คุณหญิงเต็มสิริ บุณยสิงห์
มีคำไทยแท้ ๆ อยู่คำหนึ่ง นาน ๆ จะได้ยินพูดกันเสียที คือคำว่า "แพลง" คำนี้ไม่ค่อยได้ใช้คู่กับคำอื่น ที่พอจะได้ยินก็คือ "เท้าแพลง" ไม่ใช้กับมือ แขน ขา คอ แต่จะใช้กับ "เท้า" แล้วก็แปลกเวลาใช้จะพูดว่า "เท้าแพลง" ซึ่งฟังดูแล้วสุภาพ ไม่เคยได้ยินว่า "ตีนแพลง" มีแต่ "ตีนพลิก"
"เท้าแพลง" นั้นเห็นได้ด้วยตา ปกปิดยาก เจ้าของเท้าจะเดินโขยกเขยก บางทีเดินไป ขมวดคิ้วนิ่วหน้าไป ผู้หญิงบางที "ซี้ด" ปากไปด้วย ก็เท้านั้นแบกน้ำหนักเจ้าของไว้ทั้งร่าง หากเท้าไม่สมบูรณ์มักจะทำให้เกิดเจ็บปวด เจ้าของเท้าบางคนถึงกับเดินโขยกเขยก ไปก้าวหนึ่งหยุดซี้ดปากเสียทีหนึ่ง คงเป็นเรื่องของจิตวิทยา ได้โอดโอย ครวญคราง ซี้ดปากแล้วดูอาการว่าเจ็บปวดเหล่านั้นจะบรรเทาไปได้มาก ยิ่งผู้หญิงจะโอดโอยมากกว่า ผู้ชาย ความเจ็บปวดอาจจะเท่ากัน แต่ผู้ชายจะทรหดกว่า คล้าย ๆ กับว่าการโอดโอยนั้น เป็นสิทธิ์ของผู้หญิง ผู้ชายทำมั่งดูจะเสียเชิงชายไปได้
อาการ "แพลง" นั้นเกิดขึ้นได้ทั้งข้อมือข้อเท้า มีอาการปวดมากบ้างน้อยบ้าง หากปวดมาก มักมีอาการบวม บวมมากปวดมากควรไปหาหมอ ไม่เป็นเฉพาะที่กล้ามเนื้อ จะปวดไปถึงกระดูก หากปวดที่ข้อก็ยังพอทำเนา หากกระดูกท่อนยาว ๆ เช่นแขนขา ปวดมากเอามือจับดู จะพบว่ากระดูกคงหัก คลำรอยหักเห็นได้ชัด
กระดูกถึงกับหักนั้น หากเป็นกระดูกท่อนยาวเช่น แขนขา จะคลำเห็นได้โดยง่าย รีบพาไปหาหมอเสียทันกระดูกจะประสานกันตามเดิม หากปล่อยตรงที่หักไว้นานจะไม่มีวันรักษาให้กลับคืนอย่างเดิมได้เลย
ลองสังเกตคนไข้เท้าแพลงดูเถิด สาเหตุมีอยู่ไม่กี่สาเหตุดอก ที่ปรากฏมาก็คือ
น่าจะเป็นเพราะการปรับท่าทรงตัวของเด็กและวัยรุ่นนั้นมีความรวดเร็วกว่า ผู้สูงอุายควรจะลดความว่องไวของอากัปกิริยาให้สอดคล้องกับอายุ เคลื่อนไหวให้เหมาะ ไม่ใช่เพียงแต่ว่าเท้าจะไม่แพลงเท่านั้น ยังมีความสง่ากระฉับกระเฉงสมอายุ
การออกกำลังกายของคนกลางคนนั้น หากไม่มีเวลาพอจะไปออกกำลังโดยใช้เครื่องมือ อย่างที่เขาเอาออกมาแสดงโทรทัศน์บ่อย ๆ คงทำสม่ำเสมอไม่ได้ มีผู้คุ้นเคยคนหนึ่ง เป็นผู้หญิงอายุ 70 กว่านิดหน่อยเล่าว่า "จะเอาเวลาที่ไหนไปบริหารร่างกายอย่างในโทรทัศน์ ก็อาศัยเดินไปตลาดเอง นอกจากไม่โดนเม้มแล้ว ยังได้ออกกำลัง แต่จะให้ดีไม่ต้องเอาลูกจ้าง ไปถือของให้นะ หิ้วเองถือเอง เคยปวดเข่าก็หายปวด เวลาจะไปวัดก็เลือกวัดไม่ไกลบ้าน เดินไปกลับ วิเศษจริง ๆ เลยคุณเอ๋ย เพิ่งตระหนักว่าธรรมชาติสร้างขาไว้ให้เดิน ไม่เดินมันก็เสียใจ ปวดเข่ามั่งนั่งแล้วลุกไม่ได้มั่ง ขอย้ำอีกทีว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องกฎแห่งกรรม เหมือนกันแหละ
จำได้ว่าคราวหนึ่งมีคุณหมอมาออกโทรทัศน์ พูดถึงอายุของคนไทย เล่าว่าคณะแพทย์กลุ่มหนึ่ง อยากได้ตัวเลขของคนไทยที่อายุยืนเกิน 100 ปี ปรากฏว่าคนที่อายุยืนที่สุดเท่าที่พบขณะนั้นถึง 16 คน จึงพากันไปสัมภาษณ์ถึงบ้าน เป็นผู้หญิงทั้งหมด ผู้ชายที่ว่าแข็งแรงกว่าผู้หญิงนั้น ไม่ติดกลุ่ม เลยสักคนเดียว คนที่มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ก็ไม่มี จึงประชุมหาเหตุผล ของการประชุมออกมาว่า
1. เรื่องอาหาร คนชนบทจะรับประทานผักพื้นและมักจะเป็นผักที่ขึ้นในน้ำเช่นผักบุ้ง ผักกระเฉด ใบบัวอ่อน สายบัว บัวบก มะเขือ ฯลฯ ไม่มีการใช่ปุ๋ยหมัก เก็บผักทีจะพอกินที ไม่ต้องเก็บไว้จนใบเหี่ยว จึงได้สารอาหารสมบูรณ์กว่า
เนื้อสัตว์ก็กินเนื้อปลา ย่อยง่าย จึงทำให้ได้โปรตีน บางทีใช้แหหรือสวิงหรือข้องจับ จับที
จะกินที เหลือก็จะตากแห้ง ทำปลาร้าปลาเจ่า ได้วิตามินจากผักที่จิ้มอีก
2.ผู้หญิงในชนบท หากอายุมากขึ้น ลูกเต้าโตหากินได้ จะเข้าวัด ไปวัดก็เดินไป เดินกลับ พูดคุยในกรอบของศีลธรรมสุขภาพจิตจึงดี ขาจึงแข็งแรง เท้าไม่แพลงง่าย ๆ
3.อากาศปลอดโปร่ง ไม่มีปัญหาเรื่องมลภาวะระบบการเดินหายใจจึงไม่ทำพิษ
ไม่มี
ปัญหาเกี่ยวกับโรคปอดและทางเดินหายใจ แม้แต่เป็นหวัดก็ไม่ค่อยจะเป็นกัน
4. วัฒนธรรมครอบครัวและวัฒนธรรมในชุมชน เอื้อให้สามัคคีทำอะไรต้องช่วยกันคนละไม้ละมือ ในที่สุดจะเป็นสังคมไม่ดูดาย การลงแขกเวลาเกี่ยวข้าวนั้น จะผลัดเปลี่ยนเวียนไปช่วยกันจึงไม่มีค่าจ้าง แต่ปัจจุบันนี้การจ้างแรงงานตอนเก็บเกี่ยวจะขยายตัวมากขึ้น
การปลูกข้าวเดิมจะพอกินและเหลือขาย ปัจจุบันนี้พ่อแม่มักตัดที่นาแบ่งให้ลูก จึงไม่พอกิน อย่าว่าแต่จะเหลือขายเลยคนปลูกยังไม่พอกิน จึงพากันทิ้งบ้านออกหางานรับจ้าง และทำงานตามโรงงาน หนีอดตายจะบ่ายหน้าเข้ากรุงเทพฯ
เรื่องเท้าแพลงในปัจจุบันนี้จะได้ยินน้อยลง ไม่ต้องผจญภัยเดินตามคันนา ที่ทั้งขรุขระและแคบ
คุณหญิงเต็มสิริ บุณยสิงห์
main |