Aroma Therapy
ศาสตร์และศิลป์ของกลิ่นหอม การนวด & น้ำมันหอมระเหย
|
ในระยะหลังๆ มานี้
คนเราเริ่มหันมาสนใจ
สุขภาพมากขึ้น
และไม่ว่าจะมีวิธีการใด
ที่จะช่วยให้สุขภาพกาย
สุขภาพจิตดี
มนุษย์เราต้องสรรหา
มาสู่ตัวเอง
เรื่องของ Aroma Therapy
(อโรมา-เธราปี)
เป็นเรื่องเก่า
ที่ต้องนำกลับมาเล่าใหม่
เพราะกระแสความนิยม
ของคนยุคนี้
|
ความเป็นมาของ Aroma Therapy
|
---|
Aroma Therapy เป็นที่รู้จักกันมานานกว่า 6,000 ปี
เริ่มต้นใช้ในอียิปต์ ชาวอียิปต์มักใช้การเผา
ให้ได้มาซึ่งกลิ่นหอมเพื่อบูชาเทพเจ้า เช่น กลิ่น Frankincense
บูชาพระอาทิตย์ กลิ่น Ra และ Myrrh บูชาพระจันทร์ นอกจากนี้ชาวอียิปต์ยังใช้กลิ่นจากพืชธรรมชาติเพื่อความสดชื่น นิยมใช้กับน้ำมันนวดและผสมลงในอ่างแช่
ต่อมาชาวกรีกได้นำ aromatic oils (น้ำมันหอมระเหย) เพื่อนำมาใช้บำบัดรักษาแพทย์กรีกผู้หนึ่งชื่อ Pedacius Dioscorides ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพืชสมุนไพรกับการแพทย์ไว้
เมื่อประมาณ 1200 ปีมาแล้ว และหลักการนี้ก็ยังใช้อยู่จนปัจจุบันนี้
ชาวโรมันได้รับความรู้ทางการแพทย์ด้วยการใช้กลิ่นบำบัด
รักษามาจากชาวกรีกและได้พัฒนาหลักความรู้นี้ผสมผสานกับศาสตร์อื่น
เช่น การนวดและการอาบ และถือได้ว่าชาวโรมันเป็นชาติแรก
ที่ทำการค้าเกี่ยวกับอโรมา-เธราปี คือ ได้นำเข้าผลิตภัณฑ์อโรมา
จากอินเดียตะวันออกและจากอาราเบีย
ความรู้เกี่ยวกับอโรมาออยล์และน้ำมันหอมแพร่กระจาย
และได้รับความนิยมมากขึ้นหลังสงครามครูเสด ระหว่างปี
ค.ศ.980-1037 นายแพทย์ อวิเซนา ชาวอาหรับได้คิดวิธีกลั่น
น้ำมันหอมระเหยขึ้นเป็นครั้งแรก และการกลั่นนี้
ก็ยังเป็นวิธีการสกัดกลิ่นหอมง่ายอีกวิธีหนึ่งจนถึงทุกวันนี้
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ยืนยันว่า ชาวจีนรู้จักวิธีใช้พืชสมุนไพร
และกลิ่นหอมมานานพอๆ กับชาวอียิปต์ ในหนังสือสมุนไพรเล่มหนึ่ง
ของจีนมีการจดบันทึกไว้ว่า เมื่อ 2,700 ปีก่อน ค.ศ. ชาวจีนสามารถแยกสารหอมจากพืชธรรมชาติได้มากกว่า 300 ชนิด
และเช่นเดียวกับชาวอียิปต์ ชาวจีนก็ใช้การเผาไม้หอม
เพื่อบูชาเทพเจ้า
การนำกลิ่นหอมมาใช้กับการนวดนั้นมีมาแต่โบราณ
ในการแพทย์สาขาอายุรเวทการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย การนำกลิ่นหอมมาผสมกับน้ำมันหรือครีม-ไขมันสัตว์ต่างๆ
จะเป็นที่รู้จักและใช้กันมานาน แต่การใช้อโรมา (กลิ่นหอม) ในสมัยโบราณก็ยังไม่มีการค้นคว้าอย่างจริงจังถึงคุณสมบัติ
และสรรพคุณของสารหอมที่มาแต่ละชนิด...ต่อมาจนกระทั่ง
เมื่อต้นศตวรรษที่ 19 นี่เองที่ได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า
Aroma Therapy ขึ้นโดย Rene Maurice Gattefosse นักเคมีชาวฝรั่งเศส จากนั้นไม่นานชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ Albert Couverur ได้จัดพิมพ์ตำราเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยขึ้น
จากแนวศึกษาของ Gattefosse นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Jean Valnet ได้ศึกษาค้นคว้าทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหย
และนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ Margaret Maury ได้พัฒนาการใช้น้ำหอมระเหย
กับการนวด และจากค้นคว้าของทั้ง 2 คนนี้ ทำให้ Micheline Arcier
เชื่อวิธีการของ Maury และ Velnet เข้าด้วยกันจนทำให้ Aroma Therapy
เป็นที่นิยมไปทั่วโลก จนถึงทุกวันนี้
Aroma Therapy อโรมา-เธอราปี คืออะไร ?
