รศ.น.พ.พิศาล ไม้เรียง
หลายท่านอาจประสบปัญหาเป็นโรคกระเพาะมาแล้ว ความทรมานเวลาปวดท้อง เวลาหิว แต่ไม่สามารถกินอาหารที่ชอบได้ คงฝังใจอยู่ และไม่อยากให้โรคนี้กลับมาเยือนอีก
ความก้าวหน้าของการแพทย์ในปัจจุบัน นอกจากจะทำให้ทราบว่ากรดในกระเพาะเป็น ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะและลำไล้ส่วนต้นแล้ว ยังพบอีกว่ามีเชื้อแบคทีเรีย ชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในเยื่อเมือกของกระเพาะอาหาร มีส่วนสำคัญทำให้เป็นแผลในกระเพาะ มีส่วนสำคัญทำให้รักษาแล้วไม่หายขาด
ความจริงแล้วนายแพทย์ชาวออสเตรเลีย ได้ค้นพบเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะของคนเป็น แผลในกระเพาะมาเกือบห้าสิบปีแล้ว แต่ไม่กี่ปีนี้เองที่วงการแพทย์ยอมรับว่าการรักษา โรคกระเพาะให้หายขาดต้องใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียนี้ด้วย
แบคทีเรียนี้ชื่อว่า เฮอริโคแบคเตอร์ ไพโรไร (Helicobacter pyiori) เชื้อนี้เข้าสู่กระเพาะได้ โดยการกลืนเข้าไปหรือขย้อนเชื้อจากลำไส้มาอยู่ใน กระเพาะอาหาร ปกติในกระเพาะอาหาร จะไม่มีเชื้อแบคทีเรีย) หลังจากเชื้อเข้าสู่ กระเพาะจะใช้หนวดของมันว่ายเข้าไปฝังตัว ในเยื่อเมือกบุผนังกระเพาะ และปล่อยน้ำย่อย และสารพิษมาทำลายและกระตุ้น ให้มีการอักเสบของผนัง กระเพาะอาหาร ด้วยกลไกนี้ ร่วมกับกรดที่หลั่งออกมาจากเซลล์ เยื่อมูกกระเพาะจะช่วยกันทำลายผนังกระเพาะให้มีการอักเสบและเป็นแผลได้ในที่สุด
การรักษาแผลในกระเพาะโดยการใช้ยาลดการหลั่งกรดสามารถทำให้แผลหายได้ แต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียนี้ได้ เชื้อแบคทีเรียจะฝังตัวอยู่และรอเวลาที่จะกำเริบขึ้นมาใหม่ เป็นผลทำให้โรคกระเพาะ กำเริบอีก การรักษาในปัจจุบันจึงมุ่งที่จะฆ่าเชื้อแบคทีเรียนี้ด้วย
อย่างไรก็ตามข้อมูลในประเทศไทย เชื้อแบคทีเรียนี้มีส่วนทำให้เกิดแผลในกระเพาะ ประมาณร้อยละ 50-70 ที่เหลือแผลในกระเพาะอาจเกิดร่วมกับการกินยาแก้ปวด หรือยาชุด การวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะนี้ยังยุ่งมาก ต้องอาศัยการส่องกล้อง แล้วตัดผนังบุกระเพาะชิ้นเล็ก ๆ ไปตรวจหาเชื้อ อีกทั้งค่ายาที่ใช้รักษาแบคทีเรียนี้ ยังคงมีราคาแพง แพทย์ทั่วไปจะใช้ยาฆ่าแบคทีเรียนี้ในผู้ป่วยโรคกระเพาะที่มีโรคกำเริบ บ่อย ๆ เช่น เป็นมากกว่า 3 ครั้งต่อปี เพราะจะใช้จ่ายน้อยกว่าใช้ยารักษาโรคกระเพาะ ทั้งปี
ปัจจุบันมีความพยายามทำวัคซีน เพื่อป้องกันการกลับติดเชื้อ เฮอริโคแบคเตอร์ ไพโรไรใหม่ ดังนั้นหากความพยายามทำวัคซีนนี้สำเร็จในอนาคตและได้วัคซีนให้ทุกคน โรกกระเพาะอาหารอาจไม่เหลืออยู่ให้แพทย์เห็นอีกต่อไป
รศ.น.พ.พิศาล ไม้เรียง
พบวิธีรักษาใหม่ กระเพาะเรื้อรัง ก่อนก่อ'มะเร็ง'
เนื้อความ : ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารที่มีแผล 80% รักษาไม่หายขาด เหตุจากเชื้อแบคทีเรีย H-pylori สาเหตุมะเร็งกระเพาะ แพทย์ค้นพบแนวทางรักษาใหม่ใช้ยาลดการหลั่งกรดร่วม ยาปฏิชีวนะ 2 ตัว
น.พ.อุดม คชินทร ประธานกลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหาร แห่งประเทศไทย กล่าวถึงผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารมีถึง 20-25% ของประชากร 15 ล้านคน แนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยทำงาน เป็นคนไข้ที่มีแผลในกระเพาะประมาณ 10-20% โดยแผลในกระเพาะอาหารเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนอาจ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น มีเลือดออก แผลทะลุ หากรักษาไม่ทันโอกาสตายสูง
สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไข้ที่เป็นแผลในกระเพาะไม่ หายขาด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า H-pylori ที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร และมักเป็นการอักเสบเรื้อรัง จนเกิดเป็นแผลขึ้น เชื้อตัวนี้ยังทำให้เกิดเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ด้วย ที่ผ่านมาการรักษาใช้เพียงยาเคลือบกระเพาะ แต่ไม่หายขาด เพราะเชื้อยังไม่ถูกกำจัด
ปัจจุบันมีการค้นพบแนวทางการรักษาใหม่ โดยใช้ยา 3 ตัว คือ ยาลดการหลั่งกรด 1 ตัว ร่วมกับยาปฏิชีวนะ 2 ตัว ซึ่งเหตุที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะถึง 2 ตัว เพราะเชื้อตัวนี้ดื้อยาง่าย การให้ยาตัวเดียวไม่ได้ผล และเหตุที่ต้องให้ยาลดการหลั่งกรดเพิ่มเพราะยาปฏิ ชีวนะ จะถูกทำลายโดยกรด ทำให้ประสิทธิ ภาพด้อยลง ซึ่งยาลดการหลั่งกรดจะ ทำให้กรดน้อยลง ส่งผลให้ยาปฏิชีวนะทำงานดีขึ้น และกำจัดเชื้อได้ดีขึ้น
อีกประการหนึ่งคือ ยาลดการหลั่งกรดจะช่วยลดการปวดท้องได้ดี ในช่วงที่เชื้อยังไม่ถูกฆ่าตาย เพราะกว่าเชื้อจะถูกฆ่าต้องใช้เวลาเกิน 7 วันขึ้น
ไป หลังจากนั้นคนไข้จะหายเป็นปกติ และเมื่อลองติดตามไป 1 ปี พบว่าโอกาสที่เชื้อจะกลับมาเป็นซ้ำน้อยมาก ไม่ถึง5-10%
......................
