปัจจุบัน
แต่มีข้อเสียตรงที่ต้องใช้เครื่องฝานกระจกตา และผู้ทำต้องฝึกความชำนาญในการใช้เครื่องฝานชนิดต่างๆ
อย่างไรก็ตามการจะใช้วิธียิง Excimer laser โดยตรงที่ผิวกระจกตา
หรือวิธี LASIK ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของจักษุแพทย์ที่จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป
ข้อบ่งชี้ของการทำ LASIK
1. อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ที่อายุน้อยกว่านี้
สายตายังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ อาจจะสั้นเพิ่มขึ้นได้
2. สายตาคงที่ หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนแปลง
น้อยกว่า 0.5 ไดออปเตอร์ ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
3. มีปัญหาในการใช้แว่นตาหรือเลนส์สัมผัส
ทั้งนี้อาจเป็นปัญหาทางการแพทย์ ทางอาชีพ ตลอดจนส่วนตัวผู้ป่วยเอง
ที่ทำให้ใช้แว่นสายตา หรือเลนส์สัมผัสไม่ได้
4. ผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสอยู่ ควรหยุดการใช้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อให้กระจกตาคืนรูปอยู่ในสภาพปกติที่เป็นมากที่สุด อันจะทำให้คำนวณจำนวนสายตาสั้นที่ต้องแก้ไข
ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด
ข้อห้ามการทำ LASIK
1. มีประวัติและการเจ็บป่วยทางตา โดยเฉพาะกระจกตา
โรคที่ส่วนใหญ่ถือว่าห้ามทำ ที่ยอมรับได้แก่ แผลที่กระจกตา มีความผิดปกติของผิวตาดำอย่างรุนแรง (severe ocular surface disorder)
ตาแห้ง การอักเสบของตาขาว (sclertis) เป็นโรค AIDS
กระจกตาโค้งมากกว่าปกติ โรค keratoconus กำลังตั้งครรภ์เป็นโรค
collagen ตลอดจนโรค ehcumatoid โรคเหล่านี้การสมานแผล
ของผิวกระจกตาผิดปกติ อาจก่อให้เกิดสายตาเอียง
ตลอดจนโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตาามา
โรคบางอย่างอาจจะไม่ใช่ข้อห้ามแน่นอนลงไป แต่อยู่ในจำพวกการจะทำต้องพิจารณาเป็นพิเศษ ได้แก่
ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการติดเชื้อ Herpes ของกระจกตา
เปลือกตาอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
2. กระจกตาตรงกลาง ต้องไม่บางเกินไป โดยมีหลักการทั่วๆ ไป คือเมื่อตัดกระจกตาออกไปแล้วกระจกตาควรเหลือความหนา
ไม่น้อยกว่า 400 ไมคอน หรือเมื่อคำนวณการใช้แสง เลเซอร์ว่าต้องตัดเนื้อกระจกตาควรเหลือความหนาไม่น้อยกว่า 400 ไมครอน หรือเมื่อคำนวณการใช้แสงเลเซอร์ว่าต้องตัดเนื้อกระจกตาดำออกไปเท่าไร รวมกับกระจกตาที่ถูกฝาน อย่างน้อยกระจกตาดำที่เหลือต้อง
ไม่น้อยกว่า 250 ไมครอน หรืออย่างน้อยกระจกตาที่เราไม่ควรแตะต้องเลย
อย่างน้อย 50% ของความหนาของกระจกตาทั้งหมด
3. ผู้ป่วยที่เหลืออยู่ตาเดียว
4. ความโค้งของกระจกตาที่เหมาะสม
ไม่ควรน้อยกว่า 37.5 ไดออปเตอร์ หรือมากกว่า 47 ไดออปเตอร์
ถ้าผิดไปจากนี้ การใช้เครื่องฝานกระจกตาอาจมีปัญหาได้
5. ประวัติของผู้ป่วยที่มี keloid เกิดขึ้นง่ายในการผ่าตัด
ในบริเวณอื่นของร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเป็นได้ง่าย
6.ผู้ป่วยโรคต้อหิน ไม่เหมาะที่จะทำ LASIK แต่อาจพอใช้
วิธียิงแสง laser ไปที่ผิวกระจำตาโดยตรงได้เพราะการทำ LASIK ต้องใช้เครื่องมือดูดลูกตาให้มีความดันตาสูงถึง 60-65 มม.ปรอท จึงอาจทำลายขั้วประสาทตาในผู้ป่วยที่เป็นต้อหิน
ซึ่งขั้วประสาทตามักจะอ่อนแออยู่แล้ว
7. ต้อกระจก เนื่องจากสามารถแก้ไขสายตาที่ผิดปกติ
โดยการลอกต้อกระจกร่วมมือกับเลือกกำลังแก้วตาเทียมที่เหมาะสม
ก็จะแก้ไขภาวะสายตาปกติของผู้ป่วยได้
8. ผู้ป่วยที่ใช้ยาบางชนิดประจำ เพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติ
ของผิวกระจกตา เช่น ยาต้านมะเร็ง amiodarone เป็นต้น
9. ผู้ป่วยที่คาดหวังผลการรักษามากเกินไป
ฉบับหน้าจะพูดถึงวิธีการว่าทำอย่างไร
|