|
---|
Aroma (อโรมา) แปลว่า กลิ่น, กลิ่นหอม
Therpy (เธราปี) แปลว่า การบำบัดรักษา
Aroma Therpy (อะโรมา-เธราปี) หมายถึง
การบำบัดรักษาโรคโดยใช้กลิ่นหอม
คำว่า Aroma Therapy อโรมา-เธราปี
ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส
ชื่อ Rene Maurice Gattefosse (เรเน มอริช กัตฟอส)
เมื่อปี ค.ศ.1928
อโรมา-เธราปี เป็นการนำประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย
ทำให้ร่างกาย จิตใจอารมณ์เกิดความสมดุล หลักการนี้ถูกนำมาศึกษา
โดยใช้หลักทางสรีรศาสตร์ที่มนุษย์สามารถสัมผัสกลิ่น
ได้มากกว่าหมื่นชนิดนั่นเอง กลิ่นที่มนุษย์ได้รับสัมผัสในแต่ละครั้ง
จะผ่านประสาทสัมผัสรับกล่น (Olfactory nerves) ซึ่งอยู่เหนือโพรงจมูก
(nasal cavity) เมื่อกลิ่นต่างๆ จากโมเลกุลของละอองเกสรดอกไม้
ผ่านกระเปาะรับกลิ่น (Olfactory bulbs) ที่ต่อกับลิมบิค ซีสเต็ม
(Limbic system) ซึ่งเป็นสมองส่วนควบคุมอารมณ์และความทรงจำ
โดยปกติแล้วระบบทางเดินหายใจเริ่มต้นจากการหายใจเข้า
(inhale) และหายใจออก (exhale) เพื่อให้เลือดดูดซับออกซิเจนที่สูดเข้าไป
เปลี่ยนสภาพและสร้างเป็นพลังงานให้ร่างกาย
หากอากาศที่ผ่านเข้าสู่สมองและปอดไม่บริสุทธิ์ เช่น
อากาศเสียจากท่อไอเสีย จากบุหรี่ จากสารพิษ ฯลฯ ก็จะทำให้สารพิษที่ปนอยู่ในอากาศเสียนั้นตกค้างอยู่ในระบบทางเดินหายใจ และมีผลกระทบต่อระบบประสาท ลิมบิค ซีสเต็ม เป็นผลทำให้อารมณ์
และความทรงจำแปรปรวนไปด้วย การทำงานของระบบทางเดินหายใจ และระบบรับกลิ่นทำงานเช่นเดียวกันทั้งกลิ่นดีและกลิ่นเสีย
ดังนั้น กลิ่นหอมที่สูดดมเข้าร่างกายก็เช่นกัน
และด้วยหลักการเดียวกันนี้เอง น้ำหันหอมระเหยที่ถูกสกัด
จากพืชสมุนไพรหลากหลายชนิดจึงถูกค้นคว้าวิจัย
เพื่อนำมาบำบัดรักษาโรคต่างๆ เพราะคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
ของพืชสมุนไพรซึ่งผ่านการค้นคว้ามาแล้วจากหลายสถาบัน
หลายอารยธรรม หลายช่วงกาลเวลาถูกสั่งสมให้คุณค่าของความรู้
ทางด้านน้ำมันหอมระเหยมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
คุณสมบัติในน้ำหมอระเหยนี้ สามารถนำมาใช้โดยการนวด
ให้ซึมผ่านผิวหนัง บางชนิดก็เป็นสารสกัดที่กำจัดแบคทีเรียได้
บ้างก็ช่วยแก้ภูมิแพ้ที่ผิวหนัง ช่วยกระชับผิวให้เต่งตึง ส่วนกลิ่นที่ได้จากสารสกัดสมุนไพรนี้จะช่วยกระตุ้นเปลี่ยนสภาพอารมณ์
และจิตใจเมื่อกลิ่นผ่านระบบประสาทลิมบิค ซีสเต็ม เช่น ช่วยให้สงบ
ช่วยให้ผ่อนคลาย ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า ช่วยคลายเครียด
ช่วยลดความกระวนกระวายใจ ฯลฯ
น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) คืออะไร ?
|
---|
น้ำมันหอมระเหย เป็นผลิตผลจากการสกัดพืชสมุนไพรนานาชนิด ซึ่งอาจสกัดมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชนั้นๆ เช่น สกัดมาจาก
ผล ดอก ใบ เมล็ด เปลือก ก้าน ฯลฯ วิธีการสกัดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
คือ การกลั่นด้วยไอน้ำ และการใช้สารเคมีเป็นตัวทำลาย หลังจากการสกัดน้ำมันหอมระเหยที่ได้จะถูกนำมาสังเคราะห์
เพื่อกลั่นแยกหาสารต่างๆ ที่มีกลิ่นหอม สารเหล่านี้เองที่จะถูกนำมาคัดเลือก ผสมผสานและสร้างขึ้นมาเป็นกลิ่นใหม่ๆ
การสร้างสรรค์ให้ได้กลิ่น โดยปกติแล้ว มี 3 ขั้นตอน คือ
1.สกัด
2.สังเคราะห์
3.ประกอบสร้างขึ้นใหม่
-
กลิ่นสังเคราะห์จากสารเคมี...และที่มา
นับตั้งแต่ นักเคมีชาวอังกฤษ เซอร์วิลเลี่ยม เฮนรีเบอร์กิน ได้สกัดกลิ่นหอมจากสารเคมีขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ.1863
จนถึงทุกวันนี้ ทำให้มีสารกลิ่นหอมที่ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี
อยู่มากกว่า 4,000 ชนิด (ส่วนกลิ่นที่สกัดจากพืชธรรมชาติ
มีมากกว่า 2,000 ชนิด และพบในประเทศไทย ประมาณ 400 ชนิดและกลิ่นหอมที่ได้จากสัตว์มีเพียง 4 ชนิด)
กลิ่นหอมกลิ่นแรกที่คิดค้นได้เป็นกลิ่นที่คล้ายกับกลิ่นอัลมอลด์ ซึ่งเป็นกลิ่นไนโตรเบนซิน ได้มาจากสารสังเคราะห์
จากกรดไนตริกและเบนซิน ต่อมาก็มีการคิดค้นกลิ่นต่างๆ
อีกมากมาย
-
สารหอมระเหยที่ได้จากสัตว์มีเพียง 4 ชนิด
นอกเหนือจากที่รู้กันว่าดอกไม้มีกลิ่นหอมแล้ว
ยังมีกลิ่นหอมที่ได้จากสัตว์อยู่ 4 ชนิด ซึ่งเป็นที่รู้จักดีมาตั้งแต่โบราณ สารระเหยที่ได้จากสัตว์มักมีราคาแพงและหายาก
เพราะต้องคร่าชีวิตสัตว์เหล่านั้นมาเพื่อได้ซึ่งกลิ่นหอม
1. กลิ่นอำพัน หรืออำพันทอง (ambergris)
จากปลาวาฬหัวทุย เป็นส่วนที่ปลาวาฬจะสำรอกเอาก้อนอำพันนี้
ออกมาจากกระเพาะหรือฆ่าปลาวาฬแล้วผ่าเอาก้อนอำพันมา มักพบมากในแถบชายฝั่งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
2. กลิ่นชะมด กลิ่นที่ได้จากชะมด เป็นสิ่งที่ชะมดขับจากกระเปาะของต่อมคู่ใกล้อวัยวะสืบพันธ์
