นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์
"ไขมัน" เป็นแหล่งพลังงานหลักที่สอง ของร่างกายรองลงมาจากคาร์โบไฮเดรต แต่ได้รับการประโคมข่าวในทางลบ ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากในทางการแพทย์ มีการโยงใยไขมันเข้ากับปัญหาทางสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ ทั้ง ๆ ที่โดยความเป็นจริงแล้ว เป็นประเด็นการบริโภคไขมันมากเกินไป ไขมันโดยตัวมันเองแล้ว ยังคงเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอยู่ดี
ประเทศที่มีการบริโภคไขมันมากเกินความจำเป็น คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งวัฒนธรรมด้านอาหาร ประเภทไขมันได้หยั่งรากฝังลึกลงไปในชีวิตประจำวันมาช้านาน ตอนนี้เจตคติและอุปนิสัย การบริโภคอาหารเริ่มเปลี่ยนไป เมื่อข้อมูลทางการแพทย์ปรากฏออกมา จุดหมายของเราทุกคนก็คือ มาร่วมกันสร้างสมดุลแห่งอุปนิสัยการบริโภคอาหารและสร้างเจตคติที่ถูกต้องระหว่างไขมันและสุขภาพ โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของไขมันและบทบาทของไขมันทางโภชนาการ
"ใกล้หมอ" จึงขอเสนอข้อมูลเพื่อแนะนำว่า ร่างกายของเราทุกคนต้องการไขมันในปริมาณพอเหมาะ เพื่อการได้มาซึ่งพลังงานและสุขภาพที่ดีโดยรวม
ไขมันและสุขภาพ
ไขมันมีหน้าที่หลายประการ ในแง่โภชนาการ อาหารไขมันให้ประโยชน์ 3 ประการใหญ่ ๆ คือ
ในเมื่อไขมันมีความสำคัญดังกล่าวขนาดนี้แล้ว ทำไมจึงมีปัญหากับไขมันในอาหารกันนัก ? คำตอบก็คือ เราต้องการสรรพสิ่งทั้งหลายในชีวิตประจำวัน ในอัตราที่พอเหมาะ ถ้าหากเราบริโภคมากเกินไปปัญหาก็จะเกิด กล่าวโดยเฉพาะเจาะจงแล้วปัญหาสุขภาพจากไขมันมี 2 ประเด็นใหญ่ คือ 1. การรับประทานอาหารจำพวกไขมันมากเกินไป ทำให้ร่างกายมีไขมันมากเกินไป 2. ไขมันที่ว่ามากเกินไปนั้นส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มาจากสัตว์ |
ไขมันที่มากเกินไปจะถูกเก็บสะสมเป็นเนื้อเยื่อไขมันส่วนเกิน ทำ ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ถ้าอยากทราบว่าวันหนึ่ง ๆ บริโภคไขมันเข้าไปเท่า ใด ก็อาจใช้สูตรง่าย ๆ คือ
คำนวณพลังงาน (แคลอรี) ทั้งหมดและจำนวนกรัมของสารอาหาร (คาร์โบไฮเดรต, ไขมันและโปรตีน) ในอาหารทุกชนิดที่ท่านรับประทานลงไปแล้วคูณด้วยจำนวนกรัม ทั้งอาหารทุกอย่าง
คาร์โบไฮเดรต______ กรัม x 4 =
.. แคลอรี
จากนี้คำนวณร้อยละของอาหาร |
แล้วลองเปรียบเทียบกับไขมันในอาหารทั่วไปของชาวอเมริกัน (45%) และที่ทางอเมริกันแนะนำไว้ (25-30%)
ไขมันที่บริโภคมากเกินความจำเป็น จะแบ่งออกมาเป็นน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ สัดส่วนของไขมันในร่างกายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
