มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากข่าวสารด้านสุขภาพและชีวิต ศูนย์วิจัย มี้ด จอนห์สัน สหรัฐอเมริกา เล่มที่ 3 ฉบับที่ 2 1998 ]

Nucleotides ในอาหารทารก

ศูนย์วิจัย มี้ด จอนห์สัน


น้ำนมมารดาซึ่งถือว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุดนั้น มีปริมาณของ nucleotides มากกว่านมวัว จึงได้มีการเสริม nucleotides ในนมผสมกันแพร่หลายขึ้น YV Y H YU, Director ของ NICU จาก Monash Medical Center, Victoria ใน Australia ได้ศึกษาและรวบรวมผลการวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับ nucleotides ในนมผสม ว่ามีผลต่อทารกอย่างไร

Nucleotides ถูกสังเคราะห์ขึ้นในเซล แม้ไม่นับเป็นสารอาหารที่ จำเป็น แต่มีสมมุติฐานว่า nucleotides เป็นสารอาหารชนิด semi-essential คือมีความจำเป็นในบางสถานการณ์ เชื่อกันว่า nucleotides ในอาหารที่มนุษย์รับประทานเข้าไป จะช่วยให้ร่างกาย ไม่ต้องใช้พลังงาน เพื่อการสังเคราะห์ มีประโยชน์ต่อเยื่อบุผิวของทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และการเจริญเติบโต

ผลต่อระบบทางเดินอาหาร
การทดลองให้หนูกินอาหารที่มี nucleotides แม้จะไม่ช่วยให้มีน้ำหนักตัว ขนาดของ ทางเดินอาหาร และน้ำย่อย disaccharidase ในลำไส้เพิ่มขึ้น แต่ก็พบว่ามี DNA และโปรตีน ในลำไส้เพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน และ villi ในลำไส้ส่วนต้นสูงขึ้น น้ำย่อย maltase มีปริมาณมากขึ้นในทุกส่วนของลำไส้ ส่วนน้ำย่อย sucrase และ lactase มีปริมาณเพิ่มขึ้นที่ลำไส้ส่วนกลางและส่วนปลาย

ผลต่อจุลินทรีย์ในลำไส้
Bifidobacteria ซึ่งมีอยู่มากในลำไส้ของทารกที่ดื่มนมมารดา ช่วยให้อุจจาระเป็นกรด และป้องกันการเพิ่มจำนวนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค การศึกษาพบว่าเชื้อ bifidobacteria เจริญเติบโตดีขึ้นเมื่อเสริม nucleotides ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ การศึกษาหนึ่ง นับจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ในอุจจาระ (เช่น aerobe, anaerobe, lactobacilli, bifidobacteria, enterobacteria, enterococci, clostidia, staphylococci) ของทารกสามกลุ่ม แบ่งเป็นทารกที่ได้รับน้ำนมมารดา นมผสมที่เสริม nucleotides และนมผสมที่ไม่ได้เสริม nucleotides พบว่าจำนวนเชื้อแต่ละชนิดไม่แตกต่างกัน

แต่หากพิจารณาสัดส่วนของเชื้อ lactobacilli, bifidobacteria, enterobacteria เปรียบเทียบกัน จะพบว่า กลุ่มที่ได้รับนมผสม ทั้งที่เสริมและไม่เสริม nucleotides มี lactobacilli สัดส่วนสูงกว่าในกลุ่มที่รับนมมารดา แต่มี bifidobacteria ในสัดส่วนที่น้อยกว่า

ซึ่งกลุ่มที่ได้รับนมผสมที่เสริม nucleotides มีเชื้อ bifidobacteria มากกว่ากลุ่มที่รับนมผสม ซึ่งไม่ได้เสริม nucleotides ส่วนเชื้อ enterococci พบในกลุ่มที่รับนมผสมมากกว่ากลุ่มที่รับ น้ำนมมารดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ไม่ได้เสริม nucleotides มีเชื้อ enterococci ในสัดส่วนสูงที่สุด

การศึกษาดังกล่าวอาจสรุปว่า ทารกที่ได้รับนมผสมที่เสริม nucleotides มีจุลินทรีย์ในลำไส้ ไม่แตกต่างจากทารกที่ได้รับนมผสมที่ไม่เสริม nucleotides และการเสริม nucleotides ในนมผสมไม่ช่วยให้ลำไส้มีจุลินทรีย์เหมือนทารกที่ได้รับน้ำนมมารดา แต่การศึกษาดังกล่าวมีข้อจำกัด เนื่องจากมิได้เป็นการสุ่มตัวอย่าง จำนวนทารกที่ศึกษา แต่ละกลุ่มน้อยเกินไป และยังขาดข้อมูลของทารกที่ป่วย ทำให้ต้องแปลผล ด้วยความระมัดระวัง และรอผลการศึกษาเพิ่มเติม