ของทั้งตัวผู้และตัวเมียที่เช็ดเอาไว้ตามต้นไม้ กลิ่นนี้ถ้าหากต้องการ ต้องจับชะมดมาขังไว้แล้วจะได้กลิ่นที่ชะมดเช็ดเอาไว้ตามกรง
3. กลิ่นจากบีเวอร์ เป็นกลิ่น castoreum ซึ่งเป็นสิ่งขับถ่ายจากกระเปาะรูปทรงรีระหว่างทวารหนัก
และอวัยวะสืบพันธุ์ แรกๆ จะมีกลิ่นไม่หอมแต่เมื่อเวลาผ่านไป
กระบวนการทางเคมีจะเปลี่ยนให้กลิ่นหอมทนนาน ขบวนการนี้ก็เช่นเดียวกับอำพันซึ่งต้องใช้เวลาเปลี่ยนให้กลิ่นหอมขึ้น
4. กลิ่นจากกวาง (Musk deer, Moschus mos-chiferus)
ซึ่ง Musk เป็นผงไขมันแข็ง สีคล้ำอยู่ในกระเปาะที่เป็นถุงหนัง จะได้มาด้วยการฆ่ากวางแล้วผ่าเอาออกมา จึงมีราคาแพง
-
น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากพืชธรรมชาติปลอดภัย
รักษาสิ่งแวดล้อม
ประวัติศาสตร์ของการสกัดกลิ่นหอมจากพืชธรรมชาติ
มีมากกว่า 6,000 ปี ดังนั้นวิวัฒนาการที่ใช้ในการได้มาซึ่งกลิ่น
จึงมีหลากหลาย ตามแต่ยุคสมัย ตั้งแต่วิธีที่ง่ายที่สุดถึงยากที่สุด อาทิ
1. เปลวไฟย่างท่อนไม้ จนทำให้ไม้คายน้ำมันออกมา
ทีละหยด แล้วนำน้ำมันหอมไปใช้
2. ต้มด้วยความร้อน นำดอกไม้ลงต้มกับน้ำมัน
จนถึงระดับความร้อนที่น้ำมันในดอกไม้คายตัวออกมา
แล้วนำไขน้ำมันหอม (ปอมเมด-POMADE-น้ำมันหอมเข้มข้น) ที่ได้มาไปทิ้งไว้ให้เย็นเพื่อนำไปเก็บไว้ใช้ต่อไป แต่วิธีนี้ใช้ได้กับดอกไม้ที่มีกลีบแข็งแรงและทนทาน เช่น
กุหลาบ และกระดังงา ส่วนดอกไม้ที่บอบบางเช่น มะลิ
ใช้วิธีนี้ไม่ได้จะทำให้กลิ่นเหม็นเขียว
3. หีบ คล้ายกับการหีบอ้อย ส่วนมากจะใช้กับไม้ใบ
กิ่ง ก้าน ลำต้น ส่วนที่ได้มาคือน้ำเลี้ยง (ซึ่งจะนอนก้น) และน้ำมันหอม
(ซึ่งจะลอยอยู่ส่วนบน) เมื่อได้น้ำมันหอมมาก็ซ้อนขึ้นมาใช้ได้เลย
4. กลั่น แพทย์ชาวอาหรับชื่อ อวิเซนา
เป็นผู้ค้นพบวิธีกลั่นนี้ ซึ่งใช้หลักง่าย ๆ โดยการต้มดอกไม้ ใบไม้
แล้วปล่อยให้ไอน้ำ พากลิ่นหอมลอยไปปะทะความเย็น ในฉับพลันไอน้ำร้อนนั้นจะควบแน่นเป็นหยดน้ำมันหอมระเหย วิธีนี้เป็นที่นิยมและแพร่กระจายไปทั่วยุโรป จนทำให้มีวิวัฒนาการ
การสกัดเกิดขึ้นอีกหลายวิธี และวิธีกลั่นนี้ก็ยังนิยมใช้กันจนถึงปัจจุบันนี้ แต่เครื่องกลั่นมีความทันสมัยขึ้นเพราะจะมีท่อแยกน้ำมันหอมระเหย
และน้ำออกจากกัน
5. การสกัดด้วยการดูดซึมด้วยความเย็น โดยใช้ไขวัวบริสุทธิ์
ฉาบบนแผ่นกระจกใสแล้วโรยดอกไม้หอมให้ทั่ว
กลิ่นหอมจะถูกไขวัวซึ่งเย็นกว่าดูดซับน้ำหอมเอาไว้ แล้วจึงนำไขวัว
ไปแยกกลิ่นหอมอีกทีหนึ่ง วิธีดูดซับกลิ่นด้วยไขมันนี้
เป็นวิธีการที่พัฒนามาจากอียิปต์โบราณ ซึ่งนิยมแช่ดอกไม้หอม
ในไขวัว-แกะ-ห่าน เพื่อนำมาใช้แต่งผม วิธีการทำน้ำหอมที่เรียกว่า
อองเฟลอราจ (Enfleurage) ก็มีวิวัฒนาการมาจากการสกัดนี้เช่นกัน
6. การสกัดด้วยวิธีแช่ดอกไม้ลงในสารละลายที่ระเหยเร็วมาก
สารทำละลายที่ใช้คือ แอลกอฮอล์ อาซีโตน เฮกเซน อีเทอร์
ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับดอกไม้แต่ละชนิดว่า ต้องใช้ตัวทำละลายชนิดไหน
ใช้อุณหภูมิเท่าใด ขั้นตอนที่เข้าใจง่ายๆ คือ เรียงดอกไม้ลงในถัง
ไม่ให้แน่นเกินไป เมื่อใส่สารละลายลงไปก็จะได้ทำปฏิกิริยาได้อย่างทั่วถึง
สารละลายนี้จะละลายเอาน้ำมันหอมระเหยออกจากดอกไม้
จากนั้นก็เป็นขบวนการแยกสารสกัดหอมออกจากตัวทำละลาย
เอาน้ำมันหอมระเหยออกจากดอกไม้ จากนั้นก็เป็นขบวนการ
แยกสารสกัดหอมจากตัวทำละลาย ซึ่งสารสกัดหอมที่ได้
จะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ของเหลว ของแข็ง และครีมเข้ม ส่วนสีก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด ในการสกัดนี้
จะใช้เวลาในการสกัดไม่เท่ากัน บางชนิด 10 ชั่วโมง บางชนิดถึง 40 ชั่วโมง จากนั้นก็นำสารสกัดที่ได้ไปทำปฏิกิริยาทางเคมีอีกครั้ง
เพื่อแยกให้ได้มาซึ่ง สารหอมระเหย หรือน้ำมันหอมระเหย
ด้วยวิวัฒนาการที่ทันสมัย และนักเคมีปัจจุบันที่เก่งๆ
สารหอมนี้เองจะถูกแยกได้อีกเป็นร้อยๆ ชนิดเพราะในกลิ่นหอม 1 ชนิด ไม่ได้มีกลิ่นเพียงกลิ่นเดียว อาทิ สารจากตะไคร้
สามารถแยกเป็นกลิ่นกุหลายและกลิ่นมะนาวได้อีกด้วย
Aroma Therapy กับการบำบัดรักษาโรค
|
---|
ผ่านศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหย-และการนวด
|
---|
เนื่องด้วย อโรมา-เธราปี เป็นการรวมศาสตร์และศิลป์
ของกลิ่น-น้ำมันหอมระเหย-และการนวดเข้าด้วยกัน
โดยอโรมา-เธอราปี เป็นการบำบัดโรคเพื่อจุดประสงค์ให้เกิดความสมดุล
ของร่างกาย-จิตใจ-และอารมณ์ การนำเอาวิธีต่างๆ มาประยุกต์ใช้
ร่วมกับกลิ่นหอมที่อยู่ในสารหอม หรือน้ำมันหอมระเหยจึงเป็นอีกหลายทางเลือก
ที่มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องมาตลอดระยะเวลาหลายพันปี
จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้
-
8 วิธีทางเลือกกับ Aroma Therapy
1. การนวด (Message) เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะด้วยสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด
