LASIK เทคโนโลยีใหม่ในการรักษาสายตา รู้หลักและวิธีไว้เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกทำ...หรือไม่ทำ
วิธีการผ่าตัดวิธีนี้ เป็นการผ่าตัดวิธีใหม่ผู้ที่ตัดสินใจ
จะรับการรักษาด้วยวิธี LASIK จะต้องยอมรับในจุดต่างๆ ดังนี้
1. ต้องเข้าใจว่าเป็นวิธีแก้ไขสายตาสั้นวิธีหนึ่ง
ซึ่งมีความปลอดภัยน้อยกว่าแว่นตา
2. แม้ว่าในปัจจุบันการทำมีความแม่นยำสูงมาก
แต่มิได้หมายความว่าจะแม่นยำในทุกคน ไม่สามารถรับประกันผล
หรือทำนายผลในแต่ละคนได้แน่นอนเสมอไป
ในคนที่สายตาเท่ากันทำผ่าตัด และยิงเลเซอร์จำนวนเท่ากัน
มิได้หมายความว่า จะแก้ไขสายตาได้เท่ากัน ในกรณีที่ผลการผ่าตัดคลาดเคลื่อนอาจต้องทำซ้ำถ้าทำได้
หรืออาจต้องใช้แว่นตา เลนส์สัมผัสแก้ไขสายตาที่เหลือ
3. ผลข้างเคียงของการทำวิธีนี้ อาจทำให้เห็นแสงกระจาย
หรือเป็นสงรอบดวงไฟ (glare and halo) การแสง (photo phobia)
ซึ่งเห็นได้ชัดในเวลากลางคืน โดยเฉพาะการขับรถในเวลากลางคืน
อาจมีปัญหาในระยะแรก โดยทั่วไปจะค่อยๆ ดีขึ้นมีส่วนน้อยที่อาจเป็นถาวรได้
4. ผู้ป่วยบางคนสายตาอาจไม่แน่นอนทำให้การมองเห็นไม่คงที่
(fluctuaion of visioon) ซึ่งโดยทั่วไปจะค่อยๆ คงที่ในเวลาต่อมา
5. contrast sensitivity ลดลง ทำให้มองเห็นวัตถุ
ซึ่งอยู่ในที่สลัวชัดน้อยลง ภาวะนี้บางคนอาจหายไป
หรือบางรายอาจเป็นอยู่นาน
6. การผ่าตัดวิธีนี้ เช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ
ซึ่งอาจมีอาการแทรกซ้อนอันคาดไม่ถึง ขณะที่ผ่าตัด
หรือมีผลตามมาในตอนหลัง ถึงแม้จะพบน้อยมากก็ตาม เช่น มีหลอดเลือดฝอยงอกเข้ามาในกระจกตา กระจกตาบางลง เกิดภาวะสายตาเอียงไม่สม่ำเสมอเกิดการติดเชื้อ การสมานแผลผิดปกติทำให้ผิวกระจกตาดำถลอกเป็นๆ หายๆ
อยู่นาน หรือขั้นรุนแรง เกิดการติดเชื้อของกระจกตา
มีการติดเชื้อเข้าถึงภายในส่วนลึกของดวงตา
ทำให้ต้องรับการรักษาถึงขั้นเปลี่ยนกระจกตา มีความเป็นไปได้ที่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นการมองเห็นเลวลงมาก
จนถึงขั้นสูญเสียสายตาข้างที่เป็น แม้ว่าโอกาสที่จะเกิดภาวะดังกล่าว
จะเป็นไปได้น้อยมากก็ตาม
7. การผ่าตัดวิธีนี้ เป็นการแก้ไขการมองเห็นในระยะไกล หากผู้ป่วยต้องใช้แว่นตาอ่านหนังสืออยู่เดิม หลังทำ LASIK การอ่านหนังสือก็คงต้องใช้แว่นสายตาเช่นเดิม
ยกเว้นแพทย์ตั้งใจที่จะทำให้สายตามองใกล้ชัด
ซึ่งแน่นอนมองไม่ค่อยชัด
8. การทำผ่าตัดวิธีนี้ทำกับกระจกตาเท่านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพทางกายวิภาคของส่วนอื่นๆ ของดวงตาไม่มีผลกระทบต่อส่วนอื่นในแง่ของความผิดปกติที่มีอยู่เดิม หรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่พบในสายตาสั้นทั่วไป ตัวอย่างเช่น คนสายตาสั้นมากมีโอกาสเกิดโรคจอประสาทตาหลุดลอก จอประสาทเสื่อม ความเสี่ยงของการเกิดโรคในผู้ป่วยที่ทำหรือไม่ได้ทำ LASIK ไม่แตกต่างกัน
9. ในการผ่าตัดครั้งนี้อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาชนิดต่างๆ
เช่น ยาชา ยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบในกลุ่ม steroid
ซึ่งผู้ป่วยบางคนอาจมีปฏิกิริยาต่างๆ ส่งผลกระทบต่อดวงตา
