เสรี ธีรพงศ์
1. เด็กหลอดแก้วคืออะไร ? ทำไมจึงเรียกเด็กหลอดแก้ว
คนทั่วไปมักไม่รู้หรือเข้าใจผิดว่าการทำ "เด็กหลอดแก้ว" หมายถึง การการก่อให้เกิดตัวอ่อนมนุษย์และเลี้ยงูอยู่ภายในหลอดแก้ว
จนโตเป็นเด็ก ตัวเล็กๆ จากนั้นจึงนำมาเลี้ยงต่อ
ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ในตู้อบ จนกลายเป็นทารกที่น่ารัก
เหมือนกับที่คลอดออกมาตามธรรมชาติ ความจริงเป็นความเข้าใจผิด เพราะเราไม่สามารถเลี้ยงเด็กในหลอดแก้วจริงๆ ได้
เราเลี้ยงได้ เฉพาะ "ตัวอ่อน" ของมนุษย์ในระยะ 2-3 วันแรกเท่านั้น จากนั้นต้องรีบนำกลับเข้าสู่ร่างกายสตรี มิฉะนั้น "ตัวอ่อน" จะตาย
การทำ "เด็กหลอดแก้ว" ในภาษาไทยนั้น
ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "IVF" (In Vitro Fertiliztion)
หมายความว่า การช่วยเหลือให้เกิดการปฏิสนธิของไข่และตัวอสุจิ
ภายนอกร่างกายในหลอดแก้วทดลองภายใต้สิ่งแวดล้อม
อุณหภูมิคล้ายกับภายในร่างกาย เมื่อได้ "ตัวอ่อน" ที่สมบูรณ์
ในขนาดที่เหมาะสม ก็นำกลับเข้าสู่ภายในร่างกายของสตรีผู้นั้น เพื่อให้ฝังตัวและเจริญเติบโตเป็นทารกภายในโพรงมด ลูกต่อไป
2. เด็กหลอดแก้ว มีความเหมือน
หรือแตกต่างจากการผสมเทียมอย่างไร ?
แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะการผสมเทียม (Articial Insemination)
หมายถึง การฉีด "เชื้ออสุจิ" เข้าไปในช่องคลอดหรือมดลูก โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ช่วยเหลือ จะมีการปฏิสนธิหรือไม่
ยังไม่ทราบ และหากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ก็เป็นการปฏิสนธิภายในร่างกาย
แต่การทำ "เด็กหลอดแก้ว" เป็นการนำเอา "ไข่" ของสตรีออกมาภายนอกร่างกายแล้วมาผสมกับ "เชื้ออสุจิ"
ในหลอดแก้วทดลอง เพื่อให้มีการปฏิสนธิภายนอก
ภายใต้บรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่จัดให้เหมาะสม
แก่การดำรงชีวิต ของ "ตัวอ่อน" ได้
3. ในการทำ "เด็กหลอดแก้ว"
มีขั้นตอนหรือกรรมวิธีอย่างไร ?
ขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้ว
- ขั้นตอนที่ 1 "การกระตุ้นไข่" โดยใช้ยาหรือฮอร์โมน
จากต่อมใต้สมองส่วนหน้ามากระตุ้น เพื่อให้ได้ไข่จำนวนมากๆ
- ขั้นตอนที่ 2 "การเก็บไข่" โดยใช้เข็มยาวที่ทำขึ้นมาเฉพาะ
เจาะเก็บไข่ทางหน้าท่องหรือทางช่องคลอด แต่ส่วนใหญ่เจาะเก็บไข่
ผ่านทางช่องคลอด เพราะสามารถมองเห็นไข่ได้โดยตรง
จากการใช้อัลตราซาวนด์ช่วยทำให้เจาะเก็บไข่ได้จำนวนมาก
- ขั้นตอนที่ 3 การเตรียม "เชื้ออสุจิ" เป็นการ "คัดเชื้อ"
เพื่อให้ได้ตัว "เชื้ออสุจิ" ที่มีคุณสมบัติดีพบที่จะปฏิสนธิกับไข่โดยใช้ "ตัวอสุจิ" ขนาดความเข้มข้นประมาณ 100,000 ตัวต่อไข่ 1 ใบ
- การเก็บเชื้ออสุจิ โดยปกติจะใช้วิธีให้ช่วยตัวเอง (masturbation) ไม่ควรใช้วิธีร่วมเพศก่อนแล้วมาหลั่งภายนอก หรือใช้ถุงยางอนามัย เนื่องจากสารหล่อลื่นภายในถุงยาง จะทำลายตัวอสุจิได้
- ขั้นตอนที่ 4 การเลี้ยง "ตัวอ่อน" เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุด
ในกระบวนการทำ "เด็กหลอดแก้ว"
- ภายหลังจากที่ได้ไข่มาแล้ว ก็จะนำมาเลี้ยงในหลอดแก้วทดลอง
ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ประมาณ 3-6 ชั่วโมง
จากนั้นจึงทำการใส่ "เชื้ออสุจิ" ที่ผ่านการคัดเชื้อแล้วลงไป
เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 18 ชั่วโมง ก็มาตรวจดูว่า
มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นหรือยัง
- ถ้าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ก็อาจใส่เชื้ออสุจิอีกเป็นครั้งที่สอง
หรือเฝ้าสังเกตการณ์ต่อไป
- ถ้าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ก็ต้องตรวจดูว่า
มีการปฏิสนธิที่ผิดปกติหรือไม่ หากมีก็คัด "ตัวอ่อน" นั้นทิ้งไป
เหลือไว้ แต่ "ตัวอ่อน" ที่ปกติเท่านั้น
- ในวันที่สอง (ประมาณ 48-50 ชั่วโมงภายหลังจากเจาะไข่ออกมา)
"ตัวอ่อน" แต่ละตัวอยู่ระหว่าง 2-8 เซลล์ "ตัวอ่อน" แต่ละตัว
จะมีความสมบูรณ์ไม่เท่ากัน เราจัดลำดับความสมบูรณ์ของตัวอ่อน
ออกเป็นเกรด 1(A), 2(B), 3(C), 4(D) เกรด 1 ดีที่สุด เกรด 2 ดีรองลงมา
ควรจะนำ "ตัวอ่อน" เฉพาะเกรด 1 และ 2 เท่านั้น
ใส่กลับเข้าสู่ร่างกายคนไข้สตรีส่วน "ตัว-อ่อน" เกรด 3 และ 4
จะนำมาใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
- ขั้นตอนที่ 5 การนำ "ตัวอ่อน" กลับเข้าสู่ร่างกาย
เราสามารถนำ "ตัวอ่อน" กลับเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทาง คือ
ทางปากมดลูก หรือทางปีกมดลูก
- ขั้นตอนที่ 6 การแช่แข็ง "ตัวอ่อน"
ตัวอ่อนของมนุษย์ที่เหลือจากการใส่กลับเข้าสู่ร่างกายเรา จะนำมา แช่แข็งที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส "ตัวอ่อน" จะหยุดการเจริญเติบโต แต่ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้นานเป็นปีทีเดียว เมื่อไรจำเป็นต้อง ใช้ก็เพียงแต่ละลายกลับมาสู่อุณหภูมิปกติอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ในการทำ "เด็กหลอดแก้ว" แต่ละครั้งมีจำกัด
หรือไม่ว่าจะต้องใช้ไข่กี่ฟอง ?
