นิ่มนุช ประสานทอง
ในชีวิตของคนเรานั้น คนทุกคนต่างต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทุกเวลานาที ไม่มีใครสามารถดำรงอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดเวลา คนทุกคนต่างหนี้ไม่พ้นกฎเกณฑ์นี้ ฉะนั้นการได้รับรู้และทราบความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับตน ก็เป็นการเตรียมพร้อม ที่จะรับสถานการณ์และสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างดี ทำให้เรื่องที่ยุ่งยากเป็นเรื่องที่ง่าย
ในหญิงวัยกลางคนก็เช่นเดียวกัน ภาวะที่เรียกว่าวิกฤติเป็นช่วงที่กำลังจะหมดระดู หรือที่คนโบราณเรียกกันว่า "เลือดจะไปลมจะมา" อาการนี้จะเกิดได้ตั้งแต่อายุช่วง 40 ปีขึ้นไป แล้วแต่บุคคลไม่แน่นอน ซึ่งผลกระทบนั้นมีมากมายทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์
เพราะการหมดระดู เป็นอาการที่ร่างกายจะหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้มีความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น อวัยวะเพศมีขนาดเล็กลง ผนังช่องคลอดบางลง เนื้อเยื่อหดตัว มดลูกและกระบังลมหย่อนตัวลง อาจเกิดความผิดปกติ ของระบบขับถ่าย ในด้านรูปลักษณ์ภายนอกจะทำให้ผิวหนังเกิดความเหี่ยวย่น มีริ้วรอย มีการตกกระ อาจมีอาการคันตามผิวหนัง หรือรู้สึกเหมือนมีแมลงลงมาไต่ตามเนื้อตามตัว สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้มีผลกระทบต่อจิตใจของหญิงวัยกลางคนเป็นอย่างมาก เพราะนั้นแสดงว่าความแก่ได้เข้ามาเยือน ทำให้หญิงวัยกลางคนบางคนเกิดความรู้สึก ตกใจ กับสภาพความเปลี่ยนแปลงของตนและไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ก่อให้เกิดความเครียดและความกดดันทางอารมณ์อย่างรุนแรง
อาการที่เกิดจะพบได้ เช่น มีอาการร้อนซู่ซ่าตามเนื้อตัว ผิวหนังที่บริเวณใบหน้า และลำตัวแดง ทั้งนี้เพราะเส้นเลือดที่บริเวณผิวหนังมีการขยายตัว บางคนเป็นบ่อย ๆ ทำให้เกิดความรู้สึกรำคาญมาก นอกจากนี้ยังอาจมีอาการหัวใจเต้นรัวเร็วอยู่ตลอดเวลา หรือมีเหงื่อออกมากทั้ง ๆ ที่อากาศไม่ร้อน หรือแม้กระทั่งนั้งอยู่ในห้องแอร์ก็เกิดอาการ เช่นนี้ได้ บางคนอาจมีอาการของการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีความรู้สึก และความต้องการทางเพศลดลง
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจ ในบางคนอาจเกิดปัญหา ทางจิตใจได้ เนื่องจากสูญเสียความภาคภูมิใจในความเป็นหญิงของตน สัญลักษณ์แห่งความเป็นหญิง ความสวยงาม ภาพลักษณ์ที่ดีงามของตนกำลังจะเสื่อมไป จนทำให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจต่าง ๆ ดังนี้
|
นี้เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้กับหญิงวัยหมดระดู แต่ก็ไม่ทุกคน บาง
คนมาก บางคนน้อย การได้ทราบความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดล่วงหน้าก็จะได้เป็นการเตรียมใจ และคอยระมัดระวังจิตใจตนเองก็จะเป็นการช่วยให้ความรุนแรงของปัญหาน้อยลง อีกทั้งสามีและบุตรควรจะได้เข้าใจ
และยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้น ในระหว่างที่อยู่ ในระหว่างช่วงวัยนี้
ถ้าท่านเป็นผู้หนึ่งที่กำลังเกิดปัญหานี้และไม่สามารถที่จะควบคุมอารมณ์หรือมี ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ท่านควรที่จะพบและปรึกษาแพทย์ หรือจิตแพทย์จะดีกว่าค่ะ
นิ่มนุช ประสานทอง
กรมสุขภาพจิต
main |