ขุมพลังสร้างสรรค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ มาจากสตรีวัยหมดประจำเดือน ที่ยังมีความสนุกเพลิดเพลินกับชีวิต |
ขอต้อนรับสู่การเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต |
คุณเป็นส่วนหนึ่งของคนรุ่นใหม่ เพียงแค่ 100 ปี ที่ผ่านมา สตรีจำนวนมาก
ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เมื่อพ้นวัย 55 แต่ทุกวันนี้ มีโอกาสที่อายุยืนยาว
ถึง 80 ปีเมื่อคุณก้าวสู่วัย 50 ร่างกายของคุณ จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนใหม่ ของชีวิต คือ
วัยหมดประจำเดือน
ในอดีต สตรีส่วนมากคิดว่า วัยหมดประจำเดือน หมายถึงการ สิ้นสุดของความกระปรี้กระเปร่าและความสามารถในการปฏิบัติงาน ปัจจุบัน ความคิดดังกล่าวกำลังถูกเปลี่ยนแปลงไป ชีวิตในวัย กำลังจะหมด และในวัย หมดประจำเดือนก็ยังพบกับความสำเร็จ ความพึงพอใจ และความสามารถ ในการปฎิบัติงานเช่นเดียวกับเมื่อ 50 ปี แรกของคุณ จุดประสงค์ของเอกสารฉบับนี้คือ การอธิบายให้คุณทราบถึง การก้าวเข้าสู่ การเปลี่ยนแปลง ในวิถีชีวิตอย่างมีความสุข การได้รับทราบ ความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน รวมถึงเรื่องของสุขภาพทั่วๆไป จะทำให้คุณสามารถลดอาการต่างๆ อันมีสาเหตุมาจากการมีระดับฮอร์โมน ต่ำเกินไป ในระหว่างวัยหมดประจำเดือน และคุณจะพบกับความประหลาดใจ ในหลายๆด้าน ด้วยตัวคุณเองว่า ชีวิตคุณเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น |
การหมดประจำเดือนเป็นอย่างไร? |
การหมดประจำเดือน เป็นความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่ง ตามธรรมชาติของ ร่างกาย ในช่วงชีวิตของสตรี มันไม่ใช่โรคภัย ไข้เจ็บ หรือเกิดจาก จิตใต้สำนึก การหมดประจำเดือน อาจกล่าวได้ง่ายๆ คือการ เปลี่ยนแปลง ทางสรีรวิทยา ที่ ทำให้ ฮอร์โมน ที่จำเป็นต่างๆ หมดไป
อาการหมดประจำเดือน จะเริ่มปรากฏขึ้น เมื่อรังไข่ ไม่สามารถผลิต ฮอร์โมน ควบคุม การมีประจำเดือน คือ เอสโตรเจน และ โปรเจสเตโรน คุณจึง ไม่สามารถ ตั้งครรภ์ ได้อีกต่อไป ลำดับการ เปลี่ยนแปลงนี้ อาจกินเวลา นานถึง 4 หรือ 5 ปี และคุณอาจ มีประจำเดือน มาไม่ปกติ ก่อนที่มันจะหยุดไป อย่างสิ้นเชิง เมื่อคุณมีอายุ ระหว่าง 48 ถึง 52 ปี ระยะแรกของการหมดประจำเดือน อาจเริ่มเมื่อคุณมีอายุ ระหว่าง 40 ถึง 45 ปี ซึ่งก็ยัง ไม่สามารถบอกได้ แน่ชัด แม้ว่าจะใช้อายุ ของคุณแม่หรือของ คุณเอง เมื่อตอนเริ่มมีประจำเดือนมาคำนวณก็ตาม อาการต่อไปนี้ คืออาการเริ่มแรก ที่อาจจะหมายความว่า การหมด ประจำเดือน กำลังเกิดขึ้นแล้ว
|
อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้หมดประจำเดือน |
การหมดประจำเดือน เป็นสัญญาณตามธรรมชาติ ที่จะบอกว่า ระบบสืบพันธุ์ ของสตรีนั้น กำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว ธรรมชาติทำเช่นนี้ได้ โดยการลดปริมาณ การสร้าง เอสโตรเจน และโปรเจสเตโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนทางเพศที่สำคัญ สองตัวของสตรี ที่คอยควบคุม ระบบการสืบพันธุ์