เราไม่จำเป็นต้องจำกัดการใช้ "ไข่" เพราะเราจะนำไข่ทั้งหมด
ที่เจาะได้มาหยอด "เชื้ออสุจิ" เพื่อให้เกิดเห็น "ตัวอ่อน "
มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เราจำกัด "ตัวอ่อน" มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
แต่เราจำกัด "ตัวอ่อน" ที่จะนำกลับเข้า สู่ร่างกายไม่ให้เกิน 4 ตัวอ่อน เพื่อไม่ให้เกิดแฝดจำนวนมาก ส่วน "ตัวอ่อน"
ี่เหลือจะแช่แข็งไว้ใช้ต่อไปในอนาคต
5. มีอัตราความสำเร็จในการปฏิสนธิเท่าไร ?
การปฏิสนธิโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายอย่าง เช่น
ความสมบูรณ์ ของ "ไข่" และ "เชื้ออสุจิ" ประสิทธิภาพของ
ห้องปฏิบัติการรวมถึงความ ชำนาญของผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงตัวอ่อน
อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้ศึกษาไว้ดังนี้
จำนวนของ "ไข่" ที่หยอด "เชื้ออสุจิ" ทั้งหมด 1,364 |
|
คิดเป็นร้อยละ 100 |
จำนวนของ "ไข่" ที่มีการปฏิสนธิปกติเท่ากับ 738 |
|
คิดเป็นร้อยละ 54.1 |
จำนวนของ "ไข่" ที่ไม่มีการปฏิสนธิเท่ากับ 486 |
|
คิดเป็นร้อยละ 35.6 |
จำนวนของ "ไข่" ที่มีการปฏิสนธิในเวลาที่เนิ่นนานออกไป จากปกติเท่ากับ 54 |
|
คิดเป็นร้อยละ 4.0 |
จำนวนของ "ไข่" ที่บริเวณเปลือกนอก ได้แตกออกเท่ากับ 39 |
|
คิดเป็นร้อยละ 2.9 |
จำนวนของ "ไข่" ที่สลายหรือภายในมีฟองอากาศเท่ากับ 12 |
|
คิดเป็นร้อยละ 0.9 |
จำนวนของ "ไข่" ที่ยังไม่สุกพอที่จะสามารถปฏิสนธิ
ได้เท่ากับ 10 |
|
คิดเป็นร้อยละ 0.8 |
ในบางสถาบันเมื่อพบ "ไข่" ไม่มีการปฏิสนธิในเวลา 12-24 ชั่วโมง
ก็ทำการหยอด "เชื้ออสุจิ" ลงไป อีกเป็นครั้งที่สอง แต่มักไม่ค่อยได้ผล
ยกเว้นในกรณี "เชื้ออสุจิ" ของสามีไม่ดีในการหยอดครั้งแรกเมื่อหยอด
"เชื้ออสุจิ" บริจาค ของชายอื่นลงไปเป็นครั้งที่สองมักจะให้ผลดีพอสมควร
6. ในการนำ "ตัวอ่อน" กลับเข้าสู่ร่างกาย จะต้องใช้
"ตัวอ่อนจำนวนเท่าไร ?
ปกติใช้ 3 ตัวอ่อน สูงสุดไม่เกิด 4 ตัวอ่อน
ไม่ว่าจะเป็นการใส่กลับเข้าดำเนินการทางปีกมดลูก
หรือทางปากมดลูก
7. หลังจาก "ตัวอ่อน" กลับเข้าสู่ร่างกาย
ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ?
