มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 ]

ดีดีที : ถึงเวลาต้องกำจัด

ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์


ประเทศที่ดีดีทียังเป็นสารที่ใช้ได้ถูกกฎหมาย
  • ทวีปอเมริกา ได้แก่ โบลิเวีย, เวเนซุเอลา, เม็กซิโก
  • ทวีปแอฟริกา ได้แก่ เคนยา, แทนซาเนีย, เอธิโอเปีย, ซูดาน, มอริตาเนีย
  • ทวีปเอเชีย ได้แก่ อินเดีย, ศรีลังกา, ภูฏาน, เนปาล, ไทย, มาเลเซีย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์
  • "บาลด์ อีเกิ้ล" นกอินทรีที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา เกือบสูญพันธุ์ไปเมื่อทศวรรษ 1970 เพราะพิษสงของสารที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่รู้จักกันไปทั่วโลกในชื่อ ดีดีที

    นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สหรัฐอเมริกา และประเทศด้อยพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ประกาศให้สารดีดีที เป็นสารพิษต้องห้าม

    แต่นับตั้งแต่บัดนั้นจนถึงขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นประชากรส่วนไหนของโลก ไม่ว่าจะถือกำเนิดขึ้นมา ในประเทศใด ก็จะยังคงมีดีดีทีจำนวนหนึ่งติดอยู่ในชั้นไขมันของร่างกายคนเราเกือบทุกคนแน่นอน

    นั่นคือ ข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญของ กองทุนเพื่ออนุรักษ์ชีวิตสัตว์ป่าโลก หรือ เวิร์ลด์ ไวลด์ไลฟ์ ฟันด์

    แม้จะมีการประกาศห้ามไม่ให้ใช้ในหลายประเทศ ยังคงมีประเทศกำลังพัฒนาอีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังคงใช้สารพิษอันตรายดังกล่าวนี้อยู่ ไทย เราก็เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น เหตุผลหลักที่ยังคงมีการนำดีดีทีมาใช้ในประเทศเหล่านี้ เนื่องจาก ดีดีที มีประสิทธิภาพสูง ในการควบคุมปริมาณยุง ที่เป็นพาหะของเชื้อไข้มาลาเรีย

    การใช้ดีดีทีลดปริมาณลงมากในระยะหลัง นั่นทำให้ปริมาณการปนเปื้อนของสารพิษนี้ ลดน้อยลงด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ในระยะหลังพบว่า ภัยคุกคามจากพิษของดีดีทีไม่ได้ลดน้อยลงตามไปด้วยแต่อย่างใด และยังคงเป็นภัยคุกคามอย่างสำคัญ ในทั่วทุกมุมโลก

    ปริมาณเพียงน้อยนิดของสารดีดีที ที่สะสมอยู่ในร่างกายของคนเรา สามารถเข้าไปรบกวน การทำงานของฮอร์โมน ของมนุษย์ได้ทันที นอกเหนือจากที่ดีดีทีจะเข้าไปขัดขวางการทำหน้าที่ ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันไม่ให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันใหม่ ๆ ขึ้นมา และทำให้การทำงานของระบบผิดเพี้ยนไป

    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ดีดีที และยาฆ่าแมลง ที่มีคลอรีนผสมอยู่ด้วย ตัวอื่น ๆ สามารถส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายหลายต่อหลายประการทั้งต่อคนและสัตว์

    ที่แม่น้ำ แซงต์ ลอว์รองซ์ ใน แคนาดา ผู้เชี่ยวชาญพบว่าปริมาณของดีดีทีที่แม่น้ำดังกล่าว พัดพาออกไปสู่ทะเล ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ปลาวาฬ เบลูกา ปลาวาฬสีขาว ที่พบในทะเลแถบทางเหนือ ด้วยการก่อให้เกิดมะเร็ง ทำให้กะโหลกบิดเบี้ยว และมีการติดเชื้อ

    ในยุโรป พิษจากยาฆ่าแมลงเหล่านี้ ทำให้ตัวออตเตอร์ สัตว์จำพวกนาก หายสาบสูญไปจาก พื้นที่แถบนั้นโดยถาวร

    ที่รัฐฟอลิดา ดีดีที ทำให้ความสามารถในการสร้างอวัยวะขึ้นมาใหม่ของจระเข้ในย่านนั้นสูญเสียไป