จะสามารถช่วยบำบัดรักษาโรคได้ ตัวยาจะซึมผ่านผิวหนังด้วยการนวด ส่วนกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยจะช่วยให้ประสาทสัมผัสรับกลิ่น
ปรับอารมณ์ให้รู้สึกสบายขึ้นไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นการใช้น้ำมันหอมระเหย
ที่มีคุณภาพดี และเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการในการบำบัด
จะทำให้การนวดมีประสิทธิภาพขึ้น
2. การอาบ (Baths) เป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำเองได้ คือ
ผสมน้ำอุ่นในอ่างน้ำสำหรับลงแช่ได้ แล้วหยดน้ำมันหอมระเหย
ประมาณ 6-8 หยด ลงในอ่างน้ำ แล้วลงแช่ทั้งตัวสักประมาณ 20 นาที ไอระเหยจากอ่างน้ำอุ่นและการซึมทางผิวหนังด้วยการแช่
จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
3. การประคบ (Compresses) ใช้ผ้าขนหนูสะอาดๆ ชุบน้ำที่ผสมน้ำมันหอมระเหยแล้วประคบตามบริเวณที่ต้องการ
(ห้ามประคบบริเวณดวงตา) ส่วนผสมใช้น้ำมันหอมระเหย
2-3 หยดต่อน้ำอุ่น 100 มล. การประคบนี้จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นเฉพาะที่
4. การสูดดม (Inhalations) เป็นการใช้กลิ่นหอม
จากน้ำมันหอมระเหยอย่างเดียวไม่มีการสัมผัสทางผิวหนัง
การสูดดมกลิ่นหอมทำได้ 2 วิธีคือ ใส่น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยด ในชามที่เตรียมน้ำอุ่นไว้แล้วก้มลงสูดดมสัก 2-3 นาที หยด
น้ำมันหอมระเหย 1-2 หยด ในผ้าเช็ดหน้าแล้วสูดดม (ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำมันหอมระเหยโดยตรง)
5. การสูดไอน้ำ (Vaporisation) น้ำมันระเหยบางชนิด
เป็นแอนตี้เซปติก (Antiseptic) ฆ่าเชื้อโรคได้
เมื่อสูดดมไอน้ำจากน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้เข้าไป
จะช่วยกำจัดเชื้อโรคในระบบทางเดินหานใจได้
วิธีทำ หยดน้ำมันหอมระเหย 2-4 หยด ลงในชามใหญ่
ซึ่งผสมน้ำร้อนไว้แล้ว ใช้ผ้าคลุมและก้มหน้าลงเข้าไปอังไอน้ำ
สูดไอน้ำร้อนผสมน้ำมันหอมระเหย พักเป็นระยะๆ
วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องผิวบาง
และไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นหอบหืด
6.การเผา-อบห้อง เป็นการอบห้องให้หอม
หลักการอบห้องเพื่อฆ่าเชื้อโรค ในโรงพยาบาลก็ใช้หลักการนี้เช่นกัน เพราะน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจะถูกอบอวล
ในห้องที่ปิดมิดชิดสามารถฆ่าเชื้อโรคได้
ในกรณีที่ต้องการให้ห้องหอมตามกลิ่นที่ต้องการ
ก็สามารถทำได้โดย หยดน้ำมันหอมระเหย 3-4 หยด
ในน้ำที่เตรียมใส่ในจานสำหรับเผา (Aroma Jar)
แล้วจุดเทียนไว้ในห้อง ความร้อน จากเทียนจะทำให้กลิ่นหอม
จากน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยส่งกลิ่นอบอวลไปทั่วห้อง
ควรเผา-อบไม่นานกว่า 10 นาที ต่อครั้ง
7. ใช้ผสมกับเครื่องหอม และน้ำหอม ส่วนมากเครื่องหอม
เช่น บุหงา และน้ำหอมจะมีส่วนผสมจากกลิ่นไม้หอม
หรือกลิ่นจากดอกไม้นานพันธุ์ผสมอยู่ การใช้เครื่องหอมและน้ำหอม
ส่วนมากจะมีจุดประสงค์ให้เกิดความสบายใจ สะอาด สดชื่น และเป็นที่เร้าใจตราตรึงใจจากผู้คนที่อยู่ใกล้
8. ใช้ผสมกับเครื่องสำอางค์ ครีม โลชั่น
ความหลากหลายของคุณสมบัติเฉพาะ จากน้ำมันหอมระเหย
สามารถช่วยให้เครื่องสำอางค์ ครีมและโลชั่นต่างๆ
กลายเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย ผิวหน้า เส้นผม
และสารสกัดบางชนิดยังช่วยในการทำความสะอาดผิวหนัง
สร้างความสมดุลให้ผิวอีกด้วย แต่การเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด
ต้องพิถีพิถัน และศึกษาให้รู้จริงว่า สารชนิดใด มีคุณสมบัติเช่นใด
จึงจะก่อประโยชน์สูงสุด
ศาสตร์แห่งการนวดกับอโรมา-เธอราปี
|
---|
คุณโฆษิต ทัศนเทพกมล หัวหน้าแผนกกายภาพบำบัด
โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนวดไว้ดังนี้
ฟิตเนส...ความเป็นมาของศาสตร์แห่งการนวดมีมายาวนานแค่ไหน
คุณโฆษิต : "เรื่องการนวดเป็นเรื่องธรรมชาติที่มีแต่โบราณ
สมัยยุคหิน เมื่อไปล่าสัตว์เกิดเมื่อยตัวก็กลับมาบีบนวดด้วยมือ
บางครั้งก็ใช้น้ำลายทำให้ลื่นขึ้น ในบางครั้งก็อาศัยบ่อน้ำร้อน
หินร้อนธรรมชาติที่อยู่ใกล้มือๆ เมื่อลงไปแช่ หรือนำมาประคบ
ก็เกิดเป็นการผ่อนคลายที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณกาล ต่อมาหลังจากยุคหินนั้น เป็นสมัยที่มีการจดบันทึกไว้ประมาณ 7000 ปีมาแล้ว
จึงเป็นชาติแรกที่ใช้วิธีการนวด ซึ่งจักรพรรดิจีนโปรดให้มีการนวด
เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้นอนหลับสบาย
ต่อจากจีนก็เป็นอียิปต์ ก็ใช้การนวดนักรบ
ในสมัยนี้ก็มีการอาบแช่เข้ามาด้วย
การนวดของอียิปต์ยังมีการนวดเพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศอีกด้วย ซึ่งเป็นชาติแรกที่เริ่มใช้การนวดกับความรู้สึกทางเพศ
