มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

อย.เตือนภัยเครื่องสำอางอันตราย

จากนิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 22 ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2541


อย.นำทีมตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เชียงใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้ พบเครื่องสำอางทาฝ้า ไม่มีฉลากภาษาไทย ส่วนใหญ่ขายตามร้านค้าแผงลอย ตรวจพบมีส่วนผสมของ สารไฮโดรคิวโนนและสารปรอท แอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง เตือนผู้บริโภคอย่าซื้อมาใช้อาจเป็นอันตรายได้

นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้นำทีมเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์ และรถโมบายเคลื่อนที่ ออกตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์สุขภาพในท้องที่ จ.เชียงใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้ พบปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง คือผลิตภัณฑ์ทาฝ้า ที่ไม่มีฉลากภาษาไทย ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวส่วนใหญ่มักพบตามร้านค้า แผงลอย และยังตรวจพบว่า มีการใช้สารไฮโรคิวโนน และสารประกอบแอมโมเนีย ซึ่ง อย. ประกาศให้เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางทาฝ้า เนื่องจากสาร ไฮโดรคิวโนนจะออกฤทธิ์ กดการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนัง ขณะที่ใช้ฝ้าจะจางลง แต่ถ้าหยุดใช้ ฝ้าก็จะกลับมาเข้มเหมือนเดิม และเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะเกิดการทำลายเซลล์สร้างสีที่ผิวหนัง เกิดการด่างขาวและอาจทำให้ผิวหนังบริเวณที่ใช้มีสีคล้ำขึ้น คล้ายสีน้ำเงินอมดำ ถ้ามีจำนวนมาก ผิวจะกลายเป็นสีดำ รักษาไม่หาย เรียกว่าเกิด "ฝ้าถาวร" ได้

ส่วนสารปรอทแอมโมเนีย จะทำให้เกิดการแพ้ผื่นสัมผัส ผิวหนังจะบางและมีสีดำคล้ำ เนื่องมาจาก การสะสมของสารปรอทใต้ผิวหนัง และอาจมีการดูดซึมเข้าสู่ระบบภายใน ร่างกาย ก่อให้เกิด พิษต่อไต และอาจมีอาการผิดปกติของปัสสาวะ นอกจากนี้สารปรอท ยังก่อให้เกิดกลุ่มอาการ Pink disease หรือ Acrodynia ทำให้มีผื่นแดงที่ มือ เท้า หน้าอก กลัวแสง กระสับกระส่าย นอนหลับยาก และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติอีกด้วย ทั้งนี้ที่มาเจ้าหน้าที่ของ อย.ได้ตรวจพบว่าผลิตภัณฑ์ทาฝ้า ชื่อ บีแอน มีส่วนของสารปรอทแอมโมเนีย และครีมทาฝ้ามิกิ มีส่วนผสมของสารไฮโดรควิโนน ซึ่งผลิตภัณฑ์มิกินี้ เดิมได้เคยขึ้นทะเบียนไว้กับ อย. แต่เมื่อมีการประกาศให้ สารไฮโดรควิโนนเป็นสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับฝ้า ผลิตภัณฑ์ที่เคยขึ้นทะเบียนไว้ และมีส่วนผสมของสารไฮโดรควิโนน จึงสามารถขายได้ถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2541 ที่ผ่านมาเท่านั้น หากยังตรวจพบว่า มีการขายอยู่แล้ว ก็จะถือเป็นความผิดของผู้ขาย นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังถือว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุแล้ว เพราะมีอายุหลังวันที่ผลิต ประมาณ 1 ปีเท่านั้น อย. จึงขอเตือนมายังประชาชน ผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่จังหวัด เชียงใหม่ โปรดอย่าซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้ เนื่องจากอาจได้รับอันตรายได้

รองเลขาธิการฯ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล กล่าวต่อไปว่า ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทาฝ้า ผู้บริโภค ควรให้ความระมัดระวังเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทย ภาชนะบรรจุ ควรอยู่ในสภาพสมบูรณ์ หากมีรอยฉีกขาด หรือแตกไม่ควรซื้อมาใช้ เพราะอาจเสื่อมสภาพ หรือปนเปื้อนสิ่งสกปรก และควรเลือกซื้อ จากแหล่งผลิตและจำหน่ายที่แน่นอน เชื่อถือได้ นอกจากนี้หากผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์ทาฝ้า ใดที่สงสัยว่าไม่ถูกต้อง โปรดแจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โทร 5907354-5 หรือผ่านสายด่วนผู้บริโภค โทร 202-9333 กดต่อ 005 หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อจะได้ตรวจสอบ และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1