มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากนิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 19 ฉบับที่ 4 เมษายน 2538 ]

ตลุยดงโสม

นพ.ชุมศักดิ์ พฤษาพงษ์


ถ้าไม่เป็นเพราะ
ความอยากรู้อยากเห็น
แบบนักวิทยาศาสตร์
ของชาวยุโรปแล้ว
ป่านนี้ชาวโลก
ก็ยังคงรู้จักโสม
ในภาพลักษณ์เดิม ๆ
คือบอกต่อกันมา
โดยไม่มีหลักฐาน
ทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน
ว่ามันมีดีอย่างไร
จึงทุ่มเทเงิน
ซื้อมาบริโภค
ผมจะเล่าถึงการพัฒนาโสมเกาหลี (korean ginseng) เท่านั้น เนื่องจากเป็นโสมชนิดเดียว ที่ได้รับการวิจัย อย่างทุ่มเทมากที่สุด ในบรรดาสมุนไพรทั้งหลาย ทั้งปวง

C.A. Meyer เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเซีย ซึ่งทำการศึกษา และจำแนกโสมชนิดต่าง ๆ แล้วกำหนดให้โสมเกาหลี มีชื่อว่า Panax Ginseng ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2358 ซึ่งในทางพฤษศาสตร์ จัดอยู่ในต้นไม้ ในวงศ์ อลาเลียซิอี (Araliaceae genus) หรือสกุล "พานักซ์" (panax) ซึ่งต้นไม้ไทย ที่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันนี้ คือ ต้นเล็บครุฑ, นิ้วมือพระนารายณ์ และต้นหนุมานประสานกาย

Panax อันเป็นชื่อสกุลของโสมนั้นมีรากศัพท์จากภาษากรีกคำว่า "แพน" (pan) แปลว่าทั้งหมด ผสมกับคำว่า แอ็กซอส (axos) ซึ่งแปลว่า "ยา" รวมเป็นคำว่า "พานักซ์" แปลว่า "รักษาได้ทุกโรค" ส่วนคำว่า "จินเซ็ง" (ginseng) เป็นคำภาษาจีน ซึ่งมีลักษณะการออกเสีย งคล้ายภาษาเกาหลี คือ "อินแซ็ม" (insam) ลักษณะภายนอกของโสมเกาหลีนั้น คล้ายกับร่างกายมนุษย์ ซึ่งคำเรียกจินเซ็ง หรือรากมนุษย์ (manroot) นั่นเอง

ชาวจีนรู้คุณค่าของโสมมากกว่า 5,000 ปีแล้ว สิ่งที่บันทึกไว้ในสมุนไพรจีนอันยาวนานนั้น บ่งชี้ว่า โสมใช้เป็นยารักษาสุขภาพของชนชาติตะวันออก โดยชาวจีนยอมรับว่า โสมเกาหลี เป็นสุดยอดของโสม หรือโสมของโสม (ginseng of ginseng) ซึ่งถือว่าเป็นสมุนไพร มหัศจรรย์ (the miraculous panacea)

ความจริงโสมในสกุลเดียวกันนี้มีถึง 8 ชนิด เช่น โสมจีน, โสมญี่ปุ่น, โสมหิมาลายัน, โสมอเมริกัน เป็นต้น แต่เชื่อว่าโสมชนิดอื่น ๆ นอกจากโสมเกาหลี และโสมอเมริกันแล้ว ไม่มีความสำคัญ หรือคุณค่าพอในแง่ยาสมุนไพรในเชิงพาณิชย์