การวิจัยล่าสุดบ่งชี้ความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลมากเกินไป กับโรคเส้นเลือดแข็ง (ATHEROSCLEROSIS) ซึ่งปรากฏเป็นคราบไขมันพอกผนังเส้นเลือดแดง จนในที่สุดเส้นเลือดนั้น ๆ ตีบแคบหรือตีบตันจนเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เมื่อเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน หรืออัมพาตเมื่อเส้นเลือดเลี้ยงสมองตีบตัน โดยที่ไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลดังกล่าว ส่วนใหญ่มาจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์
ลักษณะทางเคมีและฟิสิกส์ของไขมัน
เวลาเราพูดถึง "ไขมัน" แล้ว เราหมายรวมถึงสารต่าง ๆ เช่น ไขมัน (FAT) น้ำมัน (OIL) หรือสารประกอบที่จับแล้วเหนียว และไม่ละลายน้ำ อาหารที่มีไขมันเห็นได้ง่าย และพบทั่วไปมี อาทิเช่นไขมัน, เนย, ครีม, เบคอน, น้ำมัน, มายองเนส และน้ำสลัด ส่วนอาหารที่มีไขมันแบบแอบแฝงหน่อยก็มีอาทิเช่น ไข่แดง, ไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อสัตว์, มะกอก, ถั่วและเมล็ด
ลักษณะทางเคมี
คำศัพท์ที่ใช้เรียก กลุ่มไขมันและสารประกอบที่เกี่ยวข้อง คือ "ลิปิคหรือโลปิค" (LIPIDS) ซึ่งโดยคำจำกัดความทางเคมีและสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น "สารอินทรีย์" (ORGANIC COMPOUNDS) ที่มีโครงสร้างหลักประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ร้อยเรียงเป็นสายโซ่ แล้วเชื่อมต่อเข้ากับ อะตอมไฮโดรเจนและออกซิเจนหรืออนุมูลอื่น ๆ
หากท่านผู้อ่านสังเกตจะพบว่า สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตก็มีธาตุพื้นฐานหลัก 3 ตัวคือ คาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน เช่นเดียวกัน ความแตกต่างระหว่างไขมันและคาร์โบไฮเดรต คือ
ไลปิค พื้นฐาน : กรดไขมันและไทรกลีเซอรัยด์
ความอิ่มตัวของกรดไขมัน
สภาพความอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัว เป็นสิ่งกำหนดคุณลักษณะอ่อนแข็งของไขมัน คือ ถ้าไขมันนั้น ๆ อิ่มตัวก็จะพบว่าเป็นไขมันที่ออกจะแข็ง ในขณะที่ไขมันไม่อิ่มตัวจะนุ่ม หรือเป็นของเหลวไปเลย ความแตกต่างกันนี้เกิดจาก อัตราส่วนของธาตุไฮโดรเจนต่อคาร์บอน ในโครงสร้างของกรดไขมัน แต่ละชนิดที่ประกอบอยู่ในไขมันชนิดหนึ่ง ๆ เช่น ถ้ากรดไขมันชนิดหนึ่งเต็มไปด้วยไฮโดรเจน ก็กล่าวได้ว่ากรดไขมันนั้น ๆ อิ่มตัวด้วยไฮโดรเจน แต่ถ้ากรดไขมันอีกชนิดมีไฮโดรเจนน้อยกว่า ก็หมายความว่า มีความอิ่มตัว ต่ำกว่า เราจึงแบ่งความอิ่มตัวของไขมันได้ 3 ระดับ
กรดไขมันที่จำเป็นต่อชีวิต มี 3 ตัว คือ
|
หน้าที่สำคัญของกรดไขมันในร่างกาย คือ