เราอาจทำความเข้าใจได้ว่า ทำไมระดับของเอสโตรเจน และโปรเจสเตโรน จึงลดลง เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน โดยมองย้อนกลับไป เมื่อเด็กสาว มีอายุ ระหว่าง 12 ถึง 14 ปี เธอจะมีไข่อยู่ในรังไข่มากพอสำหรับ การสืบพันธุ์ ซึ่งไข่จำนวนนี้นี่เอง ที่เป็นตัวกระตุ้น ให้มีการผลิต เอสโตรเจน และโปรเจสเตโรน ในรังไข่ หากไม่มีไข่แล้ว รังไข่จะไม่สามารถผลิต เอสโตรเจน หรือโปรเจสเตโรน ได้เลย ฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ ไม่เพียงแต่ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางร่างกาย ของเด็กสาวนั้น มันยังเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดประจำเดือน ตามปกติทุกๆเดือน ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ของสตรี ( จากวัยแตกเนื้อสาว ถึงวัยหมดประจำเดือน ) โดยทั่วไปแล้ว ไข่ 1 ใบ จะถูกปล่อยออกมา ทุกๆเดือน ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดการ ปฎิสนธิ ( การตั้งครรภ์ ) เมื่อสตรี มีอายุมากขึ้น จำนวนไข่ที่เหลือ ก็จะลดน้อยลง ทุกที จนกระทั่งเมื่อมีอายุ ระหว่าง 48 ถึง 52 ปี สตรีผู้นั้น ก็จะไม่มีไข่เหลืออยู่ อีกต่อไป เมื่อไม่มีไข่แล้ว รังไข่ก็จะไม่สามารถผลิต เอสโตรเจน หรือโปรเจสเตโรน ได้ ซึ่งก็หมายความว่า นอกจากจะไม่มีโอกาส ตั้งครรภ์ได้ อีกแล้ว ประจำเดือนก็จะหยุดด้วย |
อาการเริ่มต้นของการหมดประจำเดือน |
ถึงแม้คุณจะเคยคิดว่าการที่ประจำเดือนไม่มาอีกแล้ว ก็ดีเหมือนกัน แต่ร่างกาย
ของคุณนั้นจะขาดเอสโตรเจนซึ่งรังไข่ของคุณเคยผลิตออกมาให้ร่างกายที่ขาด
เอสโตรเจน จะส่งสัญญาณให้คุณทราบโดยแสดงอาการต่างๆดังนี้
แม้ว่าประจำเดือนยังไม่หมดไปอย่างถาวร สตรีร้อยละ 80 ก็จะมีอาการดังกล่าว เนื่องจากร่างกายได้รับเอสโตรเจนน้อยลง |
อาการในระยะต่อไป เมื่อมี เอสโตรเจนไม่พอเพียง |
นอกจากอาการเริ่มต้น ที่ร่างกายของคุณ จะแสดงออกมา เนื่องจากการ หมดประจะเดือนแล้วยังมีอาการที่ค่อนข้างแปลกเกิดขึ้นตามมาในระยะเวลา เดียวกัน ร่างกายของคุณ จะไม่รู้สึกต่อผลของมันทันทีทันใด แต่ในช่วงยาว ออกไปแล้ว อาจมีผลกระทบร้ายแรง |
โรคกระดูกผุ |
กระดูกผุ เป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่ทำให้กระดูกกลวง และลดความแข็งแรงลงไป จึงทำให้อัตราการเสี่ยงต่อการหักของกระดูกมีมากขึ้น และลำบากในการดำรง ชีวิตประจำวัน ในระยะยาวแล้ว สตรีเหล่านี้จะมีอาการป่วยเรื้อรัง 1 ใน 4 ของ ผู้ป่วยที่จะต้อง ทนทุกข์ทรมาน จากกระดูกหัก เมื่อมีอายุ 60 ปี |
โอกาสในการเป็นโรคหัวใจ เพิ่มสูงขึ้น |
ก่อนจะถึงวัยหมดประจำเดือน สตรีมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เลี้ยงหัวใจน้อยกว่าบุรุษมาก เมื่อระดับของเอสโตรเจนเริ่มลดต่ำลง เนื่องจาก การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โอกาสในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เลี้ยงหัวใจในสตรี จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่จากการศึกษาได้แสดงว่า เอสโตรเจนช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของไขมันในเส้นเลือด ที่เป็น สาเหตุ ให้เกิดโรคหัวใจได้ |
คุณจะช่วยตัวคุณเองในวัยหมดประจำเดือนได้อย่างไร? |
มีข้อปฎิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยที่คุณควรปฎิบัติตามตลอดชั่วอายุขัยของ
คุณเองอยู่แล้ว แต่ข้อปฎิบัติเหล่านี้จะยิ่งเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในระหว่าง
วัยหมดประจำเดือน
|
การรักษาโดยการให้ฮอร์โมนทดแทน คืออะไร? |
กว่า 40 ปีมาแล้ว การรักษาโดยการให้ฮอร์โมนทดแทน ได้ช่วยให้สตรีวัย
