ศ.นพ.เสก อักษรานุเคราะห์
ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวมีกรดไขมันจำเป็น
กรดไขมันจำเป็นที่สำคัญต่อร่างกายมี โอเมก้า 9 หรือ โอเลอิค ซึ่งมีใน monounsaturated fats ส่วนโอเมก้า 6 หรือ เลโนเลอิค และโอเมก้า 3 หรือ เลโนเลนิค ซึ่งมีใน polyunsaterated fats แต่ในน้ำมันปลานั้นจะมี แอลฟา เลโนเลนิค ซึ่งจะมี อี พี เอ (Eicosapentaenoic acid) และ ดี เอช เอ (docosahexaenoic acid) เป็นส่วนประกอบแต่ก็เป็น PUFA เช่นกัน
ถ้าร่างกายขาดกรดไขมันจำเป็นนี้ จะทำให้
ประเภทอาหาร | ไขมัน อิ่มตัว | ปริมาณกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว | ||||
โอเลอิค | เลโนเลอิค | เลโนเลนิค | อีพีเอ | ดีเอชเอ | ||
ประเภทสารอาหาร ข้าวบาร์เลย์ | 24 | 11 | 57 | 6 | - | - |
ข้าวสาลี | 20 | 15 | 59 | 4 | - | - |
นมวัว | 61 | 37 | 1 | 1 | - | - |
เนื้อแกะ | 52 | 38 | 2 | 2 | Trace | - |
เนื้อไก่ | 35 | 39 | 13 | 1 | 0 | 1 |
ถั่วเหลือง | 25 | 3 | 28 | 40 | - | - |
ถั่วลิสง | 46 | 36 | 10 | 3 | - | - |
ผักสปินแนช | 13 | 7 | 12 | 62 | - | - |
แอปเปิ้ล | 28 | 6 | 54 | 10 | - | - |
น้ำมันพืช น้ำมันเมล็ดฝ้าย | 26 | 21 | 49 | 2 | - | - |
น้ำมันข้าวโพด | 17 | 30 | 50 | 2 | - | - |
น้ำมันดอกทานตะวัน | 10 | 13 | 75 | 1 | - | - |
น้ำมันถั่วเหลือง | 14 | 25 | 52 | 7 | - | - |
น้ำมันเมล็ดนุ่น | 9 | 19 | 24 | 47 | - | - |
ประเภทอาหารทะเล ปลาเนื้อขาว -ปลาคอด | 28 | 11 | 1 | Trace | 17 | 33 |
-ปลาแฮดดอก | 29 | 14 | 2 | 1 | 12 | 24 |
ปลาแมว -ปลาเฮอริง | 22 | 15 | 2 | 1 | 7 | 6 |
--ปลาอินทรีย์, ปลาทู | 27 | 18 | 2 | 1 | 7 | 13 |
ประเภทสัตว์น้ำ ที่มีเปลือกหุ้ม -ปู | 16 | 15 | 3 | 4 | 21 | 10 |
-กุ้ง | 21 | 18 | 2 | 2 | 21 | 15 |
ประเภทหอย -หอยแมลงภู่, หอยกาบ, หอยกระพง | 24 | 7 | 2 | 2 | 11 | 4 |
-หอยนางรม | 24 | 7 | 2 | 2 | 11 | 4 |
-หอยแครง | 21 | 18 | 2 | 2 | 21 | 15 |
อันตรายจากรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวชนิด PUFA มากเกินไป
1. PUFA + O2 ----> free radicals
ตัว free radicals จะไปทำลายเยื่อบุเซลล์ RNA และ DNA และนิวเครียส ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของรูปเซลล์ จนสุดท้ายกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
ตัว Free radicals จาก PUFA นี้มี 2 ตัว คือ hydroyly และ superoxide
การที่น้ำมันพืชถูกความร้อนจนเดือด เช่น การทอด จะทำให้ PUFA รวมตัวกับ oxygen กลายเป็น free radicals ฉะนั้นการทอดอาหาร จึงไม่ควรทอดด้วยน้ำมันพืชชนิด PUFA อาจใช้น้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันเนย หรือน้ำมันพวกโอลีฟก่อน เมื่อทอดสุกแล้วดับไฟ ปล่อยให้เย็นแล้วจึงค่อยเติมน้ำมันพืชชนิด PUFA เพื่อจะได้โอเมก้าที่ไม่ถูกเปลี่ยนเป็น free radicals จะได้ประโยชน์เต็มที่โดยไม่มีโทษ
2. ตัว PUFA อาจจะแตกตัวกลายเป็น Dienes ซึ่งสามารถทำลายเซลล์ เปลี่ยนรูปของเซลล์ เป็นสาเหตุให้เกิดเซลล์มะเร็งได้
