มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากนิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 21 ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2540 ]

แผลเป็นคีลอยด์

พญ.วิญญารัตน์ ตันศิริ


ขึ้นชื่อว่าผู้หญิง ใคร ๆ ก็อยากมีผิวที่นวลเนียน น่าทะนุถนอม น่าลูบไล้สัมผัส อยากได้ชื่อว่าเป็นางสาวผิวเนียนกันแทบทั้งนั้น เพราะฉะนั้น สารพัดครีมบำรุง ทั้งยากิน ยาทาบำรุงผิวต่าง ๆ จึงพากันขายดีแทบทั้งนั้น ถ้าวันดีคืนดีเกิดมีจุดด่างดำ ริ้วรอยเกิดขึ้นมาตามแขนขา ลำตัว คงจะทำให้กลุ้มใจไม่น้อย ซ้ำร้าย ถ้าเกิดเป็น แผลเป็นชนิดที่เป็นเนื้อนูนขึ้นมาเหมือนตีนตะขาบ ที่เรียกคีลอยด์ (Keloid) ยิ่งทำให้หมดกำลังใจไปเลย อย่าว่าแต่คุณผู้หญิงเลย ถึงแม้แต่ถ้าเกิดขึ้นในคุณผู้ชาย ก็คงจะกังวลใจไม่แพ้กัน

แผลเป็น คีลอยด์ (Keloid)
คือ ผิวหนังที่เกิดความผิดปกติ นูนหนาขึ้นมานอกขอบ แผลมักพบภายหลังการผ่าตัด
สาเหตุ - ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ มักจะพบว่า ถ้ามีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นแผลเป็น คีลอยด์ง่าย โอกาสที่ตัวเราจะเป็นคีลอยด์ ก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
เพศ วัย ที่พบ - มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย- มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

ปัจจัยที่พบร่วมกัน
มักพบ คีลอยด์ได้ตามหลังภาวะต่าง ๆ ดังนี้
ปัจจัยที่พบร่วมกัน
  1. หลังผ่าตัด เช่น หลังผ่าตัดไส้ติ่ง หลังผ่าตัดคลอดลูก หลังผ่าตัดช่องท้อง ฯลฯ
    มักพบใน แผลหลังผ่าตัดประมาณ 10 เดือน -1 ปีขึ้นไป
  2. ภายหลังการปลูกฝี
  3. ภายหลังการเกิดสิวอักเสบ ที่บริเวณหน้าอก ไหล่ หลัง บางคนชอบไปแกะบีบ เค้น สิวอักเสบนี้โอกาสจะเกิดแผลเป็น คีลอยด์ จะยิ่งมากขึ้น
  4. ภายหลังการเจาะหู ผู้หญิงที่รักสวยรักงาม (รวมทั้งผู้ชายยุคอัลเทอ์เนทีฟ) มักจะนิยมไปเจาะหู บางคนเล่นเจาะทีเดียวข้างละ 3 รู ก็มี บางครั้งเกิด แผลติดเชื้อ อักเสบ หายแล้วกลายเป็น คีลอยด์ก็มี
  5. ภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มธรรมดา หรือรถคว่ำ ตลอดจนโดนฟัน แทง ต่าง ๆ ฯลฯ
  6. แผลไฟไหม้ (burn) แผลไฟไหม้นี้มักจะมีโอกาสเกิดเป็นแผล คีลอยด์ได้สูง บางคนโชคร้าย เป็นที่ใบหน้า จะทำให้ใบหน้าเปลี่ยนรูปแบบ จนจำแทบไม่ได้ก็มี
  7. แผลจากแมงกะพรุนไฟ พบได้บ่อยเช่นกัน

อาการที่เกิดขึ้นใน คีลอยด์
ส่วนใหญ่จะมีอาการคันเกิดขึ้นได้ มากน้อยแล้วแต่ละบุคคล บางครั้งถ้าคันมาก ยิ่งเกาจะยิ่งลุกลามใหญ่โตนูนขึ้นกว่าเก่าได้ บางคนจะมีอาการเจ็บ ตึง แผลคีลอยด์ทำให้ทรมานใจได้เช่นกัน

ตำแหน่งที่พบ คีลอยด์
พบตามตำแหน่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้วข้างต้นได้แก่ บริเวณ

สรุปแล้วดูไปดูมาก็เป็น คีลอยด์ได้เกือบทั่วตัวเหมือนกันนะคะ

การรักษา คีลอยด์
  • ฉีดยาเฉพาะที่ (Intra lesional kenacorte) ฉีดที่ตัวคีลอยด์เลย ผลพอใช้ได้ แต่ปัญหาคือ ผู้ป่วยมักจะเจ็บตอนที่ฉีดยา และต้องมาฉีดเป็นระยะ ตามที่แพทย์นัด
  • ทายากลุ่มสเตียรอยด์ ใช้ทาบริเวณ แผลช่วยระงับอาการคัน ตึง ปวด เพื่อที่จะได้ ไม่ลุกลามขึ้น แต่ แผลคีลอยด์อาจไม่ยุบลงมากเท่าที่ควร
  • แผ่นซิลิโคนใส ใช้ แผ่นซิลิโคนใส ปิด แผลล คีลอยด์ มากกว่า 12 ชั่วโมงต่อ วัน จะช่วยให้ แผลเป็นนี้ยุบลงได้ โดยที่ไม่เจ็บ แต่ใช้เวลอาจจะประมาณ 4-6 เดือน ตัว แผ่นซิลิโคนใสนี้ สามารถนำมาล้างทำความสะอาด ใช้สบู่ฟอก ใช้น้ำสะอาดล้าง แล้วผึ่งให้แห้ง นำมาใช้ปิด แผลเป็นใหม่ได้อีกจนกว่าจะปิดไม่อยู่
  • ใช้แสงเลเซอร์ ได้ผลปานกลาง ขึ้นอยู่กับขนาดคีลอยด์
  • การผ่าตัด ไม่ได้ผล เพราะส่วนใหญ่ ถ้าตัดเอาเนื้อ คีลอยด์ออกไปแล้ว ภายหลังการผ่าตัด มักจะเกิด แผลเป็นคีลอยด์ใหม่ขึ้นมาแทนที่ แผลเก่า แถมจะมีขนาดยิ่งใหญ่กว่าเดิมเสียอีก เรียกว่าได้ไม่คุ้มเสียนะคะ
  • ยากินกลุ่มแอนติฮีสตามีน เพื่อระงับอาการคัน ในกรณีที่คันมาก จะได้ไม่เกา ไม่ลุกลาม ใหญ่ขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตาม อาจใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกันได้ ทั้งนี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เท่านั้น นะคะ เรื่องยากก็อาจจะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น

พญ.วิญญารัตน์ ตันศิริ


ขอบคุณนิตยสารใกล้หมอ ที่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1