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกกลุ่มสารเหล่านี้ว่า "ไอโกซานอยส์" (EICOSANOIDS) ตามลักษณะทางโครงสร้าง โดยที่สารเหล่านี้ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน ร่างกายสังเคราะห์สารดังกล่าวขึ้นจากกรดอาแรคคิโดนิก ซึ่งแปลมาจากกรดไลโนเลอิก อีกที
นักวิทยาศาสตร์สนใจชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเอสกิโม บนเกาะกรินแลนด์มากว่า พวกเขาเป็นโรคหัวใจกันน้อยมาก เพราะบริโภคอาหารที่อุดมด้วยไขมันจากปลา อันไขมันจากปลา (FISH OILS) นี้มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว และมีโครงสร้างที่เป็นส่วนช่วย เรียกว่า กรดไขมัน โอเมก้า-3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดที่มีชื่อว่า ไอโคซาเพ็นทาโนอิก (EICOSAPENTAENOIC ACID หรือ EPA) ขณะนี้สถาบันสาธารณสุข แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) กำลังศึกษาการสังเคราะห์ และผลดี ของกรดไขมันดังกล่าว ร่างกายของมนุษย์ได้กรดไขมัน EPA จากอาหารจำพวกปลา แต่ก็สร้างเองได้จากกรดไลโนเลนิก ส่วนกรดไลโนเลอิกและอแรคคิโคนิก เป็นกรดไขมันโอเมก้า-6 ซึ่งมีหน้าที่คล้ายคลึงกันในการสร้างสารไอโกซานอยด์ ที่เชื่อว่า ช่วยให้การทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดเป็นไปอย่างสมดุล และช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย ให้เป็นไปอย่างปกติ
พรอสตาแกลนดินส์
ในบรรดาสารกลุ่มไอโกซานอยด์นั้น ตัวที่มีความสำคัญและคุ้นเคยต่อมนุษย์ที่สุดคือ "พรอสตาแกลนดินส์"เนื่องจากหน้าที่อันหลากหลายของมัน นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนค้นพบสารนี้ ระหว่างการศึกษาสรีรวิทยาของการเจริญพันธุ์ โดยพบครั้งแรกในน้ำอสุจิ จึงคิดว่ามาจากต่อมลูกหมาก แล้วเรียกมันว่า พรอสตาแกลนดินส์ (จากต่อมลูกหมาก คือ PROSTATE GLAND) แต่เดี๋ยวนี้เรารู้แล้วว่า สารนี้มีอยู่ทุกหนทุกแห่งในร่างกาย ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนเฉพาะที่ เพื่อประกอบกิจกรรมสำคัญ ๆ ทางชีววิทยา ยกตัวอย่าง เช่น ช่วยปรับสภาพของกล้ามเนื้อเรียบและการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้มีความสำคัญต่อการ เป็นหรือไม่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
ไทรกลีเซอรัยด์ (TRIGLYCERIDES)
ชื่อทางเคมีของมัน คือ "ไทรกลีเซอรัยด์" (TRIGLYCERIDES) ซึ่งชื่อก็บ่งชี้ โครางสร้างพื้นฐานทางเคมี กล่าวคือ ประกอบด้วย กรดไขมัน 3 ตัว (ไทร) เกาะอยู่กับฐานกลีเซอรอล (GLYCEROL) ดังนั้นไขมันคือ กลีเซอร์รัยด์ GLYCERIDES) ที่ประกอบด้วย กลีเซอรอลกับกรดไขมัน
ถ้าหากกลีเซอรอลเกาะกับกรดไขมัน 1 ตัวก็เรียกว่า โมโนกลีเซอรัยด์ (MONOGLYCERIDE) หรือถ้าเกาะกับกรดไขมัน 2 ตัวก็เรียกว่า ไดกลีเซอรัยด์ (DIGLYCERIDE) และกรดไขมัน 3 ตัวเรียก ไทรกลีเซอรัยด์ (TRIGLYCERIDES)