หมดประจำเดือน ดำรงชีวิตในช่วงดังกล่าว ได้อย่างปกติสุข การรักษาแบบนี้
มาจากหลักง่ายๆคือ การให้ฮอร์โมน ซึ่งจะให้เป็นแบบชนิดเม็ด เพื่อเข้าไป
ทดแทน เอสโตรเจน และโปรเจสเตโรน ซึ่งรังไข่ไม่สามารถผลิตได้อีกแล้ว
ในการรักษา แพทย์จะให้ยาเอสโตรเจนรับประทานอย่างสม่ำเสมอ โดยให้ยาโปรเจสเตโรนร่วมไปด้วย |
ฮอร์โมนทดแทน มีประโยชน์อย่างไร |
เอสโตรเจน ที่รับประทาน เป็นชนิดสกัดจากธรรมชาติ(conjugated
estrogen) ซึ่งต้องรับประทานอย่างสม่ำเสมอ โดยรับประทานร่วมกับ
โปรเจสเตโรน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้จัดให้คุณ
การรับประทาน เอสโตรเจนที่สกัดจากธรรมชาติ (conjugated estrogen) ร่วมกับโปรเจสเตโรน จะช่วยรักษาอาการข้างเคียงที่มีสาเหตุ มาจากการ หมดประจำเดือน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น อาการออกร้อน วูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน จิตใจหดหู่ กระดูกผุ และปริมาณไขมัน ในเส้นเลือด ที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจ |
ฮอร์โมนทดแทน มีความปลอดภัยแค่ไหน ? |
ถ้าอยู่ในความดูแลของแพทย์ คุณจะปลอดภัยเสมอ อย่างไรก็ตาม
ก็ยังมีคำถาม ที่สงสัยเกี่ยวกับตัวเอสโตรเจนที่สกัดจากธรรมชาติ
(conjugated estrogen) ว่า มีความปลอดภัยแค่ไหน เอสโตรเจน
มีหลายชนิด แต่ตัวที่ใช้กันมาที่สุด ในคลินิคก็คือ เอสโตรเจน
ที่สกัดจากธรรมชาติ (conjugated estrogen) ตัวนี้แหละ ซึ่งแพทย์
ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาฮอร์โมนทดแทน
ในอดีต มีการใช้ เอสโตรเจนที่สกัดจากธรรมชาติ (conjugated estrogen) เพียวๆเพียงตัวเดียวในปริมาณสูงๆ ในการรักษา ซึ่งก็ทำให้เกิดปัญหากับสตรี บางคน รวมทั้งเกิดปํญหา ลิ่มเลือด ปัญหาความดันโลหิตสูง และเกิดมะเร็ง ในเยื่อบุโพรงมดลูก แต่ใน ปัจจุบันพบว่า ถ้าให้ เอสโตรเจนที่สกัดจากธรรมชาติ (conjugated estrogen) ในปริมาณน้อยๆ ร่วมกับการให้ โปรเจสเตโรน จะทำให้ ความเสี่ยงดังกล่าวลดลง และ อัตราเสี่ยงจากมะเร็ง ในเยื่อบุโพรงมดลูก น้อยลงจนเกือบเป็นศูนย์ อย่างไรก็ตาม เอสโตรเจนที่สกัดจากธรรมชาติ (conjugated estrogen) ก็มีอาการข้างเคียงได้ เช่น ทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน บวม คัดเต้านม ปวดและเวียนศีรษะ เป็นต้น จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องดูแลโดยแพทย์ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาดของยาให้คุณ |
วิธีรับประทาน |
สตรีแต่ละคน มีความต้องการเอสโตรเจน และ/หรือ โปรเจสเตโรน ในปริมาณ ที่ไม่เท่ากัน
แพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาดยาให้คุณ แต่อย่างไรก็ตาม การรับประทาน เอสโตรเจนนั้น
จะต้องรับประทานทั้งเดือน โดยรับประทานวันละเม็ด ส่วน โปรเจสโตรเจนนั้น แพทย์จะให้
รับประทานร่วม ใน 10-14 วันสุดท้ายของรอบ
ถ้าหากเพียงต้องการรักษาอาการหมดประจำเดือนคุณสามารถรับประทานได้ นานเป็นปีๆ ถึง 5 ปี หรือมากกว่า นั้น แต่ถ้าต้องการป้องกันกระดูกผุ และป้องกัน โรคหัวใจด้วย คุณก็คงต้องรับประทานไปตลอดชีวิต |
คัดลอกส่วนหนึ่งมาจากหนังสือเสริมความรู้ของ |
บริษัท ไวแอท-เอเยิร์สท์(ประเทศไทย) จำกัด |
ชั้น 23 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ 191 ถนนสีลม กรุงเทพ 10500 |
w WYETH-AYERST |
main |