มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากนิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 20 ฉบับที่ 283 ตุลาคม 2541 ]

รู้จักแคลเซียม อย่างประโยชน์สูง ประหยัดสุด

ภก.นิพล ธนธัญญา


หลังจากที่ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อหนึ่งโฆษณาผลิตภัณฑ์ตัวเองว่า ใช้เสริมความสูง ออกรายการ โทรทัศน์ บรรดาผู้ปกครองบ้าง เด็กนักเรียนบ้าง ก็ออกมาถามหาซื้อกันจ้าละหวั่น ครู- อาจารย์บางโรงเรียน ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายก็เลยง่วนกับการรับใบสั่งซื้อจากลูกศิษย์ กันยกใหญ่จึงเกิดคำถามเป็นข้อสังเกตขึ้นมาหลาย ๆ ข้อ ดังนี้

1. ผู้คนเขาคิดเรื่องความสูงกันอย่างไร ?
"แคลเซียม" มีผลต่อกระดูกอย่างไร ?

เป็นที่เข้าใจกันดีว่าแคลเซียมมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก แต่คนส่วนใหญ่ เห็น"ภาพ"การเจริญของกระดูกในมิติของความสูงอย่างเดียว จริง ๆ แล้ว   กระดูก มีการเจริญตั้งแต่ระยะฟีตัส (อยู่ในครรภ์มารดา) ทารก และเรื่อยไปจนถึงอายุประมาณ 25-30 ปี จากนั้นจะมีเสริมความแข็งแรงของกระดูก จนถึงระยะมวลกระดูกสูงสุด (Peck Bone Mass)ที่อายุ 35 ปี หลังจากนั้น มวลกระดูกจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ สำหรับผู้หญิงมวลกระดูกจะลดลงมากในช่วงหลังหมดประจำเดือน

"มวลกระดูก" หมายถึง ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกที่ประกอบไปด้วย โครงสร้างหลักและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เข้ามาเสริมจึงมีทั้งมิติของความหนา ความใหญ่ มิใช่ความสูง(ยาว) อย่างเดียว สุขภาพกระดูกที่ดีจะหมายถึงความหนาแน่น ซึ่งตรงข้าม กับความพรุน ความเปราะบาง หรือความกร่อน มากกว่าจะมุ่งหมายถึง ความสูง (ความยาว)

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของกระดูกในแต่ละช่วงชีวิตมี 4 ประการ คือ พันธุกรรม น้ำหนักที่ลดลง โภชนาการ และฮอร์โมน ในช่วงต้นของชีวิต กระดูกเจริญขึ้น ภายใต้อิทธิพลที่สำคัญคือ พันธุกรรม ส่วนโภชนาการมีความสำคัญรองลงมา "อิทธิพลของอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียมจะอยู่ใต้อิทธิพลของพันธุกรรม" จึงเป็นเหตุผลที่ระดับมวลกระดูกสูงสุดของคนแต่ละเผ่าพันธุ์มีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามในระยะที่มวลกระดูกยังไม่ถึงค่าสูงสุด การบริโภคแคลเซียมมีความสำคัญ ต่อการสะสมมวลกระดูก หากบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ ระดับมวลกระดูกสูงสุด จะต่ำกว่าระดับที่ควรเป็นได้ ตามศักยภาพ และจะไปมีผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ที่มีผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตในช่วงสูงอายุ คือภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลง ทำให้กระดูกบางและเปราะ จึงมีโอกาสแตกหักได้ง่ายโดยเฉพาะตรงข้อมือ สะโพกและสันหลัง หรือกระดูกหลังยุบ ทำให้หลังค่อมตัวเตี้ยลง

การดื่มนมตั้งแต่วัยเด็กหรือการให้แคลเซียมในรูปของยามีผลเพิ่มมวลกระดูกได้ จึงน่าจะมีความสำคัญในการป้องกันภาวะกระดูกพรุน มากกว่าเรื่องเพิ่มความสูงเสียอีก

การเจริญของกระดูกยังต้องการสารอาหาร แร่ธาตุ รวมทั้งวิตามินอื่น ๆ อีก ได้แก่ โปรตีน (โดยเฉพาะกรดอะมิโนที่ชื่อ อาร์จีนิน) ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามินเอ วิตามินดี เป็นต้น