ไม่ว่าจะเป็นในอาหารหรือในร่างกาย กรดไขมันจะจับกับกลีเซอรอลเพื่อทำให้เกิดสารกลีเซอรัยด์
ไขมันธรรมชาติ ไม่ว่าจะมาจากสัตว์หรือพืชล้วนเป็นไทรกลีเซอรัยด์ เวลาอยู่ในเซลล์จะมีลักษณะ เป็นหยดไขมันเล็ก ๆ แต่เวลาไหลเวียนในกระแสโลหิต จะอยู่ท่ามกลางน้ำเหลืองของเลือด ที่หุ้มห่อด้วยโปรตีนซึ่ละลายในน้ำ เกิดสภาพเป็นสารซับซ้อนระหว่างไขมันกับโปรตีน ที่ชื่อว่า "ไลโปโปรตีน" (LIPOPROTEINS) ซึ่งทำหน้าที่หลากหลายให้แก่ร่างกาย
ธรรมชาติของอาหารไขมัน
อาหารไขมันและอาหารไขมันในร่างกาย ประกอบด้วยกรดไขมันชนิดอิ่มตัว และไม่อิ่มตัว ถ้าอาหารไขมันประกอบด้วย กรดไขมันชนิดอิ่มตัวเป็นหลักก็เรียกว่า "ไขมันอิ่มตัว" อาหารที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อ, นม, ไข่ ล้วนประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว ในทางตรงกันข้ามอาหารจากพืช เช่น น้ำมันพืชส่วนใหญ่เป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
ซึ่งขอแสดงแผนภูมิไขมันทั้ง 2 ประเภท ไว้ดังนี้ (แผนภูมิ) ไขมันจากสัตว์ทางด้านซ้ายจะมีลักษณะแข็ง พอค่อนมาตรง กลางจะมีความอิ่มตัวน้อยลงและนุ่มลง ส่วนไขมันจากพืชทางด้านขวาจะเป็นของเหลว และไม่แข็งตัวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ยกเว้นน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์มและเนยโกโก้ ซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัว ไขมันอิ่มตัวจากพืชจึงนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์กันมาก เพราะมีราคาถูก ดังนั้นการซื้อไปใช้ควรอ่านฉลากให้ดี โดยเฉพาะท่านที่มีปัญหาสุขภาพ แล้วต้องจัดอาหารให้ถูกต้อง
ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ก็อาจทำให้แข็งได้เพื่อใช้เชิงพาณิชย์เช่น เนยเทียม หรือเนยที่ทำให้ขนมกรอบ โดยเติมแก๊สไฮโดรเจน เพื่อทำให้อิ่มตัว ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า ไฮโดรเจเนชั่น (HYDROGENETION) ในระยะหลัง ๆ นี้ วงการสาธารณสุขเริ่มเป็นห่วงเกี่ยวกับ การเติมไฮโดรเจน ในผลิตภัณฑ์อาหาร จากกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เพราะเวลาบริโภคมาก ๆ อาจก่อให้เกิด การสะสมของไขมัน ที่ผิดไปจากธรรมชาติ และมีผลต่อสุขภาพได้ในระยะยาว
อาหารไขมันมีทั้งชนิดที่เห็นชัดแจ้งกับที่หลบซ่อนอยู่ อาหารไขมันอย่างเนย, เนยเทียม, น้ำมัน, น้ำสลัด, เบคอน และครีมซึ่งเป็นสัดส่วน 40% ของอาหารอเมริกัน ล้วนเป็นไขมันที่มองเห็นชัด อย่างไรก็ตาม ยังมีไขมันที่หลบซ่อนอยู่ในอาหารอื่น ๆ เช่น เนื้อ, นม, ไข่แดง, ถั่ว, เมล็ดมะกอก และอโวคาโด ที่เราบริโภคโดยไม่คำนึงถึงปริมาณไขมันที่ซ่อนอยู่ เนื้อสัตว์ที่เราพยายามเลาะไขมันออก จนเป็นเนื้อสันแล้ว