มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 ]

"งูสวัด"

คณะแพทย์ ดร.สมชาย


เรียน คณะแพทย์ที่นับถือ

เมื่อปีกลายผมเป็นโรคงูสวัดทางลำตัวด้านขวา ผมรักษาด้วยสมุนไพรแผลก็หายดี แต่ทุกวันนี้ก็ยังมีอาการเจ็บอยู่บ่อย ๆ รักษามาหลายครั้งก็ยังไม่ยอมหายเสียที
เลยขอให้คุณหมอพิจารณารายของผมต่อผมจะได้หายทรมานเสียที

ด้วยความนับถือ
แก้ว

ตอบ คุณแก้ว
"งูสวัด" เป็นโรคผิวหนังอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งยังมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยพากันเข้าใจผิดคิดว่า โรคนี้จะเกิดแต่เฉพาะกับคนที่เคราะห์ห้ามยามซวย ผู้ป่วยบางรายหนักเข้าไปอีกถึงกับคิดว่า เป็นเพราะกุศลกรรมติดตามมาสำแดงผล

เป็นความจริงตามความเชื่อถือดังกล่าวนี้หรือ ?

โรคผิวหนังที่เรียกว่า "งูสวัด" นี้แรกเริ่มเราจะมองเห็นผื่นแดง ๆ เกิดขึ้น ถัดจากนั้นอีกประมาณ 3-4 วัน ผื่นแดง ๆ เหล่านี้ก็จะมีเม็ดน้ำใส ๆ พุพองเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แล้วในที่สุดก็จะแตกกลายเป็นแผล

โอ๊ย…ปวดแสบปวดร้อนสิ้นดี

สาเหตุที่มาของโรคผิวหนัง "งูสวัด" นี้เกิดจากการไปติดเอาเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้จะมีล่องลอยอยู่ในอากาศ ภูมิต้านทานทางผิวหนังของคนเราลดลงเมื่อใด โอกาสที่จะได้รับเชื้อก็มีมากขึ้น

อาการจะแสดงออกได้ทุกแห่งนับตั้งแต่ใบหน้า, ลำคอ, แขน, ลำตัว, ขา แต่ที่พบว่าเป็นมากที่สุดก็ตามลำตัว

เป็นความเชื่ออีกเช่นกันที่ว่าหาก "งูสวัด" มันลุกลามรัดรอบตัวเมื่อไร ก็ให้ผู้ป่วยเตรียมนึกถึงพ่อแก้วแม่แก้วเอาไว้ อยากกินอะไรก็รีบ ๆ ซื้อกินเสียว่างั้น

พิจารณาตามลักษณะของโรคแล้ว ความร้ายแรงไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยถึงกับเสียชีวิตได้ แต่ผู้ป่วยที่มีอาการมาก ๆ จะปวดแสบปวดร้อนสะบัดร้อนสะบัดไข้ถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ จะหลับจะนอนแต่ละครั้งถึงกับต้องไปหาเอาใบตองมารองนอน เพราะเชื่อว่าจะช่วยบรรเทา อาการเจ็บปวดได้

กินไม่ได้นอนไม่ได้นี่แหละครับ คือ สาเหตุแห่งความตาย โดยเฉพาะคนไข้ที่อายุมาก ๆ

ศัตรูตัวสำคัญอีกตัวของ "งูสวัด" ตามสถิติพบว่า มีผู้ป่วยไม่น้อยที่รักษาตนเองโดยไม่ยอมไปพบแพทย์ ด้วยการใช้ยาสมุนไพรมารักษา ยาพวกสมุนไพรที่ใช้นั่นแหละ บางครั้งก็มักไม่สะอาดพอ จนทำให้เกิดเป็นบาดทะยักขึ้นมาถึงกับตายเหมือนกัน

อันตรายจริง ๆ ของโรค "งูสวัด" นี้ไม่ได้อยู่ที่เชื้อของมันเอง แต่เกิดจากโรคแทรกซ้อน และโรคแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือ พวกเชื้อ "แบคทีเรีย"

"แบคทีเรีย" เจ้าตัวนี้เข้าไปแทรกซ้อนในแผลเมื่อไหร่ก็จะทำให้แผลนั้นอักเสบ ถ้าเชื้อเข้าไปถึงปลายประสาทก็จะทำให้เกิดอาการปวดตามมา เพราะประสาทจะถูกทำลายไป

เชื้อไวรัสที่มาของ "งูสวัด" นี้ยังไม่มียาชนิดใดสามารถฆ่ามันได้ ทีนี้ก็มากล่าวถึงวิธีการรักษาล่ะครับ ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนเมื่อหนองแตกแล้วกว่าแผลจะหายเราจะใช้เวลารักษาประมาณ 2-4 อาทิตย์

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเป็นโรคแทรกซ้อน แพทย์จะแก้อาการปวดครั้งแรก โดยการให้กินยาแก้ปวด และเมื่อยังปวดอยู่อีกก็จะฉีดยาเข้าไปที่ตัวปลายประสาท ตรงที่มาของอาการปวด ถ้ายังปวดอีกอาจถึงขั้นต้องฉีดแอลกอฮอล์เข้าไปทำลายปลายประสาท หรืออาศัยการผ่าตัด

คณะแพทย์ ดร.สมชาย


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1