เรียบเรียงโดย บุญตา เจนสุขอุดม
โรคติดต่ออันตรายโรคหนึ่ง ที่มีการระบาด ในช่วงฤดูฝน และบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง พบจำนวนผู้ป่วย และเสียชีวิต มากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรคเล็ปโตสไปโรซิส ( Leptospirosis ) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า โรค ฉี่หนู
รายงานจากการเฝ้าระวังโรค ของกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2540 พบผู้ป่วย จำนวน 2331 ราย ตาย 111 ราย สำหรับปี 2541 ( ข้อมูล ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2541 ) พบผู้ป่วย 218 ราย ตาย 7 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนการระบาดของโรคนี้ ในปี 2540 พบว่า แพร่ระบาดมาก ในเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน สำหรับปี 2541 มีข้อมูลการเกิดโรค คล้ายปี 2540 มาก คาดว่าอาจเกิดการระบาดของโรคนี้ขึ้นอีกในช่วงนี้
โรคเล็ปโตสไปโรซีส เกิดจาดเชื้อแบคทีเรีย รูปเกลียวสว่าน ชื่อ เล็ปโตสไปร่า ( Leptospira spp.) ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสายพันธ์ มีหนูเป็นพาหะที่สำคัญ การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น จากการที่พาหะนำโรค ซึ่งมีเชื้อนี้แอบแฝงอยู่ในไต ( ไตเป็นอวัยวะที่สร้างปัสสาวะ ) หนูก็จะปล่อยเชื้อนี้ออกมาพร้อมกับปัสสาวะ แพร่มาสู่คน เชื้อโรคเล็ปโตสไปโรซิส นอกจากจะอยู่ในฉี่หนูแล้ว ยังพบได้ในฉี่ของสัตว์อื่นๆ ด้วย เช่น สุนัข หมู วัว ควาย ฯลฯ แต่พบว่าเชื้อนี้เกิดจากการแพร่เชื้อจากหนูมากกว่าจากสัตว์อื่น โดยเฉพาะหนู ตามท่อระบายน้ำ ซึ่งหนีขึ้นมาตามท่อ เมื่อมีน้ำท่วมขัง ทำให้มีการแพร่เชื้อลงน้ำ เชื้อนี้สามารถว่ายน้ำ ได้ระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นผู่ที่อาศัยอยู่ ในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง จึงมีโอกาสที่จะติดเชื้อนี้ได้ง่าย โดยที่เชื้อโรค เล็ปโตสไปโรซิส จะเข้าสู่ร่างกาย ผ่านทางผิวหนัง ที่มีบาดแผลรอยถลอก หรือผิวหนังเปื่อย จาการแช่น้ำ นานๆ รวมทั้งผ่านทาง เยื่อบุต่างๆ ที่สัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือสัมผัสกับฉี่สัตว์ที่มีเชื้อนี้โดยตรง นอกจากนี้ การกินอาการหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ ก็อาจทำให้ติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน
หลังจากี่ร่างกายได้รับเชื้อ ภายใน 2-9 วัน จึงจะปรากฏอาการ ( บางรายอาจรอนานถึง 31 วันก็มี ) อาการที่พบคือ เป็นไข้สูง เกิน 39 องศาเซลเซียส อาการไข้จะเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น อาการทาง ระบบทางเดิน อาหาร อาหารปวดเมื่อย ตาขาวออแดงเป็นร่างแห ปวดศรีษะฉับพลัน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้ามเนื้อน่องและโคนขา ส่วนอาการอื่นๆที่อาจมีร่วมด้วย เช่น มีผื่น หรือจุดเลือดออกทางผิวหนัง ตัวเหลืองตาเหลือง ถ้ามีอกหากรรุนแรง จะมีผลให้ตับอักเสบ ไตอักเสบ ไตวาย ทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ความรุนแรง จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสายพันธ์ ของเชื้อที่ติดมา ผู้ป่วยมักมีไข้ อย่างเฉียบพลัน ขณะที่มีไข้ เชื้อจะกระจายไปในกระแสโลหิต แพร่ไปทุกอวัยวะ หลังจากนี้ อาการไข้ ก็จะลดลง แต่เชื้อที่ออกมาทางน้ำปัสสาวะก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้ ระยะสุดท้าย จะเกิดอาการไตวาย และเสียชีวิตในที่สุด หากท่านสงสัยว่าจะติดเชื้อนี้ หรือมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างเฉียบพลัน ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตรงกล้ามเนื้อน่อง หลังจากที่สัมผัสน้ำ หรือสัตว์ที่สงสัยว่า มีเชื้อนี้ ให้รับไปพบแพทย์ด่วน
โรคเล็ปโตสไปโรซิส สามารถป้องกันการแพร่ระบาดได้ไม่ยาก การดูแลรักษาความสะอาด และสุขอนามัย ชองบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนอาหารการกิน เป็นหนทางหนึ่งที่จะป้องกันตนเอง จากโรคนี้ ควรกิน อาหาร ที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำต้มสุก เก็บอาหารและน้ำดื่มให้มิดชิด ไม่ให้หนู ลงไป ปัสสาวะ ได้ ระมัดระวังเรื่อง ความสะอาด ในการประกอบอาหาร การดื่มน้ำ และการกินอาหาร หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือแช่อยู่ในน้ำ นานๆ ถ้าจำเป็น ควรใส่รองเท้าบูทยาง และใส่ถุงมือยาง จัดบ้านเรือนทั้งในและนอก ตลอดจนสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัย หรือที่ซุกซ่อนของหนู กำจัดหนู และแหล่งที่อยู่อาศัย ของหนู โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่อระบายน้ำ ควรกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกวิธี ภาชนะ ที่ใส่ ขยะ ควรมีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้หนู มาลากขยะไปกินได้
ถึงแม้ว่า จะมีผู้ป่วยด้วยโรค เล็ปโตสไปโรซิสไม่มากนัก แต่โรคนี้ก็เป็นโรคติดต่ ที่มีอันตรายร้ายแรง ถึงชีวิต ได้ เราจึงไม่ควรประมาท ควรระมักระวังดูแล รักษาสุขภาพ และป้องกันตนเอง ตลอดจนบุคคล ในครอบครัว เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคนี้
main |