ก็ยังมีไขมันหลบซ่อนอยู่ตั้งแต่ 4-12% เนื้อสันในที่มีราคาสูงก็ยังมีไขมันแอบแฝงอยู่ ในกล้ามเนื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อวัวที่ใช้ทำสต็ก เนื้อและนมจึงประกอบขึ้นในส่วนราวครึ่งหนึ่ง ของอาหารชาวอเมริกัน อันเป็นพลังงานจากไขมันที่มากเกินควร หลายคนหลอกตัวเองโดยการ หลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่เขารู้ว่ามีไขมันมาก แต่กลับหันไปบริโภคเนื้อแดงที่มีไขมันซ่อนอยู่ อย่างเช่น เนื้อบด หรือแฮมเบอร์เกอร์ อันเป็นความเข้าใจผิด
โคเลสเตอรอลโดยปกติแล้ว โคเลสเตอรอล จะเดินทางไปตามกระแสโลหิต โดยเกาะไปกับกรดไขมันชนิดสายโซ่ยาว เกิดเป็นสารประกอบใหม่คือ โคเลสเตอรอลเอสเตอร์
โคเลสเตอรอลเป็นสารสำคัญมากในกระบวนการเมตาบอลิสม์ ภายในร่างกายมนุษย์ ลักษณะโครงสร้างทางเคมีจะจัดอยู่ในกลุ่ม สาร สเตียรอยด์ (STEROIDS) หรือ สเตอรอล (STEROLS) โดยตัวมันเองจะทำหน้าที่เป็นสารตัวนำ (PRECURSOR) ที่แปลงไปเป็นฮอร์โมนสเตียรอยด์ต่อไป
ยกตัวอย่างเช่น มีสารประกอบโคเลสเตอรอลที่ผิวหนัง ชื่อ 7-DEHYDROCHOLESTEROL เมื่อถูกรังสีอัตราไวโอเลทจากแสงอาทิตย์ จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนวิตามินดี
นอกจากนี้ โคเลสเตอรอลยังจำเป็นในการผลิตกรดน้ำดี (BILE ACIDS) ซึ่งช่วยย่อยอาหาร ประเภทไขมันโดยทำให้ไขมันแตกตัว (EMULSIFY) ทำให้มีน้ำย่อยเข้ามาย่อยต่อไปได้ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการเป็นพาหะช่วยการดูดซึมของไขมัน โคเลสเตอรอลจึงกระจายไปทั่ว ทุกเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สมองและเส้นประสาทจะพบมาก แต่เยื่อหุ้มเซลล์ ก็ต้องอาศัยโคเลสเตอรอล
เมื่อโคเลสเตอรอลมีความสำคัญอย่างนี้ จึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจอะไรที่ธรรมชาติกำหนดให้ ร่างการผลิตโคเลสเตอรอลขึ้นใช้เองจะได้ไม่ขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญ โดยตับจะเป็นอวัยวะ ที่รับผิดชอบการผลิตนี้ ดังนั้นถึงมนุษย์จะไม่บริโภคโคเลสเตอรอลเลย ร่างกายก็ยังต้องสังเคราะห์ สารจำเป็นนี้อยู่ดี
สัตว์จะมีโคเลสเตอรอลเป็นสารธรรมชาติในร่างกาย ในขณะที่พืชจะไม่มีโคเลสเตอรอลเลย แหล่งที่มาของโคเลสเตอรอลในอาหารที่มาจากสัตว์คือ ไข่แดง ตับและไต
โคเลสเตอรอล เริ่มมีชื่อเสีย เพราะมีคนกล่าวหาว่าเป็นตัวการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด คราบไขมันพอกเส้นเลือดแดง จนทำให้เส้นเลือดตีบ (ATHEROSCLEROSIS) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ และก็เป็นอย่างที่กล่าวหาจริง ๆ เพราะนักวิทยาศาสตร์ทำการวิจัยและยืนยันว่า ถ้าร่างกายคนเรามีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินไป จะเกิดการพอกสะสมที่ผนังเส้นเลือด จนตีบแคบลง เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะนั้น ๆ ไม่ได้ซึ่งที่อันตรายที่สุดคือ สมองและหัวใจ