    บรรดาเด็ก ๆ ชาว อินุย ชนพื้นเมืองในแคนาดา เจอปัญหาการติดเชื้อเรื้อรัง อันเป็นผลมาจาก การสะสมสารพิษจากยาฆ่าแมลงในร่างกาย เช่นเดียวกับเด็กแรกเกิดในแถบทะเลสาบมิชิแกน ซึ่งผู้เป็นมารดารับประทานปลาที่ปนเปื้อนสารดีดีทีเข้าไป จะมีปัญหาในการเรียนรู้และการมีสมาธิ จากการวิจัยพบว่า เด็กเหล่านั้นเมื่อเติบใหญ่ขึ้นจะมีอาการสูญเสียความทรงจำ ขีดความสามารถในการอดทนของร่างกายต่ำอีกด้วย

    ปัญหาสำคัญของดีดีทีและยาฆ่าแมลงเหล่านี้ ก็คือ โมเลกุลของมันจะคงอยู่ได้นานหลายสิบปี และในขณะเดียวกันก็ระเหยขึ้นไปแทรกซึมอยู่ในบรรยากาศ ถูกกระแสลมพัดพาไปทุกทิศทาง เมื่อเจอสภาพอากาศเย็นก็จะควบแน่น และตกลงสู่พื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นผิวโลก ที่อยู่ในระดับสูง

    นี้เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงพบอัตราการสะสมของดีดีทีอยู่ในร่างกายของหมีขั้วโลก นกเพนกกวิน และแม้กระทั่งชาวอินุย ทางเหนือของแคนาดาสูงมาก

    และเป็นเหตุผลที่ว่า ดีดีทีไม่ได้ส่งผลเสียต่อประเทศที่ใช้มันอยู่เท่านั้น หากแต่ยังทำลายล้างไปทั่วทั้งโลก

    สหประชาชาติเองตระหนักในเรื่องนี้ และขณะนี้ตัวแทนของ 100 ชาติ จากทั่วโลก กำลังหารือ เพื่อกำหนดแนวทางในเรื่องนี้กันอยู่ที่กรุงไนโรบี เมืองหลวงของเคนยา

    ถึงเวลาที่จะต้องกำจัดสารพิษชนิดนี้และชนิดอื่น ๆ อีก 11 ชนิดที่เรียกกันว่า "เดอร์ตี้ โดเซ่น" ให้หมดไปจากโลกนี้โดยเร็วที่สุด
    เดอร์ตี้ โดเซ่น
    สารพิษ 12 ชนิด ที่เป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวง ต่อสภาพแวดล้อมโลก
    • จำพวกยาฆ่าแมลง
      1. อัลดริล ใช้ในการเพาะปลูก กำจัดปลวกและแมลง
      2. คลอร์เดน ใช้ในการเพาะปลูก กำจัดวัชพืช
      3. ดีดีที ใช้ในการเพาะปลูก ควบคุมการแพร่ระบาดของมาลาเรีย
      4. ดีลดริน ใช้ในการเพาะปลูก กำจัดปลวก
      5. เอ็นดริน ใช้ในการปลูกฝ้าย ธัญญาหาร และกำจัดหนู
      6. เฮปตาคลอ ใช้ในการเพาะปลูก ควบคุมการแพร่ระบาดของมาลาเรีย
      7. ไมเร็กซ์ กำจัดมดคันไฟ ปลวก
      8. ท็อกซาฟิน ใช้ในการเพาะปลูก กำจัดหมัด/ไร
    • จำพวกเคมีอุตสาหกรรม
      1. พีซีบี ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ทรานสฟอร์เมอร์ อุตสาหกรรมสีและพลาสติก
      2. เอชซีบี ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตดอกไม้ไฟ/ยางสังเคราะห์ (ซินเเททิก รับเบอร์) และมีปรากฏในรูปยาฆ่าแมลงด้วย
    • จำพวกสารที่เป็นผลข้างเคียง
      1. ไดออกซิน เกิดจากการผลิตสารเคมี/ไอเสียจากรถยนต์ และการเผาขยะ
      2. เฟอรัน เกิดขึ้นพร้อมๆกับไดออกซิน

    ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์
    เรียบเรียงจากนิตยสารไทม์


    [ BACK TO LIST]
    main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

    มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

    Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
    1