มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากนิตยสารแม่และเด็ก ปีที่ 20 ฉบับที่ 305 กรกฎาคม 2540 ]

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็ก

พ.ญ.ลำดวน นำศิริกุล


การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะทั้งในเด็กแรกเกิด และเด็กโต เป็นอันตราย ไม่เฉพาะแต่ในขณะที่มีการติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังเป็นสาเหตุของโรคไตวายในผู้ใหญ่ด้วย

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในเด็กอาจไม่แสดงอาการเลย หรือาจแสดงอาการ ของระบบอื่นก็ได้ เป็นสาเหตุที่ทำให้คนไข้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ทำให้เกิดไตวายตามมา การรีบรักษาโดยเร็วพร้อมทั้งคอยติดตามเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

สาเหตุ ของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็ก 85% เกิดจากเชื้อที่มาจากอุจจาระ โดยเชื้อจากบริเวณทวารเข้าไปในท่อปัสสาวะ หรืออาจติดเชื้อส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แล้วลามไปที่ไตโดยไปตามกระแสเลือด ซึ่งพบในเด็กเกิดใหม่

นอกจากนี้ยังพบว่า มีสาเหตุอีกหลายอย่าง ที่เสริมให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ง่าย เช่น เด็กทารก ภาวะขาดอาหาร ภาวะการสร้างภูมิต้านทานผิดปกติ ภาวะที่ไตผิดปกติมาแต่กำเนิด การอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น การใส่สายยางเข้าทางเดินปัสสาวะ พวกพยาธิเส้นด้าย รวมทั้งสบู่ที่ใช้อาบน้ำต่าง ๆ

ในเด็กแรกเกิด พบว่าเด็กผู้ชาย 1-3.7% เป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโดยไม่มีอาการ
ผู้หญิงพบ 0.3-2.1% เป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโดยไม่มีอาการ
พวกที่มีอาการ พบ 1.4 : เด็กที่คลอด 1,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชาย ตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 เดือน
ในเด็กโต พวกไม่มีอาการพบอายุ 2 เดือน - วัยรุ่น 0.5-2.0%     อายุ 6-13 ปี พบ 2.9-5%
พวกมีอาการพบมากที่สุด ระหว่าง 2-5 ขวบ

อาการแสดง
ในเด็กแรกคลอดหรือเด็กเล็ก อาการทั่วไปไม่แน่นอน ผู้ป่วยอาจมาด้วยมีไข้ ไม่เจริญอาหาร น้ำหนักตัวลด ท้องอืด อาเจียน ท้องเสีย เลี้ยงไม่โต เด็กแรกเกิดมักพบร่วมกับภาวะติดเชื้อในเลือด

เด็กอายุ 2-14 ปี ส่วนใหญ่ มีอาการที่บ่งถึงท่อทางเดินปัสสาวะอักเสบ เช่น ปวดท้องบ่อย ปัสสาวะขัด ปวดเบ่ง ปัสสาวะบ่อย กะปริบกะปรอย บางรายปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะไม่ออก อาจมีอาการไข้หนาวสั่นร่วมด้วย ถ้ามีอาการอักเสบของไต

บางรายไม่มีอาการดังกล่าว แต่มาด้วยปัญหาเลี้ยงไม่โต เบื่ออาหาร ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ ไข้ต่ำ ๆ และอาจกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะรดที่นอนซึ่งแต่เดิมไม่เคยเป็นมาก่อน

การวินิจฉัยโรค
โดยการตรวจปัสสาวะ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ โดยการเพาะเชื้อจากปัสสาวะ

การรักษา
ให้ยาลดไข้และยาปฏิชีวนะ

ควรให้ดื่มน้ำมาก ๆ เมื่อปวดปัสสาวะต้องรีบไปถ่าย อย่ากลั้นไว้ ควรทำความสะอาดอวัยวะเพศ และทวารบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงอย่าให้เกิดอาการท้องผูก โดยให้อาหารที่ถูกต้อง หัดให้ถ่ายอุจจาระทุกวัน หรือบางรายอาจต้องให้ยาระบายช่วย หลีกเลี่ยงการใช้สารระคายเคืองต่าง ๆ เช่น สบู่ นอกจากนั้นถ้ามีพยาธิก็ควรให้ถ่ายพยาธิด้วย

ถ้าเด็กมีไข้สูง ปวดท้อง ปวดหลัง ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

การรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ

การรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบในเด็ก จะต้องกินยาฆ่าเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์ หลังหยุดยา 1 อาทิตย์ ก็ควรเพาะเชื้อซ้ำอีกครั้ง

1-2 เดือน หลังหยุดยา ก็ควรทำการเพาะเชื้อซ้ำ เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อซ้ำซ้อนหรือไม่
ในปีแรกหลังการติดเชื้อ ต้องตรวจปัสสาวะทุก 2 เดือน
ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ไม่ว่าชายหรือหญิง ถ้ามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจะต้อง X-Ray หรือ Ultrasound เพื่อดูระบบทางเดินปัสสาวะทุกราย ดูว่ามีความผิดปกติแต่กำเนิดของทางเดินปัสสาวะ หรือไม่ ถ้ามีจะได้รีบผ่าตัดแก้ไขโดยด่วน

พ.ญ.ลำดวน นำศิริกุล


ขอบคุณนิตยสารแม่และเด็ก ที่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1