ปัจจุบันนี้ ทางการของสหรัฐอเมริกา จัดแนะนำให้ชาวอเมริกันบริโภคโคเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม
ไลโปโปรตีนส์ (LIPOPROTEINS) ไลโปโปรตีน เป็นการจับตัวกัน ซึ่งสำคัญมาก ระหว่างไขมันและโปรตีน ตลอดจนส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไขมัน อันสำคัญต่อ สภาพโภชนาการของมนุษย์ จริง ๆ แล้วในทางเคมี เรายังไม่เรียกไลโปโปรตีนส์ว่าเป็น สารประกอบ (COMPOYND) แต่จะ เรียกว่า "คอมเพล็กซ์" หรือสารเชิงซ้อน (COMPLEXES) มากกว่า คือ เป็นไขมันเป็นไส้ในแล้วห่อหุ้มด้วยโปรตีน เพื่อสะดวกแก่การขนส่งไปตามกระแสโลหิต
การขนส่งไขมัน
เนื่องจากไขมันไม่ละลายน้ำ จึงเกิดปัญหาในการขนส่งไปให้แก่เซลล์ เพราะระบบไหลเวียนของ ร่างกายคนเรามีน้ำเป็นฐาน ร่างกายเลยต้องแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาสารเชิงซ้อนที่เรียกว่า "ไลโปโปรตีนส์" ดังกล่าว ภายในประกอบด้วยกรดไขมัน, ไทรกลีเซอรัยด์, โคเลสเตอรอล, ฟอสโฟไลปิด และวิตามินชนิดละลายในไขมัน รวมถึงฮอร์โมนสตียรอยด์
ความหนาแน่นของไลโปโปรตีน ขึ้นกับปริมาณไขมันและโปรตีน กล่าวคือ ยิ่งมีสัดส่วนโปรตีน มากเท่าใด ก็ยิ่งมีความหนาแน่นมากเพียงนั้น ดังนั้นจึงมีการแบ่งไลโปโปรตีนส์ตามความหนาแน่น และตามปริมาณไขมันกับโคเลสเตอรอลดังนี้
สรุปการดูดซึม, ย่อย และเมตาบอลิสม์ของไขมัน
อาหารเมื่อเข้าสู่ปากแล้วจะได้รับการบดเคี้ยวจนมีชิ้นเล็กลง แต่กระบวนการย่อยไขมันจะเริ่มอย่างจริงจังก็ต่อเมื่อ อาหารไขมันเดินทางไปถึงลำไส้เล็ก โดยจะมีฮอร์โมน, น้ำย่อย, และสารพิเศษจาก 3 แหล่งคือ
พอเข้าสู่ร่างกายแล้ว เซลล์จะมีวิธีการนำกรดไขมันไปเผาผลาญให้เกิดพลังงาน ไขมันจึงเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้ เพราะนอกจากจะให้ปริมาณพลังงานต่อหน่วย สูงกว่าสารอาหารชนิดอื่นแล้ว ยังช่วยเป็นฉนวนหุ้มห่อร่างกายจากภัยแห่งความหนาวเย็น และปกป้องอวัยวะต่าง ๆ จากแรงกระแทกทั้งหลาย ช่วยในการนำส่งสัญญาณประสาท สร้างสารนำสำคัญหลายชนิด สร้างโครงเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นต้น
ชนิดและปริมาณของไขมันในอาหารมีผลกระทบสุขภาพ อย่างเช่น ไขมันชนิดอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลที่มากเกินไป จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บอื่น ๆ
ถ้าบริโภคไขมันน้อยไป ก็จะทำให้ขาดแคลนกรดไขมันชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย เกิดความเจ็บป่วยได้
นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์
main |