ท.ญ.ดร.ชมพูนุช จิตรปฏิมา
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนปัจจุบันมีโรคชนิดหนึ่งที่คร่าชีวิตของนักร้องและนักแสดงมีชื่อ ของวงการบันเทิงไปแล้ว 3 คน หนึ่งในจำนวนนั้นคือ "พุ่มพวง ดวงจันทร์" ทำให้คนไทยเริ่มรู้จักกับโรคที่วงการแพทย์เรียกว่า SLE ย่อมาจาก Systemic Lupus Erythematosus สังเกตได้ว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 3 คน เป็นหญิงในวัยสาว โรคลูพัสนี้สามารถถ่ายทอดมายังลูกหลานทางพันธุกรรม (Gene) มีปัจจัยหลายอย่าง ที่สันนิษฐานว่าก่อให้เกิดโรค SLE เช่น ฮอร์โมน เผ่าพันธุ์ และสภาพแวดล้อม
LE (Lupus Erythematosus) เป็นโรคเกี่ยวกับเนื้อเยื่อ (Connective Tissue) และระบบหลอดเลือดมีผลกระทบต่อหลายอวัยวะ เชื่อกันว่า LE ส่วนหนึ่งเกิดจาก การทำหน้าที่ผิดปกติของภูมิคุ้มกันโรค โดยการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Antibodies) สร้างขึ้นมาทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายตนเอง (Autoimmune Reaction) ทำให้ร่างกาย ขาดสมรรถภาพในการกำจัดสารพิษหรือส่วนเกินออกจากเซลล์ SLEเป็นโรคเรื้อรังของหลายระบบที่ไม่ทราบสาเหตุแน่นอนโดยร่างกายมีการผลิต Autoantibodied และ Immune Complex เช่นเดียวกับ LE ลักษณะอาการไม่แน่นอน มีระยะพักไม่แสดงอาการ (Remission) และระยะที่มีอาการรุนแรง(Exacerbation)
90% ของผู้ป่วยเป็นหญิงวัยสาวถึงวัยกลางคน
SLE ในผู้ชาย เด็กและชรา ก็พบแต่เป็นส่วนน้อย
ในประเศสหรัฐอเมริกาผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น LE อยู่ 1.5 ล้านคน ปัจจุบันผู้ที่รอดชีวิตจากโรคนี้มาถึง 10 ปีมีเกือบ 90% และผู้ที่มีชีวิตต่อมาอีก 20 ปี มีเกือบ 70% ทั้งนี้เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ และการค้นพบยาที่มี ประสิทธิภาพสูง แต่กระนั้นผู้ที่เป็นโรค SLE ก็ยังมีอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิต สูงกว่าคนปกติถึง 3 เท่าจากความรุนแรงของโรคและปัญหาซับซ้อนระหว่างการรักษา
โรค Lupus Erythemotosus มีหลายรูปแบบคือ |
|
ผู้ที่เป็นโรค SLE หลอดเลือดฝอยมีการอักเสบจากการทำงานผิดปกติของภูมิคุ้มกันโรค นำไปสู่การทำลายของเซลล์ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบหัวใจ เลือด ผิวหนังและ สมองส่วนกลาง นอกจากนี้ยังมีอาการอักเสบของกระดูกข้อต่อ ช่องท้องและปอด ไตเป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจาก SLE มากที่สุด คนไข้ SLE ประมาณ 22% มีอาการลุกลาม ถึงขั้นไตวายจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต
ลักษณะอาการของ SLE ที่มักจะถูกมองข้ามคือ |
|
การบำบัดอาการของโรค SLE ใช้ Steroid เป็นหลัก บางรายต้องให้ เกล็ดเลือด (Platelet Transfusion) หากมีเลือดออกมาก โดยทั่วไปเลือดจะจับตัว เป็นก้อนอุดตันเส้นเลือด (Thrombosis) และมีผลทำให้แท้งบุตรขณะตั้งครรภ์หาก SLE อยู่ในขั้นรุนแรง
คนที่เป็น SLE จำเป็นต้องรับประทานยา STEROID ไปตลอดชีวิต ผลของ Steroid จะมีการกดประสาท (Adrenal Suppression) ทำให้ไม่สามารถ ทนต่อสภาวะเครียดได้เท่าคนปกติ
การรักษาทางทันตกรรมจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยเป็นประจำ ตรวจเลือด เช็กเวลาเลือดหยุด ก่อนที่จะทำการผ่าตัดในช่องปาก หากมีอาการรุนแรงของโรค SLE จำเป็นต้องเลื่อนกำหนดการรักษาทางทันตกรรมออกไป การนัดเวลาทำฟัน ควรเป็นช่วงเช้า และใช้เวลาสั้น ๆ เพื่อมิให้เกิดความเครียด รวมทั้งการใช้ยาพวก ลดอาการปวดอย่างระวัง เนื่องจากยาประเภท Non-Steroidal Antiinflammatory (NSIAD), Denicillin, sulfonamides มีส่วนทำให้เกิดอาการของ SLE
จากประสบการณ์ของผู้เขียนการรักษาคนที่เป็น SLE ต้องใช้ความละเอียดอ่อน และระมัดระวังมากกว่าคนปกติ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีเลือดออกง่ายติดเชื้อง่าย เนื่องจากต้องรับประทานทั้งยาละลายก้อนเลือดพวก Courmadin ร่วมกับ Steroid อยู่เป็นช่วงเวลานาน
โรค SLE เป็นโรคที่กระทบถึงหลายระบบในร่างกาย ผู้เป็นโรคนี้จำเป็นต้องได้รับ การดูแลเอาใจใส่อย่างดี จากคนในครอบครัวและแพทย์ เพื่อช่วยยืดอายุของผู้ป่วย และทำให้เขาสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
ท.ญ.ดร.ชมพูนุช จิตรปฏิมา
main |