โสมอเมริกัน (American Ginseng) มีชื่อทางพฤษศาสตร์ว่า Panax quinquefolium L. เดิมเป็นไม้ป่าทั่วไป จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "wild ginseng" มีอยู่ชุกชุมในป่า แถวจังหวัดคิวเบ็ก หรือมานิโตบาในประเทศแคนาดา และทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา เช่น แคโรไลนาเหนือ, จอร์เจีย, เท็นเนสซี แต่ปัจจุบันมีการเพาะปลูกแถวคอนเน็คติคัท, เค็นตักกี และมินเนโซต้ามาก เพื่อส่งมาขายที่ฮ่องกง เนื่องจากชาวจีนนิยมใช้ไม่แพ้โสมเกาหลี และบ้านเรารู้จักดี ในนาม "โสมขาว" ซึ่งเมื่อวิเคราะห์สารเคมีในโสมขาวแล้ว พบว่าเป็นสารซาโปนิน (saponin) กว่า 30% โดยสารนี้ไม่ถือว่าเป็นจินเซ็งโนไซด์ (ginsenoside)

ดร.คาร์ล ไฮน์ รูเกิร์ต (Karl Heinz Rueckert) เป็นเภสัชกรชาวสวิส แกเล่าให้ผมฟังว่า
เมื่อ 30 ปี ก่อนมีโอกาสมาพำนักอยู่ในเอเซียตะวันออกไกลราว 3 ปี และได้เห็นประโยชน์ ทางการรักษา ของโสมเกาหลีแล้วรู้สึกทึ่ง แต่ขณะเดียวก็มองเห็นความยากลำบาก ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และมาตรฐานเดียวกัน เหตุเพราะว่า ไม่มีกรรมวิธีวิเคราะห์ และควบคุมคุณภาพ อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาทางเภสัชวิทยา และการวิจัยแบบ double blind ทางคลินิกเลย

เมื่อสบโอกาส แกก็เลยลองถามศาสตราจาย์ที่รู้เรื่องโสมท่านหนึ่งว่า ทำไมไม่มีการศึกษาวิจัยเลย, ศาสตราจาย์ท่านนั้นตอบว่า "บรรพบุรุษของเรา ใช้โสมมาอย่างได้ผลนับพัน ๆ ปีแล้ว, จะต้องเสียเงินเสียเวลาวิจัยอีกทำไม ?"

แต่ในฐานะนักวิทยาศาสตร์จากชาติตะวันตก ดร.รูเกิร์ต บอกตัวเองว่า คงยอมรับคำตอบ แค่นี้ไม่ได้ เมื่อกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ แกเลยระดมทุนววิจัยโสมอย่างเป็นกิจจะลักษณะ 30 ปีเข้านี่แล้ว โดยร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากเกาหลี
  • ระหว่างการวิจัยก็พบว่ารากโสมทุกชนิดไม่ได้มีตัวยาสำคัญเสมอไป
  • โสมดี ๆ จะปลูกได้แห่งเดียวที่ประเทศเกาหลี
  • กระบวนการเพาะปลูกค่อนข้างยุ่งยาก และกินเวลานานถึง 6 ปี และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วรากจะคงสภาพอยู่ดีเพียง 2-3 เดือนเท่านั้น ทางแก้คือการสร้างกระบวนการแปรรูปเพื่อรักษาตัวยาสำคัญที่อยู่ในราก มิให้เสื่อมสภาพไป
  • รากที่เก็บเกี่ยวมาต้องคัดเอาเฉพาะส่วนดี ๆ ด้วยเหตุนี้โสมดี ๆ จึงต้องมีราคาแพง ณ. จุดนี้จึงเป็นช่องทางให้พ่อค้าที่ขาดคุณธรรม ฉวยโอกาสนำรากโสมคุณภาพต่ำ แต่จำหน่ายในราคาสูง เพื่อเอากำไรมาก ๆ โดยผู้บริโภคอาจไม่ได้ประโยชน์ เนื่องจากไม่มีตัวยาสำคัญอยู่หรือถึงมีก็น้อย

โสมจึงอาจเสื่อมเสียชื่อเสียงได้เนื่องจาก
  • ผู้ผลิตบางรายไม่มีประสบการณ์ของการผลิตสินค้าดีมีคุณภาพ
  • ใช้รากสารพัดชนิดจากโสมหลาย ๆ ชาติหลาย ๆ พันธุ์ ซึ่งมีตัวยา ในปริมาณต่าง ๆ กัน
  • บ้างก็ใช้รากเก่าผสมรากใหม่และใช้ทุกส่วนของโรค โดยไม่ทราบว่า การทำอย่างนั้น จะได้สินค้าคุณภาพต่างกัน ในแต่ละผลผลิตสุดท้าย, หมายความว่าแต่ละขวด แต่ละเม็ด อาจจะมีตัวยาไม่เท่ากัน

