สุพัตรา สุภาพ
เด็กเล็ก ๆ ตั้งแต่ 3-4 ขวบ จนถึง 7-8 ขวบ ไม่น้อยจะมีเพื่อนในจิตนาการที่ไม่มีตัวตน แต่แกจะชอบรักและพูดด้วย พ่อแม่หลายคนเป็นห่วงว่าเพื่อนไม่มีตัวตนนี้ จะทำให้ ลูกเพี้ยนไหม เช่น เด็กหญิงวัย 3 ขวบ คนหนึ่งบอกแม่ว่า แกมีเพื่อนนอนอยู่ที่ห้อง
เด็กชายอายุ 8 ขวบ เล่าว่าแกมีเพื่อนดูโทรทัศน์ด้วย พ่อแม่จึงกลัวว่าลูกจะคบกันเพื่อน ๆ เหมือนคนอื่นไม่ได้เพราะมัวแต่สนใจเพื่อนที่ไม่มีตัวตน แล้วโตขึ้นอาจมีปัญหาทางจิต หรือไม่ หรือลูกจะต้องอยู่ในความฝันกับเพื่อนในจิตนาการอยู่เรื่อย
เรื่องนี้ "นายแพทย์เทอรี่ บราเซลตัน" ผู้เชี่ยวชาญเด็กให้ความเห็นว่า พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ต้องตกใจ ถ้าเด็กจะหมกหมุ่นกับเพื่อนในจิตนาการก็อย่าไปห้าม นี่เป็นแค่การพัฒนาการหนึ่งของเด็กเท่านั้น
นายแพทย์บราเซลตัน เน้นว่าเพื่อนไม่มีตัวตนให้อะไรบางอย่างแก่เด็ก เช่น
ศาสตราจารย์ท่านนี้กับภรรยามีลูกกรอกชื่อ "โชคชัย" ท่านจะเรียกลูกโชคชัยตลอด และมีที่ให้โชคชัยอยู่ โชคชัยเป็นรูปปั้นเด็กเล็ก ๆ ทุกครั้งที่เข้าบ้านหรือออกจากบ้าน ท่านจะบอกโชคชัยว่า
ส่วนท่านและภรรยาพร่ำสอนลูกชายแต่เล็กว่า มีพี่โชคชัย ลูกท่านก็เรียกพี่โชคชัย มีการเล่นด้วยกันมาแต่เด็กจนโต ไปไหนก็ไปด้วย ทั้งท่าน ทั้งลูก และภรรยาบอกผู้เขียนว่า ได้ยินเสียงโชคชัยวิ่งเล่น ส่งเสียงหัวเราะ
สิ่งที่ศาสตราจารย์ท่านนี้รวมตลอดทั้งภรรยา และลูกเชื่อมาจนทุกวันนี้ ตอนนี้ลูกท่านก็คงจบแพทย์แล้ว ก็ยังคงมีพี่โชคชัยอยู่ข้างกายตลอด ตัวอย่างของ ศาสตราจารย์ดร. ท่านนี้พอจะบ่งบอกได้ว่า เพื่อนในจิตนาการ มีในทุกเพศทุกวัย เป็นการหากำลังใจ หาสิ่งยึดเหนี่ยวและหากคิดว่า สิ่งนั้นให้คุณก็ยิ่งยึดมั่นถือมั่น
เช่น เชื่อว่าพี่โชคชัยช่วยให้สอบไล่ได้ ก็ยิ่งมีมานะ มีกำลังใจดูหนังสือ หรือเวลาไปสอบก็จะสอบอย่างมั่นใจ เด็กเล็ก ๆ ก็เช่นกัน แกอยากมีเพื่อนในจิตนาการ ที่แกจะพูด จะคุย จะเล่นเมื่อไรก็ได้ แถมมีกี่คนก็ได้ อายุเท่าไรก็ได้ จะเล็กกว่าหรือโตกว่า ก็ตามใจ พอใจ ไม่พอใจ ก็ไม่คบไม่พูดด้วยได้ หรือถ้าเบื่อกันจริง ๆ ก็อาจไล่ออกจากบ้าน หรือเอาไปเก็บในลิ้นชัก ในตู้ได้ (ถ้าเป็นเด็กเล็ก ๆ )
กรรมวิธีการมีเพื่อนสมมติ จึงไม่ทำให้เด็กเสียอะไร นอกจากให้แกได้ทำในสิ่งที่แกพอใจ อย่างน้อยทำให้หัวใจน้อย ๆ ของแกได้อบอุ่นใจที่แกก็มีเพื่อน ส่วนจะมีเพื่อนจิตนาการ กี่ปีก็แล้วแต่ เด็กคนนั้นจะมีสิ่งอื่นมาเบนความสนใจแก จนสามารถพ้นจาก เพื่อนจิตนาการ ได้ หรือจนกระทั่ง วันหนึ่งที่แกรู้สึกว่าเพื่อนจิตนาการสู้เพื่อนจริง ๆ ที่สามารถสัมผัส หรือเล่นด้วยไม่ได้แกอาจไปคบเพื่อนรุ่นเดียวกัน
พ่อแม่จะทำอย่างไรกับเพื่อนจินตนาการ
พ่อแม่อย่าไปห้าม หรือว่าเพื่อนจินตนาการของลูก เพราะเท่ากับผลักดันเด็ก ให้พ้นไปจากตัว ซึ่งทำให้แกอ้างว้าง ทางที่ดีพ่อแม่ควรจะทำตัวเป็นพวกเดียวกับลูก หากลูกบอกว่า
หากลูกมาปรึกษาเรื่องเพื่อนในจิตนาการ เราต้องตั้งใจฟังแล้วอาจจะถามว่า เรื่องเป็นอย่างไร เช่น
จินตนาการคือ การชดเชยอารมณ์ที่อยากได้อยากฝัน แม้ในชีวิตจริงจะมีไม่ได้ เด็กก็อยาก ให้ฝันเป็นจริง เข้าทำนองผู้ใหญ่อาจฝันหรือแต่งเรื่องให้ตัวเองสบายใจ แต่เด็กเล็กๆ แต่งเรื่องเองยาก เลยแต่งเรื่องมีเพื่อนสมมติ ซึ่งเพื่อนช่วยได้ทุกอย่าง แถมอยู่กับแก ได้ตลอดเวลา
การมีเพื่อนในจิตนาการจึงมีแต่ทำให้ลูกเราได้ก้าวสู่ชีวิตที่แกอยากได้ อยากเห็น อยากเป็น ซึ่งพอถึงจุด ๆ หนึ่งที่แกคิดได้ หรือโตพอ แกก็จะหายไปเองนั่นแหละ
สุพัตรา สุภาพ
main |