มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากข่าวสารด้านสุขภาพและชีวิต จาก ศูนย์วิจัย มี้ด จอห์นสัน สหรัฐอเมริกา เล่มที่ 3 ฉบับที่ 2 1998 ]

การติดเชื้อ Herpes simplex ในแม่และเด็ก

ศูนย์วิจัย มี้ด จอห์นสัน


Mucocutaneous Infection
ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการแสดงเลยได้ส่วนหนึ่ง ระยะฟักตัวประมาณ 4 วัน ในผู้ที่ติดเชื้อในปากครั้งแรกอาจพบเชื้อในปากได้นานถึง 23 วัน ร่างกายเริ่มสร้างภูมิต้านทานในวันที่ 4-7 หลังจากเริ่มมีอาการแสดงแล้ว ภูมิต้านทานสูงสุดอาทิตย์ที่ 3 อาการในเด็กส่วนใหญ่แสดงออกที่เยื่อบุช่องปากและเหงือก โดยเริ่มจากตุ่มน้ำใสแล้วแตกออก กลายเป็นแผล ร่วมกับไข้ ซึ่งอาจกินเวลาถึง 2-3 สัปดาห์ บางรายมีต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโต และอาจมีอาการเจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย

ผู้ป่วยที่มีแต่แผลในปากมักเป็นการติดเชื้อครั้งแรก ผู้ป่วยที่มีแผลที่ริมฝีปากร่วมด้วยมักแสดงถึงการกำเริบกลับเป็นซ้ำ ในรายที่กลับเป็นซ้ำนั้น อาการเจ็บปวดจะมากที่สุดในระยะก่อนเกิดตุ่มน้ำ ตุ่มน้ำมักอยู่นานประมาณ 48 ชั่วโมง ก็จะแตกออกและหายภายใน 8-10 วัน

Herpes simplex ภาวะแทรกซ้อนก็พบได้น้อยกว่า โอกาสการกลับเป็นซ้ำ มักแปรตามความรุนแรงของการติดเชื้อในครั้งแรก ผู้ป่วยที่กลับเป็นซ้ำไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ล้วนสามารถแพร่เชื้อสู่คู่สมรสได้

หากมีการติดเชื้อในสตรีที่ตั้งครรภ์ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คือ การติดเชื้อแพร่กระจายทั่วร่างกาย ทำให้เกิดตับอักเสบ ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ เลือดไม่แข็งตัว และสมองอักเสบ ซึ่งทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากกว่าร้อยละ 50 ทารกในครรภ์ก็มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 50 เช่นกัน ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยให้ได้จึงมีความสำคัญยิ่ง

Neonatal Infection
ทารกมีการติดเชื้อ Herpes จากมารดาราว 1 ใน 2,000-5,000 จากการคลอดในแต่ละปี ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทารกมีโอกาสติดเชื้อ ได้แก่
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทารกมีโอกาสติดเชื้อ
  1. มารดาติดเชื้อเป็นครั้งแรก มีโอกาสถ่ายทอดเชื้อไปยังทารก มากถึง ร้อยละ 30-50 เทียบกับร้อยละ 3 ในมารดาที่กลับเป็นซ้ำ
  2. ภาวะภูมิต้านทานของมารดา
  3. ภาวะน้ำเดินก่อนคลอดที่นานกว่า 6 ชั่วโมง
  4. การใช้ fetal scalp monitor

ทารกมีโอกาสได้รับเชื้อจากมารดา 3 ระยะ
  • ระหว่างที่อยู่ในมดลูก
  • ระหว่างการคลอด ได้รับการรับเชื้อจากสารคัดหลั่งของมารดาระหว่างการคลอด ซึ่งทารกที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่ราวร้อยละ 75-80 อยู่ในกลุ่มนี้
  • ติดเชื้อหลังคลอด คือการติดเชื้อจากผู้ใหญ่ที่มีแผล Herpes หลังจากทารก คลอดออกมาแล้ว

ทารกที่ได้รับเชื้อ Herpes เกือบทั้งหมดจะแสดงอาการเจ็บป่วยออกมาได้ 3 รูปแบบได้แก่
อาการแสดงของทารกที่ติดเชื้อ มี 3 รูปแบบ
  • มีตุ่มน้ำตามร่างกาย เช่น ศีรษะ ตา ปาก ผิวหนัง ตุ่มน้ำเหล่านี้ จะพบราววันที่ 10-11 และส่วนใหญ่จะกลับเป็นซ้ำ ไม่ว่าจะได้รับการรักษาหรือไม่ก็ตาม แต่หากไม่ได้รับการรักษา ทารกในกลุ่มนี้ราว 1 ใน 3 จะมีการติดเชื้อในสมองตามมา
  • ติดเชื้อในสมอง โดยจะมีตุ่มน้ำที่ผิวหนังร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ และทารกอาจมีอาการชักกระตุก ซึม ไม่ดูดนม อุณหภูมิร่างกายไม่คงที่ กระหม่อมหน้าโป่งตึง เพราะเชื้อไวรัสได้จากน้ำไขสันหลัง ประมาณ 1 ใน 3 หากไม่ได้รับการรักษาครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตเพราะก้านสมองไม่ทำงาน ทารกที่รอดชีวิตมีความพิการหลงเหลือมากมาย
  • มีการติดเชื้อทั่วร่างกาย แสดงอาการภายใน 9-11 วัน ทารกกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องมีตุ่มน้ำขึ้นตามร่างกายทุกราย อัตราเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 80 การพยากรณ์โรคเลวร้ายที่สุด