หลังจากอียิปต์ก็ข้ามต่อมายัง ยุคโรมัน ใช้กับนักรบ...ต่อมาที่ โรมอิตาลีแล้วก็ต่อไปยังสแกนดีเนเวีย เดนมาร์ก สวีเดน ฟินแลนด์
นอร์เวย์ ซึ่งเป็นดินแดนที่มีการพัฒนาเรื่องการนวด อบเซาว์น่า ซึ่งฟินแลนด์เป็นต้นตำรับเกี่ยวกับการอบเซาว์น่า
และในแถบสแกนดิเนเวียนี้ยังมีการเน้นเรื่องการอบด้วยความร้อน
ด้วยวิธีต่างๆ ผสมผสานกับการนวด เพราะเป็นประเทศที่หนาว
ต่อมาสวีเดนได้พัฒนามาเรื่อยๆ จนเมื่อประมาณ 100 กว่าปีมานี้เอง สวีเดนได้รวบรวมศาสตร์การนวดและการอบไอน้ำเซาว์น่า จนกลายเป็นที่นิยมและเป็นวิธีการรวดที่ดีสุดที่สุดวิธีหนึ่งในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ สวีดิช มาสซาจ (Swedish Massage) เป็นการนวดแบบสากลเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก"
ฟิตเนส...คงต้องขยายความของคำว่า สวีดิช มาสซาจ
(Swedish Massage)
คุณโฆษิต : "หลักของสวีดิช มาสซาจ มีหลักคือ
เพื่อผ่อนคลาย ให้เกิดความสบายเพื่อรักษาโรค เช่น อัมพาต
ข้ออักเสบ ฯลฯ นวดเพื่อเสริมสวย เพื่อความสุขสำหรับคู่สมรส
ซึ่งเป็นทางเพศ ซึ่งโดยทางการแพทย์-กายภาพบำบัด ก็มีการสอนเป็นหลักสูตรเพื่อให้บริการแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย
หลักง่ายๆ ที่ให้ก็มีพื้นฐาน คือ การลูบคลึง การบิด การตบ การหยิบ
การทุบ การสับ แล้วใช้ก็วิธีการเหล่านี้ไปปรับ และเสริม
ทั้งนี้ผู้ที่นวดต้องศึกษาทางกายวิภาค และรู้จักสรีระ-ร่างกายของมนุษย์เป็นอย่างดี
ว่าถูกบังคับด้วยประสาทส่วนใด มีกล้ามเนื้อตรงไหนใช้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายเนื่องจากการจับ หรือกด ผิดจุดได้"
ฟิตเนส...เครื่องมือ และส่วนประกอบที่ใช้ในการนวดมีอะไรบ้าง
คุณโฆษิต : "เราจะใช้อุปกรณ์ มีตั้งแต่ มือ น้ำมัน
แป้ง ยา ครีม โลชั่น เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
ถ้าใช้การนวดเพื่อผ่อนคลาย เพื่อให้เกิดความสบายจะใช้ครีม
โลชั่นหรือน้ำมันหอมระเหย เพื่อให้เกิดความลื่น ทำให้การเสียดสี
ระหว่างผู้นวดและผู้ถูกนวดลดลง และเกิดความสบาย
แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่เกิดจากโรค เช่น ข้ออักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ
หรืออาการชา หรือความผิดปกติที่โครงสร้าง ก็ต้องใช้ยาและนวด
เพื่อให้เลือดที่คั่งคลายและทุเลาปวด แต่ถ้ามีอาการบวม ช้ำ ระบม ก็ต้องใช้ยาอีกกลุ่มร่วมกับการนวดเพื่อคลาย แต่ต้องไม่สับสนกับการปฐมพยาบาลเกี่ยวกับการประคบเย็น 24 ชั่วโมง เมื่อเกิดการบวมแล้วประคบร้อนหลังจาก 24 ชั่วโมง
เพราะการนวดจะมาปรับใช้ในขั้นตอนนี้ เพื่อให้เลือดที่คั่งคลายตัว
และไหลเวียนดีโดยใช้ยาประกอบ เช่น ยาพวกเจลต่างๆ จะลดอาการระบม ยาที่นำมาใช้ในการนวดเหล่านี้เป็นยาที่ทาภายนอกจึงมีอันตรายน้อย
ถ้าไม่มีอาการแพ้ เช่น ผื่นแดง คัน ปวดแสบปวดร้อน ก็ปลอดภัย
ฟิตเนส...เรื่องอโรมา-เธราปี จะมีส่วนเกี่ยวข้อง
และมีประโยชน์กับการนวดหรือไม่อย่างไร
คุณโฆษิต : "น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเรื่องของกลิ่นนี้
เป็นเรื่องของจิตใจ อารมณ์ เพราะถ้าผู้ที่ถูกนวดรู้สึกสบายและหอมสดชื่น ก็จะทำให้ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อลงได้ เมื่อจิตใจสบาย
ก็จะทำให้ส่วนต่างๆ รู้สึกดีขึ้น เพราะการนวดช่วยให้สบายอยู่แล้ว
ดังนั้น กลิ่นที่ผสมอยู่ในน้ำมันซึ่งก็มีคุณสมบัติแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ก็จะช่วยได้เมื่อนำมาใช้กับการนวด เดี๋ยวนี้มีการนำพืชสมุนไพร
มาสกัดมากมายหลายชนิด และก็มีการค้นคว้าถึงคุณสมบัติของกลิ่น
แต่ละอย่างมากมายและกว้างขวางขึ้น ส่วนการนวดกับน้ำมันกลิ่นหอมนั้น
ไม่ค่อยได้เน้นในทางการแพทย์เท่าไร แต่จะไปเน้นในเรื่องการบำบัด
สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ โดยใช้กลิ่นร่วมกับการพ่นไอน้ำให้ผู้ป่วยได้สูดดม
โดยใช้ร่วมกับออกซิเจน ซึ่งจะใช้ยา-กลิ่นที่มีคุณสมบัติในการขยายหลอดลม
แต่ถ้าพูดถึงอโรมา-เธอราปี กับการนวดแล้ว
จะเน้นในเรื่องของการคลายเครียด นวดเพื่อผ่อนคลายมากกว่า
จะเป็นการรักษาซึ่งก็จะมีวิธีประกอบกับการใช้กลิ่น เช่น
การผ่านการสูดดม การอบไอน้ำ การนวด การประคบ และกลิ่นแต่ละกลิ่นก็ขึ้นอยู่กับความชอบของบุคคล ดังนั้นใครจะชอบกลิ่นใด หรือเหมาะกับกลิ่นไหน ก็ต้องมดลองเอง อย่างบางร้าน
การใช้กลิ่นในการแพทย์แผนไทยก็กลับมาเป็นที่นิยมเช่นกัน เช่นการอบในกระโจมโดยมีสมุนไพรกลิ่นต่างๆ สมุนไพรเหล่านั้นก็เป็นยาและมีคุณสมบัติในการรักษาอยู่ด้วยเช่นกัน
ดังนั้นถ้าจะพูดถึงอโรมา-เธอราปี อย่างเดียวว่าเป็นการรักษาด้วยกลิ่น
คงต้องเข้าใจว่า การรักษาด้วยกลิ่นนั้นต้องปรับไปใช้กับศาสตร์อื่นๆ ด้วย
