พญ.วิญญารัตน์ ตันศิริ
ถ้าท่านเกิดมารวย ก็ถือเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งของท่าน หรือถ้าท่านเป็นผู้มีเกียรติ อยู่ในแวดวงสังคมชั้นสูงไฮโซ (แต่ไม่ใช่โลว์มันนี่) ก็ถือเป็นบุญวาสนาเก่ามาแต่ ชาติปางก่อน เมื่อเกิดแต่งงานแต่งการไปมีบุตรหลานอาจไม่ค่อยได้มีเวลาเลี้ยงดูลูกกัน สักเท่าไร แต่ก็ไม่เป็นไร มีเงินเสียอย่าง ก็จ้างคนรับใช้ได้สารพัด ทั้งคนดูแลเลี้ยงลูก แม่ครัว คนขับรถ คนสวน ฯลฯ บางครั้งคนรับใช้มีบุตรหลานติดมาด้วย ลูกของท่านก็เลย ได้เพื่อนเล่น ต่างสภาพกัน วันดีคืนดีลูกเกิดมีเหาเต็มหัว ท่านคงอยากกรี๊ดให้สลบ แล้วจะทำอย่างไรดีนะ
เหา (Pediculosis capitis)
เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า "Pediculus humanus" ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่ ให้เกาะติดแน่นอยู่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า บางคนไม่มีอาการเท่าใด แต่จะสร้างความรำคาญใจได้
อายุ
เหาจะพบบ่อยในเด็กวัยเรียนมากที่สุด แต่จริง ๆ แล้วพบทุกเพศทุกวัย
ตำแหน่งที่พบบ่อย
เหาจะพบบ่อยที่ศีรษะด้านท้ายทอย หลังหู อาจลามมาที่คิ้ว คอ ได้ แต่พบน้อย
อาการ
จะมีอาการคันที่บริเวณด้านหลังและด้านตรงศีรษะ ถ้าเกามากเป็นหนอง สะเก็ดแห้งกรัง ได้ บางครั้งเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณท้ายทอย และข้างคอโตได้ ในทางตรงกันข้าม บางคนอาจจะไม่มีอาการใดมาก ไม่คันมาก
การตรวจร่างกาย
ตัวเหาบนศีรษะ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจใช้แว่นขยายช่วยส่องดู ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีตัวเหาบนศีรษะน้อยกว่า 10 ตัว น้ำลายของตัวเหาจะมีสารซึ่งระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้เกิดตุ่มคันตรงรอยกัด
ลักษณะไข่ (Nits)
ไข่รูปวงรี ยาว 1 มิลลิเมตร สีขาวขุ่น เกาะติดแน่นกับเส้นผม จำนวนแตกต่างหันเป็นร้อยเป็นพันได้ ตัวเหาจะวางไข่ที่บริเวณโคนรากผม เมื่อผมยาวขึ้นก็จะเห็นไข่เหาเขยิบห่างจากหนังศีรษะมากขึ้น เช่น ปกติผมจะยาววันละ ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ถ้าพบไข่อยู่บนเส้นผมห่างจากหนังศีรษะหรือโคนรากผม ประมาณ 15 เซนติเมตร แสดงว่าเป็นเหามาประมาณ 9 เดือนแล้ว
ไข่ที่ยังมีตัวอยู่จะมีสีเหลืองขุ่น แต่ไข่ที่ว่างเปล่าไม่มีตัวจะมีสีขาวขุ่น
การวินิจฉัย
ตรวจดูเห็นตัวและไข่เหา
การวินิจฉัยแยกโรค |
|
การติดต่อของโรคเหา |
เป็นการติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง (direct contact) เช่น
|
การรักษา |
|
การป้องกัน |
|
และแล้วเรื่องของเหาก็เอวังแต่เพียงเท่านี้นะคะ
พญ.วิญญารัตน์ ตันศิริ
main |