มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากนิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 22 ฉบับที่ 7 กรกฎาคม 2541 ]

การแก้ปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

พญ.เยาวเรศ นาคแจ้ง


ปัญหาเรื่องการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย มีแนวโน้มจะสูงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญหา การไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศ จนกลายเป็นปัญหาสำคัญ ในชีวิตของผู้ชายวัยกลางคน ทำให้มีความพยายาม ในการแสวงหาวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ข่าวการค้นพบ ยาขนานใหม่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว สามารถปฏิบัติกิจกรรม ทางเพศได้เหมือนผู้ชายปกติทั่ว ๆ ไป นับเป็นความหวังใหม่สำหรับผู้ชายที่มีปัญหาดังกล่าว

เมื่อพิจารณาถึงต้นเหตุของอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Impotence) พบว่ามาจากสาเหตุต่อไปนี้

1. สาเหตุทางกาย ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ หรือแม้กระทั่งโรคหวัดก็อาจนำไปสู่การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
2. สาเหตุทางจิตใจ ได้แก่ ความเครียดหรือความฝังใจในบางเรื่องจนมีผลแสดงออกทางกาย คือ ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

การบำรุงรักษาสุขภาพ ให้ดีทั้งกายและจิตใจ มีหลักปฏิบัติดังนี้คือ
อาหาร เลือกรับประทานอาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหาร กลุ่มที่จะก่อให้เกิดโทษกับร่างกาย
ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ
พักผ่อน อย่างเพียงพอ
หลีกเลี่ยง สารที่เป็นพิษต่อร่างกายทั้งจากอาหารที่เราทานเข้าไปและจากสิ่งแวดล้อม รอบตัวเรา

สมุนไพรบางอย่างอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการบำรุงร่างกายให้แข็งแรงทั้งร่างกาย และจิตใจ, โดยเฉพาะ "โสม" ซึ่งมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพ ในการบำรุงรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ช่วยลดความเครียดของจิตใจและช่วยในการรักษา โรคบางอย่างได้ รวมทั้งช่วยการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น เชื่อกันว่าโสมสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศได้และมีการใช้กันมานานนับพันปีในหมู่ ชาวจีนจากการศึกษาวิจัยพบว่าโสมประกอบไปด้วยสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ได้แก่ สาร Ginsenosides ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่มได้แก่
Panaxadiols ออกฤทธิ์ในการผ่อนคลาย หรือทางตะวันอออกเรียกว่าฤทธิ์ทาง "หยิน"
Panaxatriols ออกฤทธิ์ในการกระตุ้น หรือทางตะวันออกเรียกว่าฤทธิ์ทาง "หยาง"

ทั้ง 2 กลุ่ม จะช่วยให้โสมมีคุณสมบัติในการบำรุงสุขภาพ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยผ่อนคลายความเครียด เป็นผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของชาวตะวันตก ที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพของโสม ที่ได้รับความเชื่อถือจากชาวตะวันออกมานับพันปี

นอกจากนี้โสมยังมีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น โรคหัวใจ, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง (ในกรณีที่เป็นโสมสกัดที่สัดส่วนของ Ginsenosides ทั้ง 2 กลุ่ม ที่แน่นอนและเหมาะสม) ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยชะลอความแก่และต้านโรคมะเร็ง

เนื่องจากโสมได้รับความเชื่อถือและมีการใช้กันมานานแล้วในรูปแบบต่าง ๆ โดยไม่มีรายงานถึงผลเสียหรือพิษต่อร่างกาย จึงสรุปได้ว่าโสมมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย และปลอดภัยสูง ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ของโสมหลายรูปแบบ ทั้งที่อยู่ในรูปของ Crude Drug (โสมที่ไม่ได้ผ่านการสกัดแยกสารออกฤทธิ์) และในรูปของสารสกัดโสมมาตราฐาน ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบัน ซึ่งประเภทหลังเราสามารถรู้ปริมาณสารออกฤทธิ์ (Ginsenosides) ที่แน่นอนและอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้เราได้ประโยชน์จากสรรพคุณ ของโสมได้มากที่สุด

นอกจากนี้การป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ (สารที่เป็นพิษต่อร่างกาย) ทั้งที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย และที่รับจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าไป ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) เช่น B-Carotene Vitamin C, Vitamin E, และ Selenium จะช่วยให้ร่างกาย ปลอดภัยจากอนุมูลอิสระทั้งหลายที่เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้มั่นใจได้ว่าสุขภาพของเรา จะดีทั้งกายและใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ยาตัวใหม่ที่ค้นพบในสหรัฐจะออกฤทธิ์ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ เป็นการออกฤทธิ์ ที่อวัยวะดังกล่าวโดยเฉพาะเจาะจง ถ้าผู้ใช้ยาดังกล่าวมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ก็น่าจะช่วยให้ยาตัวใหม่มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นในการแก้ปัญหาการไม่แข็งตัว ของอวัยวะเพศชาย (Eractile Dysfunction) และอาจช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ ของผู้มีปัญหา ทำให้อวัยวะเพศสามารถแข็งตัวได้เองโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาช่วยโดยตลอด ซึ่งจะเป็นผลดีในการลดผลข้างเคียงของยาจากการใช้เป็นระยะเวลานาน ๆ ตลอดจนช่วยในด้านค่าใช้จ่ายของผู้ที่มีปัญหาดังกล่าว

พญ.เยาวเรศ นาคแจ้ง


[ BACK TO เรื่องยา]  [ BACK TO เพศศึกษา]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1