มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/
จำสั้นๆ i.am/thaidoc



อะไหล่ผิวหนัง

วีรพงศ์ ตระการวนิช


ผิวหนังปราการด่านสำคัญ ซึ่งเปรียบเสมือนทัพหน้าในการป้องกันการติดเชื้อ และป้องกันการสูญเสียน้ำในร่างกาย เมื่อร่างกายสูญเสียผิวหนังไป ไม่ว่าจะจาการหกล้ม ของมีคมบาด หรือน้ำร้อนลวก ถ้าการถูกทำลายนั้นไม่เกินชั้นหนังแท้ลงไป ร่างกายก็จะมีกระบวนการซ่อมแซมสร้างผิวหนังขึ้นมาใหม่ได้ แต่ถ้าการถูกทำลายนั้นลึกเกินชั้นหนังแท้ลงไป ผิวหนังจะไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองขึ้นมาใหม่ คราวนี้ก็เป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ล่ะครับ ที่จะตัดผิวหนังจากส่วนอื่นตรงไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นแขน ท้องแขน ต้นขา หรือแม้แต่ผิวหนังของก้นก็ได้ มาปะผิวหนังที่ถูกทำลายไป วิธีนี้เรียกว่าการตัดต่อเนื้อเยื่อ ( Skin graft) แล้วรอวันให้ผิวหนังที่ถูกทำลายกับผิวหนังที่นำมาปะ เชื่อมติดกันตามธรรมชาติ โดยมีข้อแม้นะครับว่า ผิวหนังที่ตัดมาปะนี้จะต้องตัดชั้นของหนังกำพร้าทั้งหมด ลงไปจนถึงบางส่วนของชั้นหนังแท้ มันจึงจะช่วยให้ผิวหนัง ส่วนที่ถูกทำลายงอกขึ้นมาได้

ทีนี้ถ้าเกิดในกรณีที่คนไข้ถูกไฟไหม้เกือบทั้งตัวล่ะครับ จะทำอย่างไรดี ผิวหนังที่เหลือของคนไข้ก็น้อยนิด ไม่พอที่จะนำมาตัดต่อกับผิวหนังส่วนที่ถูกไฟไหม้ได้ จะใช้ผิวหนังของผู้อื่น เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคนไข้จำแนกได้ว่า ไม่ใช่เนื้อเยื่อของตนเองก็จะพยายามทำลายไป เพราะฉะนั้นการรักษาที่เหมาะสมที่สุดในกรณีนี้คือ การทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยเองมีปริมาณมากพอ ที่จะนำมาแปะติดกับบาดแผลของผู้ป่วย ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อผิวหนัง (Skin culture) ส่วนวิธีการเป็นอย่างไร ศ.คูนิฮิโกะ โยชิกาวา จะเป็นผู้มาเล่าให้ฟังครับ

เนื้อเยื่อผิวหนังจะประกอบด้วยเซลล์ผิวหนังชั้นนอก เรียกว่า เคอราติโนไซต์ (Keratinocyte) ซึ่งจะเชื่อมติดกัน โดยสารพิเศษในแนวนอนเป็นผืนและแนวตั้งเป็นชั้น เหมือนเรานำเศษผ้ามาเย็บติดกันเป็นผืน และนำหลายๆ ผืนมาวางซ้อนเย็บติดกันเป็นชั้นๆ

การเพาะเลี้ยงผิวหนังทำได้โดยตอนแรกนำผิวหนังชั้นนอกขนาดเล็กๆ มาย่อยด้วยเอนไซม์พิเศษให้หลุดออกมาเป็นเซลล์ๆ (คือ จะได้เป็นเศษผ้าเล็กๆ เทียบได้กับเซลล์แบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้น) จากนั้นเติมสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์แบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้น ทำหลายๆ ครั้ง จนพบว่าผิวหนังมีขนาดแสตมป์ 1 ดวง จะโตใหญ่ขึ้นเป็นผืนคลุมได้ทั้งตัวคนเลยทีเดียว ซึ่งเซลล์เหล่านี้ยังสามารถนำไปแช่งแข็ง และเก็บไว้ใช้ได้อีกด้วย

