มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากนิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 20 ฉบับที่ 235 พฤศจิกายน 2541 ]

มื้อนี้ได้อะไร : ข้าวราดแกงเขียวหวานไก่

ดร.สมเกียรติ โกศลวัฒน์


ข้าวราดแกงเขียวหวานไก่
ในภาวะที่คนไทยทุกคน กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ ในยุคไอเอ็มเอฟนี้ การดูแลสุขภาพ และโภชนาการที่ดีให้กับตัวเอง มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ จะเป็นการประหยัด รายจ่ายอีกทางหนึ่งด้วย มื้อนี้ได้อะไร จะแนะนำข้าวราดแกงเขียวหวานไก่ ซึ่งเป็นอาหารไทยราคาประหยัดเข้ากับยุคสมัยได้ดี รสชาติถูกปากทุกคน

อาหารประเภทแกงเผ็ด แกงเขียวหวานต่าง ๆ ของไทย ที่มีส่วนผสมของเครื่องแกง ที่เตรียมจากเครื่องเทศ พืชสมุนไพร ต่าง ๆ กำลังได้รับความสนใจ ศึกษาวิจัยถึง คุณค่าของสารเคมีที่มีสรรพคุณทางยา และสารเคมีที่จะเป็นสารต้านการเกิดออกซิเดชั่น เช่น กลุ่มของสารฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในพืช เช่น หัวหอม กระเทียม พริก ตะไคร้ ข่า โหระพา และผักชนิดอื่น ๆ ก็มีเช่นเดียวกันในเครื่องแกงเขียวหวานไก่ ก็มีส่วนประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ จึงน่าจะเป็นอาหารที่ให้ประโยชน์ในเรื่องที่กล่าวมา รวมทั้งประโยชน์ทางด้านคุณค่า ทางโภชนาการ ได้แก่ พลังงาน โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน

ปริมาณ (กรัม) พลังงาน (กิโลแคลอรี่) โปรตีน (กรัม) ไขมัน (กรัม) คาร์โบไฮเดรต (กรัม) เถ้า (กรัม)
318 483 15 16.3 69.2 2.2
คุณค่างทางโภชนาการของข้าวราดแกงเขียวหวานไก่จานนี้ ซึ่งมีปริมาณอาหาร โดยประมาณ 300 กรัม หรือ 3 ขีด ให้พลังงาน 483 กิโลแคลอรี่ ซึ่งจัดว่าเป็น ปริมาณพลังงานที่พอเหมาะ ที่จะกินเป็นอาหาร 1 มื้อที่ดี ส่วนปริมาณโปรตีนมีอยู่ 15 กรัม คิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน มีไขมันอยู่ในปริมาณ 16.3 กรัม คิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน ซึ่งปริมาณไขมันที่มีอยู่นี้ก็ไม่สูงมาก

อย่างไรก็ตาม มีข้อแนะนำอีกเล็กน้อยในเรื่องไขมัน เนื่องจากไขมันส่วนหนึ่งมาจากกะทิ ซึ่งจะมีกรดไขมันอิ่มตัวค่อนข้างมาก คนที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารจานนี้ ส่วนบุคคลทั่วไปที่ไม่มีปัญหาเรื่องนี้ก็กินได้ แต่อย่างไรก็ตาม ก็อย่ากินบ่อย ๆ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งน่าจะกำลังดี เพราะการหมุนเวียนเปลี่ยนอาหาร นอกจากจะเป็นการป้องกัน การได้รับสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งเกินไป หรือขาดไป ยังทำให้ผู้กินอาหารไม่จำเจ หรือเบื่ออาหารได้

ดร.สมเกียรติ โกศลวัฒน์
สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล


ขอบคุณนิตยสารหมอชาวบ้าน ที่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1