มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2541]

จากน้ำผักสู่น้ำอาร์.ซี. (1)

สง่า ดามาพงษ์


กลิ่นน้ำผักยังไม่ทันจางหาย จู่ๆ ก็เกิดกระแสเรื่องน้ำอาร์.ซี.ขึ้นมาอีก และดูเหมือนว่าคราวนี้ความนิยมแรง พอที่จะ ทำให้พ่อค้าหัวใส ฉกฉวยโอกาส หาประโยชน์จากการขายสินค้า "ชีวจิต" อย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาระน้ำอาร์.ซี. ที่เห็นวางขายกันเกร่อ อยู่ขณะนี้ ไปไกลถึงขนาดมี "นิวอาร์.ซี." น้ำอาร์.ซี.สูตรชงดื่ม แถมยังมีการโฆษณาว่า รักษาโรคมะเร็งได้ จับจุดคนที่กำลังสิ้นหวัง จากโรคร้ายนี้ ทำเอาเจ้าของแนวคิด และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ "ชีวจิต" ตัวจริง ต้องออกมาปฏิเสธว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง กับพ่อค้าแม่ค้า ที่เห็นแก่ได้เหล่านี้ ทั้งยังเตือนว่า อย่าได้หลงเชื่อนักฉวยโอกาสที่หากินกับเรื่องนี้

ในเรื่องกระแสความนิยมน้ำอาร์.ซี. (หรือแม้แต่น้ำผัก ที่เคยฮือฮากันมาแล้ว) สะท้อนให้เห็น ถึงอะไรบ้าง ในสังคมไทย มีแง่คิดมุมมองบางประการ ที่น่าจะกล่าวถึง

กระแสที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยกำลังตกอยู่ในภาวะหวาดวิตก ที่ต้องเสี่ยงต่อความเจ็บป่วย และความตาย จากโรคภัยไข้เจ็บ จึงต้องขวนขวาย เสาะแสวงหา สิ่งคุ้มกันอย่างใด อย่างหนึ่ง มาเสพ เพื่อให้ลดความเสี่ยง และหลุดพ้น จากความหวาดกลัว แม้ว่าสิ่งคุ้มกัน ที่ตนแสวงพบ และเสพเข้าไปนั้น เป็นสิ่งที่ไหลมาตาม กระแสนิยม และยังไม่มีบทพิสูจน์ ที่ชัดเจน บนพื้นฐาน ของความเป็นวิทยาศาสตร์ มากนักก็ตาม แต่การได้รับการ โฆษณาชวนเชื่อ ที่ผ่านกลไกการตลาด อันแยบยล ของระบบธุรกิจ ด้านสุขภาพ โดยใช้กระบวนการสื่อสาร ที่ทรงประสิทธิภาพ ก็มีอิทธิพล ที่จะทำให้ผู้บริโภคคล้อยตาม จึงไม่น่าแปลกใจ ที่พบว่า ทุกครั้งที่เกิดกระแส ความนิยมเรื่องใดขึ้นมา จะสร้างความร่ำรวย ให้กับคน บางกลุ่ม โดยเฉพาะพ่อค้า ในขณะที่คนไทย ยังคงมีภาวะโภชนาการ และสุขภาพ ที่ไม่ต่างไปจากเดิม มิหนำซ้ำ บางครั้ง การหลงไปตามกระแส ด้วยการสั่งซื้ออาหาร ที่เชื่อว่า บำรุง หรือแก้โรคภัยเข้ามา เพราะไทยเราผลิตเองไม่ได้ ทำให้เงินทุนไหลออกไปนอกประเทศ ผลสะท้อนตรงจุดนี้ นักวิชาการ จะต้องคิด ให้รอบคอบ ก่อนจะนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชน การรณรงค์ทุกอย่าง ควรจะอยู่ใน บริบท ของวิถีไทย และต้องคำนึงผลสะท้อนกลับ ที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านบวกและด้านลบ

หากเรามาพิจารณาทั้ง พฤติกรรมตื่นกระแสของคนไทยในลักษณะ "เขาว่าดีก็ดีด้วย" จะเกิดคำถาม ตามมาว่า อะไรคือปัจจัย ที่ทำให้คนไทย มีความเชื่อ และเกิดพฤติกรรม การบริโภคสิ่งเหล่านั้น อย่างง่ายดาย โดยขาดใคร่ครวญยั้งคิด ถึงคุณและโทษ รวมทั้งความคุ้มค่า ที่จะได้รับ มีหลากหลายปัจจัยเป็นคำตอบ แต่สิ่งสำคัญคือ เรายังไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกัน ด้านโภชนาการ ให้แก่คนของเราเอง เพื่อใช้เป็นเครื่องปกป้อง คุ้มคอรง ตนเอง ต่ออิทธิพล ของกระแสความนิยมที่ไหล่บ่าเข้ามา เพื่อการมีพฤติกรรมการกินอาหาร ที่พึงประสงค์ คนใน สังคมไทย ยังจำเป็นที่จะต้องได้รับความรู้ และแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง เหมาะสม ทางด้านอาหาร และโภชนาการ หากคนไทยส่วนมาก ได้ถูกกระตุ้นให้ตระหนัก และรู้หลักการกินอาหาร ให้พึงประสงค์ สิ่งเหล่านี้ จะเป็นภูมิคุ้มกัน ไม่ให้คนไทย หลงกระแสแบบง่ายดาย จนเกินไป อย่างที่เป็นอยู่

การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านโภชนาการที่เป็นวิทยาศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับ ของสังคมโลก สู่ประชาชนนั้น นักวิชาการและนักเผยแพร่ต้องบอกให้ประชาชนทราบอย่างชัดเจนว่า อาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการรณรงค์ให้ประชาชนกินนั้น กินเพื่อให้มีภาวะโภชนาการดี หรือว่ากิน เพื่อรักษาโรคทางโภชนาการ เพราะทั้งสองแบบ มีความต่างกันในวัตถุประสงค์ แบบแรกเป็นการ ส่งเสริมสุขภาพ ให้คนปกติทั่วไป ปฏิบัติ แต่แบบหลัง เป็นโภชนบำบัด หรือการป้องกันรักษา ควรทำในกลุ่มคนเจ็บป่วย ผ่านกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์ การเผยแพร่แบบคลุมเครือ จะสร้างความสับสนแก่ประชาชน การนำไปปฏิบัติ อย่างไม่ถูกต้อง ย่อมก่อความสูญเสีย ด้านเศรษฐกิจ จากการบริโภคอาหารเกินความจำเป็น

สง่า ดามาพงษ์
นักวิชาการสาธารณสุข 9


[BACK TO LISTS]  [ ต่อตอน 2 ]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1