มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2541 ]

สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย ช่วยเพิ่มความทรงจำ

ภญ.ยุวดี สมิทธิวาสน์


ชาวจีนรู้จักใช้แป๊ะก๊วยซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่ง เข้าในตำรับยาของเขามาช้านาน แป๊ะก๊วยมีชื่อว่า Ginkgo Biloba ใช้รักษาคนที่เป็นโรคหลง ๆ ลืม ๆ อันเกิดจากความชรา ฤทธิ์ของมัน ในการเป็น Antioxidant (ขจัดอนุมูลอิสระในร่างกาย) จะทำให้ความทรงจำดีขึ้น, ป้องกันการจับกันเป็นก้อนของเลือดที่ไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนสมองและปลายแขนขา ระยะหลังมานี้ มีการศึกษายานี้ ในการรักษาโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) ซึ่งได้ผล เป็นที่พอใจในระดับหนึ่ง

เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ในยุโรปได้มีการศึกษาทดลองใช้สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยกับคนชรา ที่หลง ๆ ลืม ๆ อันเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ (cerebral insufficiency) ได้ผลดี ต่อมานายแพทย์ ลีมาร์ส (Pierre LeMars) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการของ New York Institute for Medical Research ได้ทำาการศึกษาใหม่กับผู้ป่วยที่เป็นโรคความจำเสื่อมที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer) ซึ่งแตกต่างจากโรคชราทั่ว ๆ ไป เพราะจำอะไรไม่ค่อยได้ บางทีทานข้าวแล้ว ยังบอกว่าไม่ได้ทาน เป็นต้น

สิ่งที่ค้นพบในการศึกษานี้ก็คือ คนไข้อัลไซเมอร์ 1 ใน 3 คน ที่กินสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย มีความทรงจำดีขึ้น (cognitive function improvement) เขาทดลองกับคนไข้ 327 คน ซึ่งเป็นโรคความจำเสื่อม (dementia caused by either Alzheimer's disease or stroke) โดยแบ่งคนไข้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก รับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วยวันละ 120 มก.
กลุ่มที่ 2 รับประทานยาหลอก (Placebo) เป็นเวลา 1 ปี

การวัดผล ใช้วิธีตามหลักการวัดผลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ซึ่งมี 3 อย่างคือ
  1. วัดความทรงจำ (cognitive impairment - ADAS Cog) พบว่ากลุ่มที่ได้ยาจะมีอาการ ดีขึ้นประมาณ 30% ส่วนกลุ่มที่ได้ยาหลอกมีอาการแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด
  2. วัดความเป็นอยู่และการเข้าสังคม (daily living and social behaviour GERRI) โดย การสอบถามจากคนรอบข้างและครอบครัวใกล้ชิด เห็นผลการเปลี่ยนแปลงชัดเจน และค่อนข้างพอใจ
  3. วัดสภาพจิตใจทั่วไป (general psychopathology - CGIC) ไม่พบความแตกต่างมาก นักระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม

โดยรวมแล้ว ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกจะเห็นความเสื่อมลงของความทรงจำค่อนข้างชัดเจน ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยจะไม่พบความเสื่อมลงของความทรงจำเลย ภายหลังจากได้ยาไปประมาณ 6 เดือน ข้อที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ ผู้ป่วย 1 ใน 3 คน ที่ได้รับสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยจะมีความทรงจำดีขึ้น (improvement of the cognitive process)

คำถามที่น่าสนใจก็คือ หมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์รับประทานยานี้หรือไม่ ? คำตอบก็คือ ถ้าตรวจว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์จริง การให้สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย ก็เป็นสิ่งที่น่าทำ แต่เราควรจะติดตามผลการทดลองต่อไปอีก และแน่นอน การรักษาโรคด้วยยาแผนปัจจุบัน ตามที่เคยปฏิบัติกันมาก็ควรจะมีควบคู่ไปด้วย

สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยมีหลายเกรด บางเกรดอาจใช้ไม่ได้ผล หรือมีผลข้างเคียง ระคายเคือง กระเพาะอาหารได้ ดังนั้น การเลือกซื้อยา ควรแน่ใจว่า ได้สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย ที่ให้ผลจริงๆ เพราะมีราคาค่อนข้างแพง

ภญ.ยุวดี สมิทธิวาสน์


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1