การวิจัยของดร.รูเกิร์ต เริ่มอย่างเป็นระบบ, ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  1. ค้นหารากชนิดที่เหมาะสม
  2. ค้นหาส่วนของรากที่เหมาะสม
  3. พัฒนากระบวนการผลิตให้ได้สารสกัดแบบเหลวที่คงสภาพ
  4. พัฒนาวิธีการผลิตโสมสกัดแบบผงที่คงสภาพ, ปลอดเชื้อและเข้มข้น
  5. เพื่อให้สารสกัดมีมาตรฐานเดียวกัน ด้วยการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารจินเซ็งโนไซด์
  6. ตรวจสอบทางเภสัชวิทยา เพื่อให้ได้มาซึ่งขนาดรับประทาน (dosage) ที่ได้ประสิทธิภาพเหมาะสมที่สุด
  7. การทดสอบทางพิษวิทยาในสัตว์ทดลอง 2 ชั่วคน
  8. การทดสอบทางคลินิกโดยวิธีการทดลองเปรียบเทียบแบบ double blind

โครงการวิจัยได้นำมาซึ่งผลิตภัณฑ์หลายขนานอันเป็นที่ยอมรับทั่วโลก จากวิธีผลิตโสมสกัด ที่เยี่ยมที่สุด
ตัวอย่างการทดสอบทางเภสัชวิทยาเพื่อหารากโสมที่เหมาะสมที่สุดมี อาทิเช่น ให้หนูทดลอง กินรากโสมชนิดต่าง ๆ เป็นเวลา 28 วัน เปรียบเทียบกับหนูที่กินแต่น้ำ พบว่าหนูที่กินรากโสม รหัส extract G. ขนาด 0.06 มิลลิกรัมต่อวัน เพิ่มประสิทธิภาพ ของหนูทดลองได้สูงสุด และต่อมาการทดลอง เพื่อยืนยันขนาดยา ก็พบว่า 0.06 มิลลิกรัม ได้ผลดีที่สุด โดยแม้จะเพิ่มขนาดยา ก็ไม่ทำให้แข็งแรงขึ้น อย่างที่เรามักจะคิดกัน

เมื่อวิเคราะห์และปรับมาตรฐานแล้วก็นำไปทดสอบทางคลินิกคือทดลองกับคนต่อไป และพบว่า สามารถทำให้คนเรามีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งทางกายและทางความคิด
(physical and mental efficiency) เพิ่มความสามารถในการต่อสู้ความเครียดและภาวะติดเชื้อ
ในส่วนของการเพิ่มความต้านทานโรคนั้น พิสูจน์โดยดูความสามารถของเม็ดเลือดขาว macrophage ซึ่งเก็บกินจุลินทรีย์ได้ดีขึ้น (แข็งแรงขึ้น และเคลื่อนไหวเร็วขึ้น) หลังรับประทานโสมสกัดแล้ว


การวิจัยตลอด 30 ปีที่ผ่านมา สิ้นค่าใช้จ่าย 20 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 500 ล้านบาท) สรุปได้ว่า โสมสกัดที่ดีที่สุด ได้จากการคัดเลือกรากอย่างละเอียด และวิธีการผลิตพิเศษ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ พัฒนาขึ้นมา โดยรักษามารตฐานไว้สูงมาก ดร.รูเกิร์ต บอกว่า ขณะนี้การค้นหาโสมสกัด ชนิดเยี่ยม ที่สุดยังคงดำเนินต่อไป แต่บอกได้ว่า โสมสกัดที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ คือผลิตภัณฑ์ที่ผมไปเยี่ยมชมมา

นพ.ชุมศักดิ์ พฤษาพงษ์


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1