และส่วนอื่นของร่างกายได้
ขั้นตอนการตรวจก่อนการรักษา
1. ตรวจและวัดสายตาให้รู้ขนาดสายตาสั้น ยาว หรือเอียงที่แน่นอนเพื่อใช้คำนวณขนาดของกระจกตาที่ต้องฝาน
และเวลาที่ต้องใช้ในการยิงแสง laser
2. ตรวจกระจกตาอย่างละเอียด เพื่อวินิจฉัยโรคของกระจกตาบางอันที่ทำให้ไม่ควรรักษาด้วยวิธีนี้
3. ตรวจจอประสาทตา ซึ่งมักจะพบมีความผิดปกติได้ง่าย
ในคนที่สายตาสั้นมาก หากพบความผิดปกติควรรักษาให้เรียบร้อยก่อน
จริงอยู่แม้การรักษาด้วย LASIK ไม่มีผลต่อประสาทตาแต่อย่างใด
แต่บางครั้งเมื่อรักษาด้วย LASIK แล้วสายตาเลวลง
อาจเป็นเพราะพยาธิสภาพของจอประสาทตา
4. วัดความดันตาซึ่งถ้าสูงอยู่ การทำ LASIK อาจจะไม่เหมาะสม
5. วัดและศึกษาความโค้งของกระจกตาในบริเวณต่างๆ
(keratometry and topography) เพื่อแยกผู้ป่วยที่มีโรคของกระจกตา
ที่เป็นข้อห้ามของการทำวิธีนี้ อีกทั้งให้ความระมัดระวังในการใช้เครื่องมือ
ฝานกระจกตาในกรณีที่มีความโค้งค่อนข้างผิดปกติ
6. วัดความหนาของกระจกตา ถ้ากระจกตาบางและสายตาสั้นมาก ซึ่งต้องยิงมากทำให้กระจกตาบางลงไปอีก โดยทั่วไปหลังทำกระจกตา
ควรหนามากกว่า 400 ไมครอนขึ้นไป โดยเฉลี่ยกระจกตาบางลง 10 ไมครอน
จะแก้ไขสายตาสั้นได้ 1 ไดออปเตอร์โดยประมาณ ถ้าสายตาสั้น 10 ไดออปเตอร์
ต้องทำให้กระจกตาบางลงประมาณ 100 ไมครอน ถ้าผู้นั้นมีความหนา
ของกระจกตามากกว่า 500 ไมครอนขึ้นไปก็อาจทำการรักษาได้
แต่ถ้ามีความหนาเพียง 450 ไมครอน ก็แก้ไขสายตาสั้นหมดไม่ได้
กระจกตาที่บางกว่า 400 ไมครอนอาจจะไม่ทรงตัว
ทำให้เกิดโรคของกระจกตาต่างๆ ตามมา
7. วัดขนาดรูม่านตา โดยเฉพาะในที่มืด ถ้ารูม่านตาใหญ่มาก
หลังทำ LASIK อาจมีปัญหาการมองเห็นในเวลากลางคืนได้
ขั้นตอนการทำ LASIK
1. ทำความสะอาดบริเวณผ่าตัด แพทย์จะประกอบเครื่องมือ
ฝานกระจกตา
2. กำหนดตำแหน่งของกระจกตาด้วยสี
3. ถ่างตาด้วยเครื่องให้ตากว้างพอที่จะใส่เครื่องดูด
4. ใส่เครื่องดูดตา เพื่อแรงดูดให้ถึงระดับทีกำหนด
(ประมาณให้เกิดความดันในลูกตาสูง ไม่ต่ำกว่า 60-65 มม.ปรอท)
5. นำเครื่องฝานเข้ากับรางของเครื่องดูดตา แล้วกดปุ่มให้เครื่องฝานทำงาน
6. เมื่อฝานเรียบร้อยแล้ว เปิดกระจกตาที่ฝานออก
7. ถึงขั้นตอนการใช้แสง laser ซึ่งได้ผ่านการป้อนข้อมูล
เกี่ยวกับผู้ป่วยว่าสายตาสั้นเท่าไร ต้องการแก้ไขเท่าไร
ซึ่งเครื่องพร้อมจะยิงตามการคำนวณของ computer
ซึ่งติดมากับเครื่อง laser แล้ว
8. เมื่อยิง laser ครบแล้ว ปิดฝากระจกตาเข้าที่เดิม
ล้างรอยต่อของกระจกตาให้สะอาด ไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมติดค้าง รอให้กระจกตาที่ฝานติดกับส่วนล่างใช้เวลาประมาณ 5 นาที
9. ให้ผู้ป่วยนั่งรอประมาณ 15-20 นาที แพทย์จะสำรวจดูความเรียบร้อย
แล้วให้กลับบ้านได้ โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องปิดตา ส่วนน้อยอาจต้องปิดตาด้วยเลนส์สัมผัสผู้ป่วยไม่ควรขยี้ตา
ในระยะแรกๆ ประมาณ 1 สัปดาห์
10. มาตรวจดูแผลผ่าตัดในวันรุ่งขึ้น
โดยทั่วไปแพทย์มักให้หยอดยาปฏิชีวนะ 1-3 วัน
และหยอดตาจำพวก steroid 1-4 สัปดาห์
ศ.พญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
|