เช่นใช้กับการนวด การอบ การประคบ การสูดดม การแช่ การอาบ ฯลฯ ซึ่งก็หมายถึงความสบายของจิตใจและร่างกายนั่นเอง
- นวดกระตุ้นพลัง-เสริมสมาธิด้วยอโรมา
เป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้วว่า การนวดจะช่วยผ่อนคลาย
ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และช่วยกระตุ้นระบบหมุนเวียนของโลหิต ช่วยให้ระบบน้ำเหลืองทำงานดีขึ้น ร่างกายจะรู้สึกคลายตัวสบายกาย
และสบายใจ แต่ประโยชน์ที่ได้รับจากการนวดมีพัฒนาการขึ้นไปอีก เพราะนอกจากจะนวดตามแบบสากลที่มีสอนกันอยู่ในปัจจุบัน
ประมาณ 4-5 ประเภทแล้ว ปัจจุบันการนวดยังนำศาสตร์อื่นๆ เข้ามาช่วยให้การนวดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น นวดด้วยครีม (ยา) เพื่อคลายกล้ามเนื้อหรือเพื่อบำบัดโรค นวดด้วยน้ำมันหอมระเหยเพื่อให้
ผ่อนคลายสบายใจขึ้น นวดแบบไทย
ทฤษฎีจากตะวันออกสู่ตะวันตก
1. Ayurveda (อายุรเวท) เป็นแขนงหนึ่ง
ของการแพทย์แผนโบราณในอินเดีย เป็นวิธีปฏิบัติให้ร่างกายบริสุทธิ์
เพื่อหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วย การนวดแบบนี้จะใช้ทั้งมือและเม้าในการนวด
2. Shiatsu (ชิอัตสึ) เป็นการนวดที่มาจากญี่ปุ่น
และเป็นการพัฒนามาจากการกดจุดของจีน การนวดชิอันสึก จะเป็นการใช้ทั้งมือกดจุดลงบนส่วนต่างๆ ซึ่งมีธาตุๆ ทั้ง 5
อยู่ตามร่างกาย การนวดนี้จะช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ และยังสามารถคลายเครียดอีกด้วย แม้ว่าการนวดแบบนี้
จะใช้นิ้วมือเป็นหลัก แต่ในบางครั้งก็ใช้ เข่า เท้า มือ ช่วยบ้าง
3. Reflexology (นวดแบบกดจุดบนเท้า)
เป็นการใช้นิ้วกดจุดที่เท้า และมักใช้วิธีนี้รักษาโรค Migrainess,
ท้องผูก, ไซนัส, นิ่วในไต ฯลฯ
4. Swedish massage (แบบสวีดิช)
เป็นการนดที่นิยมไปทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย
เป็นการนวดแบบสัมผัส กด บีบ สับ ตามส่วนร่างต่างๆ ของร่างกาย
5. Alexander Technique (ทฤษฎี ปรับปรุงบุคลิกภาพ) การนวดแบบนี้จะต้องปรับปรุงท่านั่ง ท่ายืน ท่าเดิน
รวมทั้งจัดระบบการหายใจใหม่ Alexander ผู้ค้นพบวิธีนี้
เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 เขาเชื่อว่า การวางท่าและจัดองค์ประกอบ
ของรูปร่างไม่เหมาะสมจะก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา รวมทั้งเกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้ออันเป็นผลทำให้เกิดการบาดเจ็บ
ของกล้ามเนื้อได้
6. Polarity Therapy เป็นการนวดแบบเพิ่มพลัง
ให้กายและใจโดยใช้หลักธาตุทั้ง 5 จากมือ เท้า ถ่ายพลังงานไปที่สมองทฤษฎีนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่ป่วยหนัก
7. Deep Tissue Therapy เป็นการใช้ข้อศอกนวด
กดจุด
1. น้ำมันหอมระเหย-โรสแมรี่ ช่วยขจัดแบคทีเรีย-ขับเชื้อโรค ทำให้สดชื่นแจ่มใสช่วยให้มีสมาธิและมีกำลังใจ ถ้าใช้ในการนวดจะให้ความอบอุ่นกระตุ้นและปรับตัว
เหมาะสำหรับผิวมัน
2. น้ำมันหอมระเหย-ลาเวนเดอร์ ช่วยกำจัดแบคทีเรีย และช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับเชื้อโรคออกไป ทำให้สงบ
และผ่อนคลาย ช่วยให้อารมณ์ เกิดความสมดุล ถ้าใช้ในการนวด จะช่วยให้นอนหลับสบายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ทำงานหนัก
ถ้าใช้ผสมกับครีม-โลชั่นจะช่วยบำรุงผิวและลดความมันบนใบหน้า
และยังช่วยสมานแผลได้อีกด้วย
3. น้ำมันหอมระเหยคาโมมายล์ ช่วยทำให้ผิวสะอาด
ช่วยให้จิตใจแจ่มใส มีสมาธิแน่วแน่ ถ้าใช้นวดจะช่วยให้รู้สบาย
และสงบเหมาะกับผิวแห้งและธรรมดาช่วยให้ผิวหนังรู้สึกผ่อนคลาย
4. น้ำมันหอมระเหย-ยูคาลิปตัส ช่วยให้หายใจโล่ง
ช่วยให้มีความกระจ่าง ปลอดโปร่งและมีสมาธิ มีคุณสมบัติ
ในการขจัดแบคทีเรียอีกด้วย ถ้าใช้นวด จะช่วยให้สดชื่น
และฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายเหมาะกับผิวธรรมดาถึงผิวมัน
5. น้ำมันหอมระเหย-เป๊ปเปอร์มินต์ ช่วยกำจัดแบคทีเรีย
ช่วยให้จิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่ง ช่วยให้สดชื่นและมีชีวิตชีวา
เหมาะสำหรับผิวมัน ไม่ควรใช้กับผิวที่แพ้ง่าย
6. น้ำมันหอมระเหย-มะนาว (เลมอน) ช่วยให้สดชื่น
แจ่มใส มีสมาธิ ถ้าใช้นวดจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
จะช่วยให้รู้สึกร่าเริงและกระตือรือร้น
7. น้ำมันหอมระเหย-เบอร์กาม็อท ช่วยดับกลิ่นและให้ความสดชื่น และเสริมสร้างอารมณ์ให้มีทัศนะในทางบวกมากขึ้น เหมาะสำหรับผิวมัน
8. น้ำมันหอมระเหย-กระดังงา (อีแลงอีแลง) ช่วยให้มั่นใจ
และจิตใจสบาย ให้ความรู้สึกคลาสสิก ให้ความอบอุ่นและอารมณ์
รัญจวน ถ้าผสมกับครีม-โลชั่นจะช่วยลดความมันบนใบหน้าได้
เหมาะสำหรับผิวทุกประเภท
9. น้ำมันหอมระเหย-มะลิ (จัสมิน) ช่วยให้เกิดความมั่นใจ
มองโลกในแง่ดี ช่วยผ่อนคลายและเกิดอารมณ์รักใช้ได้กับทุกประเภทผิว