กรณีที่นำ "ตัวอ่อน" ใส่กลับเข้าทางปากมดลูก
หลังจากนอนพักหลังหยอด "ตัวอ่อน" แล้วประมาณ 1-2 ชั่วโมง
ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ แต่สมควรนอกพักต่อที่บ้านอีกประมาณ
12-24 ชั่วโมง หลังจากนั้น จึงสามารถทำงานเบาๆ ได้
ไม่ควรทำงานหนักหรืองานที่ต้องใช้การเกร็ง หน้าท้อง
และไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้
ในกรณีที่นำ "ตัวอ่อน" ใส่กลับเข้าสู่ร่างกายทางปีกมดลูก (ZIFT) ผู้ป่วยจะต้องนอนพักที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน
เมื่อกลับบ้านยังควรพักผ่อนต่ออีกไม่ต่ำกว่า 3-4 วัน
8. ต้องใช้เวลานานเท่าไร ? จึงจะทราบว่าตั้งครรภ์
ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากจบกระบวนการทำ
"เด็กหลอดแก้ว" โดยการเจาะเลือดตรวจ การตั้งครรภ์ที่แน่ใจว่า
ไม่น่าจะแท้ง ก็คือเมื่ออายุครรภ์ 8 สัปดาห์ ทำการอัลตรา-ชาวนด์
ทางช่องคลอดพบว่ามีการเต้นของ หัวใจทารก
9. "ตัวอ่อน" ที่ใส่เข้าไปในร่างกายสัตว์จะรอดเป็นทารก
ทุกตัวอ่อนหรือไม่ มีอัตราการรอดเป็นอย่างไร ?
ในทางการแพทย์ การรอดชีวิตของ "ตัวอ่อน" เท่าไรนั้น
วัดได้จาก เมื่อเราหยอด "ตัวอ่อน" ลงไปจำนวนเท่าไร
แล้วเหลือรอดชีวิตมาฝังตัวได้กี่ตัวอ่อน เราเรียกอัตราการรอดชีวิต
ของ "ตัวอ่อน" นี้ว่า "อัตราการฝังตัว" (Implantation Rate)
โดยปกติจะพบประมาณร้อย ละ 20 (หากใส่ "ตัวอ่อน" เข้าไป 100 ตัวอ่อน
จะฝังตัวได้ 20 ตัวอ่อน) ไม่ว่าจะเป็นการหยอด "ตัวอ่อน"
ทางปากมดลูกหรือปีกมดลูก
ถึงแม้จะฝังตัวได้ แต่จะมีส่วนหนึ่งที่แท้งออกมา
คิดเป็นร้อยละ 25 ของการตั้งครรภ์ ดังนั้นการรอดชีวิตของ
"ตัวอ่อน" จึง มีไม่มากนักโดยเฉพาะในสตรีที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป
10. "ตัวอ่อน" ที่ใส่เข้าไปมีโอกาสเป็นแฝดหรือไม่ ?
และจะเป็นแฝดแท้หรือไม่แท้
มีโอกาสเกิดเป็นแฝดสองร้อยละ 21 แฝดสามร้อยละ 4.5
และแฝดสี่ร้อยละ 0.2 ส่วนใหญ่แฝดที่เกิดจากกระบวนการทำ
"เด็กหลอดแก้ว" เป็นแฝดไม่แท้หรือพูดง่ายๆ คือ แฝดจากไข่คนละใบ หน้าตาจึงไม่เหมือนกันทีเดียวแต่จะคล้ายกับเป็นพี่น้องกันมากกว่า
11. อัตราความสำเร็จในการทำ "เด็กหลอดแก้ว"
เท่ากับเท่าไร ?
ความสำเร็จในการทำ "เด็กหลอดแก้ว"
วัดได้จากอัตราการตั้งครรภ์ อัตราการตั้งครรภ์ในการทำ
"เด็กหลอดแก้ว" จากการหยอด "ตัว อ่อน" ทางปากมดลูก
เท่ากับร้อยละ 10-20 และจากการหยอด "ตัวอ่อน"
ทางปีกมดลูก (ZIFT) เท่ากับร้อยละ 30-40
12. ต้องเสียค่าใช้จ่ายการทำ "เด็กหลอดแก้ว"
ครั้งละประมาณเท่าไร ?
ประมาณ 50,000 - 100,000 บาท แล้วแต่สถาบัน
13. อุปสรรคในการทำ "เด็กหลอดแก้ว" คืออะไร ?