เมื่อต้องการใช้ ก็จะนำผืนเซลล์พวกนี้มาซ้อนกัน 5-6 ชั้น โดยอาศัยสารสังเคราะห์พิเศษยึดไว้ นำส่งไปให้แพทย์แปะติดกับบาดแผลผู้ป่วย

โรคผิวหนังแต่กำเนิดบางโรคที่ทำให้มีบาดแผลง่าย หรือผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง กลับเป็นอีกบ่อยๆ จากการที่ขาดอาหาร หรือมีโรคของหลอดเลือดทำให้ผิวหนังอ่อนแอ ก็สามารถนำผิวหนังของผู้ป่วยเองมาเพาะเลี้ยง เก็บไว้ใช้รักษาตัวเองได้ด้วย

นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่โดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ก็อาจนำผิวหนังที่เพาะเลี้ยงของผู้อื่นที่เก็บไว้มาใช้ปะปิดแผลได้ แต่ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยจะทำลายเซลล์พวกนี้ใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา ซึ่งกว่าจะถึงตอนนั้นผิวหนังของผู้ป่วยก็เจริญเติบโตมาปิดแผลได้เองแล้ว และยิ่งถ้าแผลนั้นตื้น ผลการรักษาจะเร็วและดี เหมือนใช้ผิวหนังของตัวผู้ป่วยเองเลยทีเดียว

ข้อจำกัดของเทคนิคนี้

ในขณะนี้วิธียังใช้กับบาดแผลทุกชนิดไม่ได้ กรรมวิธีปัจจุบันยังต้องใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ กว่าจะได้ผิวหนังหนึ่งผืนซึ่งช้ามาก และยังมีความต้านทานการติดเชื้อไม่ดี ทำให้มีปัญหาในพวกแผลเรื้อรังและแผลที่ติดเชื้อ และยังอยู่ในระหว่างรอการอนุญาตให้ใช้จากกระทรวงสาธารณสุข (ญี่ปุ่น) อยู่ อีกประการหนึ่งผิวหนังที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะเป็นเพียงหนังกำพร้าไม่ค่อยทนทานต่อแรงเสียดสี เพราะฉะนั้นในขั้นต่อไปจะพยายามทำให้เกิดชั้นผิวหนังระดับล่างลงไป ที่เรียกว่า หนังแท้ (อยู่ใต้ เคอราติโนไซค์) ชั้นนี้จะมีเนื้อเยื่อพิเศษ ที่มีความหนาแน่นสานกันเป็นตาข่ายอย่างมีระเบียบ เพิ่มความแข็งแรง เป็นฐานแข็งแรงแก่ผิวหนังชั้นนอก สารในชั้นนี้ส่วนใหญ่เรียกว่า ใยคอลลาเจน สร้างมาจากเซลล์ไฟโบรบาสต์ แต่ยังต้องอาศัยเวลาอีกนานในการวิจัยค้นคว้าต่อไป

อย่างไรก็ตาม คาดว่าต่อไปเทคนิคนี้จะมีความสำคัญ ในการรักษามากขึ้น นอกจากนี้ในด้านการวิจัย วิธีนี้ประหยัด ทั้งสามารถนำผิวหนังที่แก่เหี่ยวย่นหรือมีโรคมาศึกษาได้เพิ่มขึ้นด้วย

เป็นไปได้ว่าในอนาคต เราอาจใช้เทคนิคนี้เก็บผิวที่ยังเต่งตึงมาเลี้ยง พอแก่ตัวลง ก็นำผิวคนที่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ออกมาเพาะเลี้ยง จากนั้นก็สอดใส่ยีนปกติลงแทนที่ยีนผู้ป่วย แล้วเอาไปปะให้ผู้ป่วย เป็นการรักษาแบบหายถาวร


[ที่มา..หนังสือ UPDATE ปีที่ 9 ฉบับที่ 104 มกราคม 2538]

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1