กรุงเทพธุรกิจฉบับ วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2542
จากคุณ :k.j (k.j) - [25 ม.ค. 2542 06:53:14]
------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นเพิ่มเติม :อืม น่าสนใจ แต่ถ้ากลับเป็นอีกคงแย่ เพราะมันดื้อยาเก่งมาก
โดยคุณ :KL - [25 ม.ค. 2542 07:09:43]
------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นเพิ่มเติม :คนที่ผมตามหาเธอเป็นโรคกระเพาะด้วยครับ
แถมยังไม่ยอมเชื่อหมอครับ
ไม่กินอาหารเป็นเวล่ำเวลา ผมเป็นห่วงจริงๆ
อะจ๊าก...อะจ๊าก...
โดยคุณ :อะจ๊าก... - [25 ม.ค. 2542 08:24:50]
------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นเพิ่มเติม :antibiotic ที่ว่าให้ตัวไหนดีครับ
โดยคุณ :หมอจุ๊บ - [25 ม.ค. 2542 09:20:07]
------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นเพิ่มเติม :H. Pyroli is not the cause of cancer ????i don"t think so.
it is sensitive to various antibiotics eg metronidazole ,amoxycillin or even
the good old bismuth like"pepto bismal"can kill it.
โดยคุณ :hmmmm... - [25 ม.ค. 2542 15:17:01]
------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นเพิ่มเติม :มีมาตั้งนานแล้วครับ เรียกว่า triple therapy มีหลาย regimen นะเช่น อันนี้แพงที่สุด
1. Metronidazole 400 mg วันละ 3 ครั้ง
2. Amoxycillin 500 mg วันละ 3 ครั้ง
3. Omeprazole 40 mg วันละครั้ง
โดยคุณ : เภสัชกร - [25 ม.ค. 2542 21:20:12]
------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นเพิ่มเติม : triple therapy มีหลากหลายสูตรขึ้นอยู่กับผู้วิจัย ยังไม่มีสูตรไหน 100 %
ราคาแตกต่างกัน แพงทีสุดคงไม่ใช่สูตรที่แนะนำ ถ้าใช้ Clarithromycin น่าจะแพงกว่า
แต่ในช่วงเศรษฐกิจอย่างนี้ ผมว่าควรใช้สูตรยาที่ถูกแต่ได้ผลมากกว่า
เพราะประสิทธิภาพ ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก
และสูตรยา 3 ตัวนี้ไม่ใช่เป็นยาแพทย์สั่งทันทีในผู้ป่วยปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด
เพราะอย่างน้อยควรมีหลักฐานว่าเป็นแผลในกระเพาะอาหารหรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น
จากประวัติอย่างเดียวระบุไม่ได้ว่าเป็นแผลกระเพาะอาหารจริง
อาจต้องมีการตรวจหาก่อนว่า มีเชื้อ H. pylori จริง
เช่นถ้ารักษาไม่หายจะได้รู้ว่าเชื้อดื้อยาหรือไม่ หรือเป็นซ้ำใหม่
ถ้าผู้ป่วยไม่ได้เป็นแผลกระเพาะอาหารก็ไม่มีประโยชน์ที่ใช้ยาสูตรนี้
โดยคุณ :ช่วยตอบ - [27 ม.ค. 2542 19:24:16]
------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นเพิ่มเติม :เราติดเชื้ออยู่ หมอตรวจหาเชื้อด้วยวิธีส่องกล้องเข้าไปในกระเพาะ แล้วตัดเยื่อบุกระเพาะมาตรวจ หมอจ่าย Amoxyl กับ อะไรก็ไม่รู้ ชื่อทางการค้าว่า Klacid แล้วก็มี Omiprazole ด้วยค่ะ 1 อาทิตย์ ตอนนี้ดีขึ้นมากแล้ว แต่ต้องทานยายับยั้งกรด และ Librax อยู่ค่ะ
โดยคุณ :Franc - [28 ม.ค. 2542 22:19:45]
------------------------------------------------------------------------
main |