อุปสรรคในที่นี้หมายถึง ข้อจำกัดหรือสิ่งที่ขัดขวาง
การไปสู่ความสำเร็จในการทำ "เด็กหลอดแก้ว" อันนี้ขึ้นอยู่กับ
1. ความพร้อมของคู่สามีภรรยาที่มารักษา
ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจหรือสุขภาพ ยกตัวอย่างอุปสรรค
ทางด้านสุขภาพ ได้แก่
- ภรรยา มีปัญหาความผิดปกติทางสภาพร่างกาย เช่น
รังไข่ไม่ทำงานหรือไม่ผลิตไข่ มดลูกมีเนื้องอกขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน สิ่งเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไขก่อนที่จะทำ "เด็กหลอดแก้ว"
- สามี มีปัญหาด้านความสมบูรณ์ของ "เชื้ออสุจิ"
ไม่ว่าจะเป็นจำนวนที่น้อยเกินไป หรือการเคลื่อนไหว
ที่บกพร่องอย่างมาก แต่ปัจจุบันสามารถแก้ไขได้ง่ายด้วยวิธี
เจาะไข่ใส่ "เชื้ออสุจิ" เข้าไป (ICST "อิ๊กซี่")
2. ความพร้อมของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งบุคลากร
ที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ห้องปฏิบัติการจะต้องทันสมัย
เครื่องมีพร้อมมูล สะอาด บุคลากรต้องมีความรู้ความชำนาญ โดยเฉพาะแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยง "ตัวอ่อน"
(Embryologist)
14. คนไข้ส่วนใหญ่ต้องทำกี่ครั้ง ? จึงจะประสบผลสำเร็จ มีหรือไม่ที่ไม่ประสบความสำเร็จเลย
จะทำกี่ครั้งจึงประสบความสำเร็จนั้นคงตอบยาก
ขั้นอยู่กับสุขภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของคู่สมรสที่มารักษา
โดยปกติการทำ "เด็กหลอดแก้ว" แล้วหยอดตัวอ่อนทางปากมดลูก (กรณีมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถใส่เข้าทางปีกมดลูกได้)
มีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 10-20 หมายความว่า
ดำเนินการประมาณ 5 ครั้ง ประสบความสำเร็จ 1 ครั้ง
สำหรับการดำเนินการหยอด "ตัวอ่อน" ทางปีกมดลูก (ZIFT)
จะมีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 30-40 หมายถึง ดำเนินการ 3 ครั้ง
มีโอกาสประสบความสำเร็จ 1 ครั้ง
แต่จะมีคนไข้จำนวนหนึ่งที่ไม่ว่าจะดำเนินการกี่ครั้ง
ก็ไม่ประสบความสำเร็จเลย ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่คนไข้ควรขวนขวาย หาความรู้เพื่อมาประกอบการตัดสินใจ ส่วนแพทย์ผู้รักษา
ก็ควรจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับพยาธิสภาพและการพยากรณ์โรคแก่คนไข้อย่าง ตรงไปตรงมามากที่สุดเท่าที่จะทำได้
15. การทำ "เด็กหลอดแก้ว" กับการทำ "กิ๊ฟ"
เหมือนกันหรือเปล่า
ไม่เหมือนกัน เพราะการทำ "เด็กหลอดแก้ว" เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย
ในหลอดแก้วทดลอง จากนั้นจึง นำกลับเข้าสู่ร่างกายแต่การทำ
"กิ๊ฟ" เป็นกระบวนการนำเอา "เชื้ออสุจิ" และ "ไข่"
เข้าไปใส่ไว้ในปีกมดลูก เพื่อให้มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย
การทำเด็กหลอดแก้วก็เป็น ทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้
คนเป็นพ่อเป็นแม่สมหวัง หลังจากคุณได้อ่านบทความนี้ แล้ว คงจะตอบตัวเองได้ว่าจะเลือกทางนี้หรือเปล่า
|