2. ค่ามาตรฐานส่วนสูงของเด็กไทยเป็นเท่าไร
จากการสำรวจครั้งล่าสุดของกองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี พ.ศ. 2538 พบว่าเด็กไทยมีส่วนสูงมากกว่าตอนสำรวจเมื่อปี 2530 เราสามารถเทียบจากตาราง ได้ดังนี้

อายุ มาตรฐานส่วนสูง (เซนติเมตร)มาตรฐานน้ำหนัก (กิโลกรัม)
ชาย หญิง ชาย หญิง
ทารก
0 5 เดือน51.8-66.051.4-64.25.85.8
6-8 เดือน68.0-71.266.2-69.47.67.6
9-11 เดือน72.6-75.271.0-73.28.48.4
เด็ก
1-3 ปี 76.4-96.074.2-95.211.711.7
4-6 ปี 103.4-114.6102.4-114.016.516.5
7-9 ปี119.6-129.4119.3-129.621.921.9
10-12 ปี134.2-145.8135.5-147.529.330.7
13-15 ปี153.8-164.8153.5-157.341.743.6
16-19 ปี167.7-169.5157.5-157.653.948.1
หากเรามีส่วนสูงไม่ต่ำกว่าค่าดังกล่าว เราก็น่าจะพอใจ และไม่น่าจะเป็นปัญหาใด ๆ เพราะความสูงมากกว่านี้ไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกว่าจะมีสุขภาพดีหรือไม่ หากขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมสุขภาพมากกว่า

3. อาหารของคนไทยขาดแคลนแคลเซียมหรือ ?
ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม
ชนิดอาหาร ปริมาณแคลเซียม*
มิลลิกรัม
ต่อ 100 กรัม
ปริมาณอาหาร*
ที่บริโภคต่อครั้ง
ปริมาณแคลเซียม ที่ได้รับ มิลลิกรัมต่อครั้ง
กุ้งแห้ง2,3051 ช้อนโต๊ะ (6 กรัม)138
กะปิ1,5651 ช้อนชา (5 กรัม)78
งาดำคั่ว1,4521 ช้อนชา (3 กรัม)43
กุ้งฝอย1,3392 ช้อนโต๊ะ (14 กรัม)187
ถั่วแดงหลวง,ดิบ4153 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)124
ผักโขม3415 ช้อนโต๊ะ (25 กรัม)85
เต้าหู้ขาว250ครึ่งหลอด (95 กรัม)237
ผักคะน้า2455 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม)110
ปลาไส้ตัน2185 ช้อนโต๊ะ (25 กรัม)54
งาขาว,คั่ว901ช้อนชา (3 กรัม)3
นมสด1181 แก้ว (250 มิลลิลิตร)295
*กองโภชนาการ กรมอนามัย, 2530 และ 2535
**อรพินท์ บรรจง, ธรา วิริยะพานิช, อุไรพร จิตต์แจ้ง คู่มือการประเมินอาหาร สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2538

เราได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารต่าง ๆ อยู่แล้ว แตกต่างกันตรงที่ว่าแหล่งอาหารชนิดใด ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้ดีเท่าใด

4. หากได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น
ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลถึงผลข้างเคียงของการได้ แคลเซียมมากเกิน
(มากกว่าวันละ 2,000 มิลลิกรัม) ว่ามีผลอย่างไรไม่ว่าจะทำให้เกิดนิ่วในไต หรือมีสารสะสมของแคลเซียมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่มิใช่กระดูกและฟัน รวมทั้งการรบกวนหรือยับยั้งการใช้แร่ธาตุอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น สังกะสี และเหล็ก เป็นต้น หรืออาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้

ปริมาณความต้องการแคลเซียมต่อวัน
อายุ มิลลิกรัม
ทารก
3-5 เดือน360
6-8 เดือน420
9-11 เดือน480
เด็ก
1-10 ปี 800
11-24 ปี1200
ผู้ใหญ่ 25 ปีขึ้นไป800
หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร1200
หญิงวัยหมดระดู1000-15000
คำตอบและข้อเสนอแนะของคำถามทั้ง 4 ข้อ คงพอจะให้ข้อคิดและความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับประโยชน์ที่แท้จริงของแคลเซียมบ้าง เพื่อใช้วิเคราะห์พิจารณารู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา และสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างเกิดประโยชน์สูง ประหยัดสุด ในยุคไอเอ็มเอฟนะครับ

ภก.นิพล ธนธัญญา


ขอบคุณนิตยสารหมอชาวบ้าน ที่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1