3. ถ้าใครรับประทาน PUFA เป็นประจำ อาจจะต้องการอาหารบางชนิดเพื่อไปยับยั้งการรวมตัวของ PUFA กับออกซิเจนให้กลายเป็น free radicalsในร่างกาย เช่น วิตามิน E วิตามิน C ส่ายีสต์ กระเทียม หัวหอม ผักบรอกเครี มันสำปะหลังต้ม ไข่ปลาทูน่า และธาตุซีลีเนี่ยม (ซึ่งได้จากกระเทียม) แต่ถ้ารับประทาน มากเกินไป เกิดโทษได้เช่นกัน ขอแนะนำให้รับวิตามิน C ร่วมกับวิตามิน E
4. โรคที่เกิดขึ้นได้จากการบริโภค PUFA มากเกินไป
ข้อควรปฏิบัติ |
|
ฉะนั้นจะเห็นว่า น้ำมันพืชชนิด PUFA ยังมีข้อเสียเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ส่วนน้ำมันปลา ซึ่งมี แอลฟา เลโนเลนิค ถึงจะทำให้เกิดอันตรายดังกล่าว แต่เนื่องจากบรรจุใน เม็ดเจลนุ่ม ๆ การรับประทาน จึงเป็นการรับแบบยา ไม่สามารถนำไปหุงอาหารได้ จึงเกิดความปลอดภัยส่วนหนึ่ง และน้ำมันปลายังมีคุณประโยชน์มากกว่าด้วย จึงควรบริโภคน้ำมันปลาดีกว่า
น้ำมันปลา
น้ำมันปลา (Marine Fish Oil) เป็นน้ำมันที่สกัดจากเนื้อปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลาซาบะ ปลาทูน่า มีปลาน้ำจืดอย่างเดียวคือ ปลาแซลม่อน ที่ให้น้ำมันปลาที่ดี ส่วนน้ำมันตับปลาไม่ใช่น้ำมันปลา ที่เราต้องการ เพราะในตับของสัตว์ทุกชนิด มีโคเลสเตอรอลสูงทั้งนั้น
น้ำมันปลาให้พลังงานกับร่างกายคล้ายกับไขมันทั่ว ๆไป แต่ยังมีคุณภาพพิเศษ ที่ทำให้สุขภาพของเราดีเยี่ยมได้อีกด้วย
การตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ เป็นสาเหตุของการตายอันดับหนึ่ง ซึ่งสาเหตุของการตีบตันจะประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง
สาเหตุการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ |
|
ในเรื่องไขมันในเลือดสูง จะทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือด นั้น เกิดจาก
สาเหตุไขมันในเลือดสูง |
|
LDL-Cholesterol | เป็นตัวเกาะผนังหลอดเลือดให้ตีบตัน |
HDL-Cholesterol | เป็นตัวกวาดล้างให้หลอดเลือดสะอาด ไม่ให้โคเลสเตอรอลเกาะ |
Triglycerides | เป็นตัวเกาะให้หลอดเลือดตีบตัน เช่นเดียวกับโคเลสเตอรอล |
น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารมีหลายชนิด
1. กรดไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันปลา น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
กรดไขมันอิ่มตัว ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
กรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมี 2 ตัวคือ
ชนิด | ส่วนประกอบ | หน้าที่ |
โอเมก้า9 | Oleic acid | ลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด |
โอเมก้า6 | Lenoleic acid (น้ำมันถั่วเหลือง) |
|
โอเมก้า3 | Alpha-Lenoleic acid (น้ำมันปลา)
โอเมก้า 3 |
|
ขนาดที่พอเหมาะ
ปลาทะเลวันละ 30 กรัม
น้ำมันปลาวันละ 3 กรัม (1000-3000 มิลลิกรัม)
ปลาทูคู่ไทย | |
อีพีเอ | 12.24% ของไขมันทั้งหมด |
ดีเอชเอ | 14.96 ของไขมันทั้งหมด% |
ถ้าร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นประจำ วันละ 30 นาที ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในสมดุล และไม่สูบบุหรี่ ไม่กินกาแฟมากเกินไป จะทำให้ท่านปลอดภัยจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้
ศ.นพ.เสก อักษรานุเคราะห์
main |