การป้องกัน
การให้ความรู้แก่ประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ ควรแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยอยู่เสมอ การพิจารณาผ่าตัดทำคลอดสามารถลดการติดเชื้อในทารกได้มากหากมารดาติดเชื้อ หรือกลับเป็นซ้ำ

วัคซีนที่กำลังศึกษาในปัจจุบันคือ subunit glycoprotein constructs โดย 2 บริษัทได้แก่ Biocine/Chiron และ Smith Kline Beecha
สามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้าง neutralizing และ ELISA antibodies ได้

วัคซีน gD-2 หรือ gB/gD-2 ของ Biocine/Chiron ใน phase 2 trial สามารถลดการกลับเป็นซ้ำให้น้อยลงได้ 1 ใน 3 แต่ใน phase 3 trial เมื่อทดลองฉีดให้กับ seronegative sexual partners ของผู้ที่ติดเชื้อกลับไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้เลย ขณะนี้วัคซีนตัวนี้ได้ถูกยกเลิกการศึกษาไปแล้ว

อีกหนทางหนึ่งคือ การสร้าง naked DNA โดยวิธีการทางวิศวพันธุกรรม ด้วยการค้นพบ gamma 134.5 gene ของเชื้อ HSV-1 ว่าเป็น mediator ของ CNS replication หากไวรัสขาด gene นี้ จะไม่สามารถคงสภาพใน latency stage ได้ การศึกษาทำนองเดียวกันกับ HSV-2 กำลังดำเนินอยู่

การรักษา
ยา Acyclovir (9-[2-hydroxy-ethxymethyl] guanine) เป็นยาหลักที่ใช้รักษาการติดเชื้อ Herpes ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมี prodrug อีกได้แก่ Valacyclovir ซึ่งเปลี่ยนไปเป็น Acyclovir และ Famciclovir ซึ่งเปลี่ยนไปเป็น Penciclovir ยาทั้งสองมี oral bioavailability มากขึ้น

การรักษาด้วยAcyclovir
  • การติดเชื้ออวัยวะสืบพันธุ์
    สำหรับการติดเชื้อครั้งแรก สามารถใช้ Acyclovir ทั้งรูปแบบยาฉีด ยารับประทาน และยาทาภายนอก ยาทาจะช่วยลดระยะเวลาของ viral shredding และช่วยให้ รอยโรคหายเร็วขึ้น แต่ยังน้อยกว่าการใช้ยาฉีด ยารับประทานก็ได้ผลดีเกือบเท่ายาฉีด และถือเป็นวิธีการรักษามาตรฐานในปัจจุบัน ส่วน prodrug ทั้งสองตัว มีผลในการรักษาเท่ากัน ข้อสำคัญคือยาเหล่านี้ไม่มีผลต่ออัตราถี่ของการกลับเป็นซ้ำ
    ในการติดเชื้อที่กลับเป็นซ้ำ ยาอาจช่วยลดระยะเวลาของ viral shredding และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นเล็กน้อย จาก 7 วันเหลือ 6 วัน แต่ไม่มีผลลดอาการ และการกลับเป็นซ้ำ
  • การติดเชื้อในสมอง
    ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำสามารถลดอัตราการตายจากร้อยละ 50 เหลือร้อยละ 19 การรักษาจะได้ผลดีที่สุดเมื่อให้ยาก่อนผู้ป่วยจะหมดสติ (Glasgow Coma Score น้อยกว่า 6) การพยากรณ์โรคจะไม่ดีในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 30 ปี หรือมีอาการนานกว่า 4 วัน
  • การติดเชื้อในทารก
    ผลของยา Acyclovir ในการรักษาทารกไม่แตกต่างจาก Vidarabine แต่เนื่องจากบริหารยาง่าย และปลอดภัยต่อทารก จึงเป็นยาหลักที่ใช้รักษาทารกในปัจจุบัน

การดื้อยา Acyclovir
เชื้อ Herpes ดื้อต่อยา Acyclovir โดย mutation ของ gene ที่ encoding thymidine kinase (TK) ปัจจุบันยังพบไม่มากนัก เชื้อ Herpes ที่ดื้อต่อ Acyclovir ยังคงไวต่อยา Foscanet

Clin Infect Dis 1998; 26: 541-55

ข่าวสารด้านสุขภาพและชีวิต
ศูนย์วิจัย มี้ด จอห์นสัน สหรัฐอเมริกา


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1