และดีมากสำหรับผิวแห้ง
10. สารสกัดจากการบูร ใช้รักษาหนังศีรษะ
11. น้ำมันหอมระเหยจากต้นชา (Tea tree)
ช่วยทำความสะอาดผิวได้
12. น้ำมันหอมระเหย-ไม้ซีดาร์ ช่วยให้รู้สึกสงบและผ่อนคลาย
13. น้ำมันหอมระเหย-จากส้ม ช่วยให้การเผาผลาญพลังงาน
เป็นไปตามปกติ ช่วยให้สดชื่น ผ่อนคลายความตึงเครียด
จากการทำงานหนักมาทั้งวัน และยังให้ความรู้สึกเย้ายวน
14. น้ำมันหอมระเหยจาก-องุ่น ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส สดชื่น
15. น้ำมันหอมระเหย-เลมอนกราสส์ ช่วยทำความสะอาดผิวได้ดี
16. น้ำมันหอมระเหย-มินต์ ช่วยลดอาการบวมน้ำ และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้ดี
17. สารสกัดจากกำมะถัน ช่วยให้การเผาผลาญพลังงาน
ให้เป็นไปตามปกติ
18. น้ำมันหอมระเหย-ดอกบัว (Lotus oil) ใช้บำรุงผิว
19. น้ำมันจากผลอะโวคาโด ใช้ผสมครีมบำรุงผิวหน้าและผิวกาย
20. น้ำมันจากจมูกข้าวสาลี ใช้ผสมครีมบำรุงผิวหน้าและผิวกาย
-
กลิ่นหอมกับความรู้สึกที่แตกต่าง
1. กลิ่นโรแมนติคหอมหวาน มักเป็นกลิ่นดอกไม้
หอมเรียบง่าย งดงามชื่นใจ เช่น กลิ่นดอกมะลิ ดอกกล้วยไม้
ดอกมูเกต์ ดอกกุหลาบ
2. กลิ่นหอมเร่าร้อน-หยิ่ง-ทะนง-กล้าหาย
ได้จากกลิ่นหอมตระกูลเครื่องเทศผสมกับดอกไม้ที่มีกลิ่นไม่แรงนัก
ให้ความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า รู้สึกถึงความมีอิสระ ความกล้า หยิ่ง
ทะนงในตัวเอง เช่น กลิ่นดอกพีโอนี ดอกซาตินวู้ด ดอกแซนดัลวู้ด
ไม้แทงก้า
3. กลิ่นแห่งความลึกลับ ค้นหา คล้ายๆ กับกลิ่นหยิ่ง
ทะนงแต่ร้อนแรงกว่า มักได้มาจากกลิ่นดอกไม้แรงๆ เช่น
ไฮยาซินท์ ราตรี นางกวัก ไม้กระวาน กระดังงา ไลแล็ก มิโมซา
โบตั๋นขาว ผกากรองหอมและเครื่องเทศแรงๆ บางชนิด
จะทำให้เกิดความรู้สึกเร่งเร้า เข้มข้น รุนแรง และลึกลับ น่าค้นหา
4. กลิ่นหอมเย็นของดอกไม้-พรรณพฤกษา
บอกถึงพลังอิสระ เช่นกลิ่นหอมซาบซ่านของ มะนาว มะกรูด
มะกรูดอิตาเลี่ยน มินต์ บัวส์เดอโรส น้ำมันพริกไทยดำ ส้มซ่า
เฟิร์นหอม เพราะเป็นกลิ่นหอมของสีเขียว จึงให้กลิ่นที่หอมเย็น
ให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา สดชื่น มักเป็นกลิ่นของผู้ชาย
และผู้หญิงแกร่งเก่งและกล้า
5. กลิ่นของความเสน่หา เป็นกลิ่นที่มีความหอมฉุน
อบอวลให้ความรู้สึกที่ลึกล้ำ หอมชวนคลั่งไคล้ร้อนแรง มักได้จากกลิ่นหอมที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศ เช่น ขมิ้น
กำยาน ยางสน หรือกลิ่นอำพัน กลิ่นชะมด เพราะเป็นกลิ่นที่เร้าใจ
เรียกร้องให้ไขว่คว้า
คุณจงกชพร พินิจอักษร กรรมการผู้จัดการ
ผลิตภัณฑ์ To Nature และนักเคมีผู้เชี่ยวชาญเรื่องกลิ่นหอม
และน้ำหอมระเหยและ Aroma Therapy ได้ให้ความรู้เรื่อง
อโรมา-เธอราปี ไว้ดังนี้
ฟิตเนส...แรงบันดาลใจที่ทำให้สนใจทำผลิตภัณฑ์จากพืชธรรมชาติ
คุณจงกชพร : "ถ้าจะพูดถึงผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ไม่ใช่ของใหม่เลย เพราะมีมานานแล้วในประเทศไทย เช่น เราเคยใช้ยูคาลิปตัส ขมิ้น การบูร เพียงแต่ของฝรั่งเขาใช้แล้วก็ขยายผล มีการค้นคว้าวิจัย
ทำให้เกิดเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สั่งสมกันมานาน ดังนั้นน้ำมันหอมระเหย หรือกลิ่นหอมที่นำมาใช้ในตะวันตกจึงมีพัฒนาการที่ไกลกว่าของไทย
ทั้งๆ ที่วัตถุดิบ คือ พวกพืชธรรมชาติและสมุนไพรในแถบเอเชีย
หรือแม้แต่ในประเทศไทยเอง มีมากกว่า 400 ชนิด(ในไทย) และประเทศตะวันตกก็สั่งนำเข้าวัตถุดิบจากแถบเอเชียเกือบทั้งสิ้น แล้วเขาก็นำไปสกัดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เลยทำให้สนใจมาตลอด
เพราะบ้านเรามีวัตถุดิบเอง
...จุดเริ่มต้นที่สนใจเรื่องนี้ เพราะสมัยที่เรียนปริญญาโทอยู่ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้นต้องทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ
การสกัดสารสกัดธรรมชาติช่วงนั้นประมาณปี 2518
ได้ทำการสกัดยาฆ่าแมลงและได้ร่วมทำกับ ดร.ขวัญชัย สมบัติศิริ เรื่องยากำจัดศัตรูพืชทำจากสะเดา...ซึ่งมีอีกหลายตัวเช่น
ไพเดทรัม หรือไพเดทริน สกัดจากไพเดทรัม
เพื่อต้องการทำการกำจัดแมลงวันทอง แต่จริงๆ แล้ว
นำมาใช้กับการกำจัดยุงได้ดีกว่า มีการทำสกัดทดลองต่อมา แต่ปรากฏว่าแมลงวันทองไม่ตายก็เลยไปลองทำเกี่ยวกับ Essential oil โดยใช้กลิ่นหอมของดอกไม้ล่อแมลงให้เข้ามา
...จากนั้นก็ไปเป็นอาจารย์คระเกษตร ของวิทยาลัยราชมงคล แล้วก็ไปเป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
แล้วก็ไปเรียนต่อที่เยอรมันเกี่ยวกับเรื่องสารสกัดจากธรรมชาติ
เรื่องของผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยธรรมชาติพอกลับมาเป็นนักเคมี
ทำงานให้กับบริษัท โอเรียนทรัล ปริ๊นเซส อยู่ 5 ปี ทำเกี่ยวกับเรื่องสารสกัดแล้วก็มาทำผลิตภัณฑ์เอง...