ผลต่อภูมิต้านทานการติดเชื้อ
ในทำนองเดียวกับการศึกษาที่กล่าวมาแล้ว แบ่งทารกเป็นสามกลุ่ม ให้นมมารดา นมผสมที่เสริม และไม่ได้เสริม nucleotides เพื่อศึกษาถึงผลต่อ natural killer cell activity และการ สร้าง interleukin-2 ของ peripheral mononuclear cells ที่ 2 และ 4 เดือน รวมทั้งอัตราการเกิดโรคติดเชื้อ และความรุนแรงในช่วง 4 เดือน มีทารกเข้ารับการศึกษาแบบสุ่มนี้ จำนวน 9, 13 และ 15 คน ในแต่ละกลุ่ม พบว่าทั้งสามกลุ่ม อัตราการเจริญเติบโต ผลการตรวจเลือดและค่า biochemistry ไม่ต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับนสผสม กลุ่มที่ได้รับ nucleotides เสริมมี natural killer cell activity และ interleukin-2 ที่ 2 เดือน มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ nucleotides เสริม แต่ไม่มีความแตกต่างกันที่ 4 เดือน ส่วนการติดเชื้อไม่ต่างกัน เนื่องจากการศึกษาจำกัด เพียงช่วงแรกเกิดถึง 4 เดือน และจำนวนทารกทั้งหมด มีจำนวนจำกัด จึงไม่สามารถขยายผล ไปใช้กับเด็กวัยอื่น ๆ ได้

ภาวะท้องเสีย
การศึกษาในหนูทดลองพบว่า nucleotides มีบทบาทต่อการ regenerate ของเยื่อบุลำไส้ จึงได้มีการศึกษากับทารกในชนบทที่สภาพแวดล้อมไม่ดี ในประเทศชิลี จำนวนสองกลุ่ม กลุ่มละ 194 คน แบ่งให้รับนมผสมที่เสริม nucleotides กลุ่มหนึ่ง และไม่เสริมอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า น้ำหนักตัว ความยาว จำนวนครั้ง หรือจำนวนวันรวม ของการเกิดท้องเสีย รวมทั้งการเจ็บป่วยอื่น ๆ ไม่ต่างกัน การศึกษามีข้อจำกัด ที่ทารกร้อยละ 26 ออกจากการศึกษาก่อนครบกำหนด ด้วยเหตุผลต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องลำบากในการแปลผลว่า nucleotides ไม่มีผลต่อภาวะท้องเสีย และการป้องกันการติดเชื้อ

การเจริญเติบโตของทารกที่มีปัญหา IUGR ที่รุนแรง
การเสริม nucleotides ให้ทารกที่คลอดครบกำหนด และมีสุขภาพดีอยู่แล้ว ไม่ก่อให้เกิดผลดี แต่การศึกษาในระยะหลัง พบว่า ทารกที่คลอดครบกำหนด แต่มีภาวะ IUGR ที่รุนแรง การเสริม nucleotides ช่วยให้ทารกเจริญเติบโตทันเกณฑ์ได้เร็วขึ้น

บทความหนึ่งตีพิมพ์ในปี 1997 กล่าวว่า เรายังไม่ทราบหน้าที่หรือประโยชน์ของ nucleotides ในน้ำนมมารดา และการเสริม nucleotides ในนมผสม เป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่มีข้อมูลที่ชี้นำว่า nucleotides ในอาหาร อาจมีผลทางชีววิทยา และอาจมีประโยชน์ แม้ว่ายังไม่มีข้อพิสูจน์ในขณะนี้ ปัจจุบันมีนมผงที่เสริม nucleotides มากมายหลายยี่ห้อ ทั้งในยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ บางแห่งมีมานานกว่า 33 ปีด้วยซ้ำ และยังไม่พบรายงานถึงผลเสีย หรือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ถือได้ว่าการเสริม nucleotides ในอาหารสำหรับทารก เป็นสิ่งที่ค่อนข้างปลอดภัยหากไม่เกินระดับที่ Scientific Committee สำหรับอาหารของ European Commission อนุญาติไว้ แต่การเสริม nucleotides ในนมผสมให้สูง กว่าปริมาณที่พบในนมมารดา เป็นเรื่องที่ยังต้องรอข้อมูลเพิ่มเติม

( Ref; ) Singapore Med J 1998; 39: 145-50

ศูนย์วิจัย มี้ด จอนห์สัน สหรัฐอเมริกา


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1