มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/
[ คัดลอกจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2541 ]

อันตรายจากยานอนหลับ


















































































เภสัชกรชัยยุทธ ทยาวิทิต


การนอนหลับเป็นกระบวนการที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยปกติคนเราควรนอนหลับอย่างน้อย วันละ 6-8 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ร่างกาย ได้หยุดพักผ่อน และทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ สำหรับท่านที่นอนหลับได้ง่าย และรวดเร็ว จะไม่มีปัญหา เรื่องความทุกข์ จากการนอน ไม่หลับ เมื่อนอนไม่หลับ ติดต่อกันหลาย ๆ คืน จะรู้สึกหงุดหงิด และประสิทธิภาพ ในการทำงานลดลง สาเหตุ ของการนอนไม่หลับอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น การได้ยิน หรือได้กลิ่น ที่ผิดปกติ ความเจ็บป่วย ความหิว กระหายน้ำ การฝึกตนไม่ให้หลับ โรคทางจิตเวช อารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล ความเครียด ยาและสารเคมีต่าง ๆ เช่น คาเฟอีน นิโคติน ยาลดความอ้วน เป็นต้น ข้อมูลจากการสอบถามแพทย์ ที่รักษา ผู้ป่วยที่มีอาการ นอนไม่หลับ ในสถานบริการสาธารณสุขแห่งหนึ่ง พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ มาจากความ เครียด ความวิตก จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หน้าที่การงาน และครอบครัว ส่วนใหญ่ผู้ สูงอายุ มักมีปัญหา นอนไม่หลับเช่นกัน ผู้สูงอายุ มักจะเข้านอนเร็ว แต่นอนไม่หลับ หรือไม่สามารถหลับรวดเดียว ให้ถึงเช้าได้ มักจะตื่นเช้า หรือไม่ก็สายมาก มีการนอน กลางวัน วันละหลายครั้ง ยิ่งนอนตอนกลางวัน มากขึ้นเท่าใด จะทำให้นอนไม่หลับ ตอนกลางคืน มากขึ้นเท่านั้น

สถาบันวิจัยสุขภาพแห่งสหรัฐอเมริกา แบ่งการนอนไม่ออกเป็น 3 ระดับ คือ

อาการนอนไม่หลับชั่วคราว เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีประวัติการนอนไม่หลับเป็นปกติ และเมื่อมีปัญหา หรือปัจจัยกระตุ้น ทางด้านจิตใจ หรือสิ่งแวดล้อมหมดไป จะกลับมา นอนหลับได้ตามปกติ นอกจากนี้ การเปลี่ยนเวลา (Jet lag) เช่น การบินข้ามทวีป อาจทำให้เกิด การนอนไม่หลับชั่วคราวได้เช่นกัน
อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง สาเหตุสำคัญเกิดจากโรคประจำตัวต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคของ ระบบประสาท และจิตเวช เช่น โรคสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น

การรักษาอาการนอนไม่หลับโดยไม่ใช้ยามีความสำคัญ และควรเป็นข้อปฏิบัติ ก่อนการรักษาโดยใช้ยา ถ้าอาการนอนไม่หลับ ไม่รุนแรงจนเกินไป ปกติจะเริ่มด้วย การปรับพฤติกรรมการนอน เช่น เข้านอน ให้เป็นเวลาสม่ำเสมอ และไม่ดึกเกินไป หลีกเลี่ยงการนอน ในช่วงกลางวัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดดื่มน้ำชา กาแฟ ในตอนเย็น และก่อนนอน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร มากเกินไป เพราะจะทำให้อึดอัด ควรรับประทานอาหารอร่อย ๆ หรือนมอุ่น จะช่วยให้หลับดีขึ้น หลีกเลี่ยงการเสพ ยาเสพย์ติด ให้ตั้งนาฬิกาปลุก และตื่นนอนเวลาเดียวกันทุกวัน ไม่ว่าจะนอนได้มาก หรือน้อย เพียงใด การทำเช่นนี้ จะทำให้ร่างกายคุ้นเคย กับจังหวะการนอน และการตื่น คงที่ ควรจัดห้องนอน ให้สะอาด มีเสียงกวนน้อย แสงไม่สว่างเกินไป อุณหภูมิไม่ร้อน หรือเย็นเกินไป เป็นต้น ถ้าเปลี่ยนพฤติกรรม การนอนแล้ว ยังไม่ได้ผล อาจเสริมการบำบัด ทางจิตเวชด้วย ถ้าไม่ได้ผล จึงจะพิจารณาใช้ยานอนหลับได้ แต่ก็ควรใช้เพียงชั่วคราว เท่านั้น

เมื่อท่านมีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ และจำเป็นต้องใช้ยาคลายเครียด หรือยานอนหลับ ควรปรึกษาแพทย์ ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หรืออาจขอรับคำแนะนำ การใช้ยา จากเภสัชกร ซึ่งแพทย์ หรือเภสัชกรจะเลือกใช้ยาได้ถูกต้อง ตามหลักวิชาการ และใช้ยา เท่าที่จำเป็น เท่านั้น ไม่ควรซื้อยานอนหลับเช่น ไดอะซีแพม หรือที่รูจักกันดี ในชื่อการค้าว่า แวเลียม (VALIUM) มารับประทานเอง เนื่องจากการใช้ยานอนหลับบ่อย ๆ ร่างกายจะเกิด ความเคยชินยา เพราะตับสร้างเอมไซม์ มาทำลายยามากขึ้น ทำให้ต้องเพิ่มการใช้ยามากขึ้น จาก 1 เป็น 2 และ 2 เป็น 3 จนทำให้เกิด การติดยานอนหลับได้ นอกจากการติดยา ทางด้านร่างกายแล้ว การติดยา ทางด้านจิตใจ ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน คือ ผู้ที่เคยใช้ยานอนหลับ จะเกิดความกลัวว่า หากไม่รับประทานยา ก็จะนอนไม่หลับ ทำให้ต้องรับประทานยา อยู่เป็นประจำ การเลือกใช้ยา ที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดผลตกค้าง เมื่อตื่นขึ้น นอกจากนี้ ไม่ควรใช้ยานอนหลับ ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ กดประสาทส่วนกลาง เช่น แอลกอฮอร์ ส่วนผู้ป่วยที่มี โรคประจำตัว ร่วมด้วย เช่น โรคปอด หรือผู้สูงอายุ ที่นอนกรนอย่างมาก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ เนื่องจาก ยาเหล่านี้ มีออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้ศูนย์ควบคุมการหายใจ ถูกกดไปด้วย จึงอาจเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ผู้ป่วย หยุดหายใจได้

การใช้ยานอนหลับอย่างไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการซื้อมารับประทานเอง มีโทษมากกว่าที่ท่านคิด ดังนั้น ถ้าจำเป็น ต้องใช้ยานอนหลับ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อน เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และสุขภาพของท่านเอง

เภสัชกรชัยยุทธ ทยาวิทิต
รพ.ปทุมธานี


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1