เพราะคิดว่าผลิตภัณฑ์ของไทยน่าจะขายได้ เพราะเรามีความรู้พอ
ที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เราวิจัยเอง ทำเองก็มั่นใจ
น่าจะลดการนำเข้าจากต่างประเทศบ้าง ผลิตภัณฑ์ของ To Nature มีทั้งบำรุงผิวและใช้กับการรักษาผ่านการนวดคือ
ใช้น้ำมันหอมระเหยผสมและรักษาผ่านการสูดดม ไอน้ำ"
ฟิตเนส...ผลิตภัณฑ์ To Nature มีอะไรบ้าง
และมีความหลากหลายเพียงใด
คุณจงกชพร : To Nature เป็นบริษัทหนึ่งที่นำเสนอ
เรื่องธรรมชาติและการดูแลสุขภาพตนเองโยยธรรมชาติ
เพราะกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยก็มีคุณสมบัติช่วยรักษา
ป้องกัน โรคได้ ผลิตภัณฑ์ของ To Nature แบ่งได้เป็น
1. อโรมา-เธราปี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันหอม
ที่ใช้ในการรักษาสุขภาพ
2. เครื่องสำอางสมุนไพร (Herbal Cosmatics)
เป็นการสกัดพืชธรรมชาติ เช่น สกัดจากแตงกวา อโลเวลลา
และอีกมากกว่า 400-500 ชนิด ผลิตภัณฑ์ของเราจะเน้นเรื่อง
การใช้ง่าย ไม่มีเมคอัพ จะเน้นเรื่องการสร้างสุขภาพผิวที่ดี
ให้นวลเนียนตามวัย ตามผิวที่แท้จริงและนอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ขัดผิว
ดูแลผิวรอบดวงตา รอยย่น เส้นผม ตัวอย่างเช่น ภูมิปัญญาไทยชาวบ้าน เล่าว่าคนเมามักจะชอบเคี้ยวใบฝรั่งที่จริงแล้วในใบฝรั่ง
มีตัวยา-น้ำมันเป็นแอนตี้เซปติกและดับกลิ่น ซึ่งเหมาะในการทำความสะอาด หรือเป็นน้ำยาบ้วนปาก อีกตัวอย่างก็คือ ดอกอัญชัญจะทำให้คิ้วดก ดิฉันสนใจเรื่องสมุนไพรโบราณมาสกัด แล้วมาวิเคราะห์
ตามหลักวิทยาศาสตร์เคมีทั่วไป พิสูจน์ได้ จึงทำให้เราผลิต
ผลิตภัณฑ์อย่างมั่นใจ เช่น ในอัญชัญก็มีวิตามินบี 5
จึงทำให้อัญชัญทำให้คิ้วหรือผมดกดำ"
ฟิตเนส...ขอความรู้เรื่องอโรมา-เธอราปี คืออะไร
คุณจงกชพร : "อโรมา-เอราปี คือ เป็นเรื่องของการเอาเรื่องของกลิ่นหอม
มาดูแลรักษาเยียวยาสุขภาพ เช่น ถ้านอนไม่หลับ ก็สามารถใช้น้ำมันหอมระเหยตามกลิ่นที่แต่ละคนชอบ กลิ่นแต่ละกลิ่น จะมีปฏิกิริยากับแต่ละคนไม่เหมือนกันอยู่ที่จะชอบกลิ่นไหน
ในคุณสมบัติของกลิ่น จะแยกเป็นกลุ่มๆ เช่น เรื่องการนอนไม่หลับนี้
สามารถเลือกได้จาก กลิ่นแมนดาริน (กลิ่นส้ม), กลิ่นกุหลาบ (โรส),
กระดังงา (อีแลง อีแลง), จัสมิน (มะลิ), ผิวส้ม หรือเลมอนกราสส์
ที่จริงในต่างประเทศจะมีวิธีทดสอบทางเคมีว่า
แต่ละคนจะเหมาะกับกลิ่นอะไรโดยใช้การเทส
แต่วิธีที่สามารถทำได้ก็คือ ทำย้อนกลับกัน คือให้เลือกกลิ่นที่ชอบเอาเองเพราะกลิ่นที่เราดมแล้วหอมก็คือใช่
ถ้าดมแล้วฉุน หรือเหม็นก็แสดงว่าไม่ใช่ หลักการดูแลรักษาสุขภาพ
ของคนเอเชียเป็นวิธีที่ดีมาก ฝรั่งเองก็ทึ่งในภูมิปัญญาตรงนี้
แต่อย่างที่กล่าวแล้ว ฝรั่งเขาต้องมีหลักบานทางการวิจัย
ดังนั้นเมื่อเรามีภูมิปัญญา มีวัตถุดิบอยู่ใกล้ตัวแล้ว
จึงอยากทำให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของคนไทย ส่วนทางตะวันตกนั้นเป็นเรื่องความเก่งของเทคโนโลยี เราโชคดีที่หุ้นส่วนคนหนึ่งเป็นชาวเยอรมัน
ซึ่งเขานำเอาเทคโนโลยีมาแนะนำก็เลยลงตัว
จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากพืชในบ้านเรานี่เอง"
1. คุณรู้หรือไม่ว่า พืชแต่ละชนิดมีส่วนที่นำมาสกัดสารหอมไม่เหมือนกัน
อาทิ เช่น
|
- กุหลาบ - จากดอก
- เจอราเนียม - จากใบและลำต้น
- โรสแมรี่ - จากใบ
- มะกรูด - จากผล
- เบอร์กามอท - จากใบ
- อัลมอนด์ - จากเม็ด
- ไม้สน - จากเปลือกและต้น
- ไวโอเลต - จากดอกและลำต้น
- วนิลลา - จากผล
|
2. กุหลาบตระกูลดีที่นำมาผลิตน้ำมันหอมระเหย
ต้องมาจาก 2 แห่งนี้
|
- กุหลาบชมพูจากอียิปต์ (โรส เดอ เมย์)
มักออกดอกในเดือนพฤษภาคม
- กุหลาบบัลกาเรียน จากหุบเขาในเมืองกาชานลุก
ประเทศบัลกาเรีย
|
3. ดอกกระดังงา (อีแลง-อีแลง-Ylang-Ylang)
พันธุ์ดีที่เหมาะสำหรับทำน้ำมันหอม ต้นมาจากหมู่เกาะมาดากัสการ์
ในมหาสมุทรอินเดีย
4. พืชตระกูลมินต์ และตระกูลเบอร์การ์มอท
ต้องมาจากฝั่งคาเลเบียนทางใต้ของอิตาลี จึงจะดี
5. พืชตระกูลขิง ไม้จันทร์ ต้องมาจากเอเชีย เช่น จากอินเดีย
6. ยางสนตระกูลดี ต้องมาจาก ฟินแลนด์
7. คุณรู้หรือไม่ว่า กว่าจะได้น้ำมันหอมระเหยแต่ละหยด
ต้องใช้ ดอก ใบ ลำต้น ฯลฯ เป็นจำนวนมหาศาล
น้ำมันหอมกลิ่นกุหลาบหนัก 1 ปอนด์ ต้องใช้กลีบกุหลาบถึง
100 ล้านกลีบ หรือ กุหลาบ 2000 กิโลกรัม จะได้น้ำมันหอม
เพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น
น้ำมันหอมกลิ่นมะลิ หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ดอกมะลิถึง
4 ล้านดอก
น้ำมันหอมไธม์ หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ไธม์ถึง 400 กิโลกรัม
น้ำมันหอมเนโรลิ (Neroli) หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้
ดอกส้ม ถึง 6 ตัน
ข้อมูลหนังสืออ้างอิงประกอบการเขียน
- Dr.Tony Smith The British Medical Association - Family Doctor - Home Adviser, Dorling Kindersley, London, 1994.
- Family Guide to Nature Medicine, Readers Digest 1993
- Dr.Stephen Carroll, Dr.Tony Smith The Complete Family Guide to Healthy Living, Dorling Kindersley, London, 1992
- นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 154 ปีที่ 13 เดือน ธันวาคม 2540
- นิตยสาร ELLE ฉบับที่ 43 เดือนพฤษภาคม 2541
- เอกสารอโรมาเธราปี The Body Shop
- เอกสารน้ำมันหอมระเหย To Nuture
|