พญ.นันทิรัตน์ สมรูป
โฆษณาแชมพูยี่ห้อต่าง ๆ ในทีวีขณะนี้ กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไปอย่างมาก บางยี่ห้อใช้นางแบบ หรือดาราชื่อดังมากเป็นพรีเซ็นเตอร์ ถึงกับไม่ทุ่มไม่อั้นทีเดียว บางบริษัทก็ใช้สาวไฮโซ เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับแชมพูของตน แต่ก็ได้ผลนะคะ เพราะคนไข้ของหมอหลายราย ทั้งที่เป็นโรคผิวหนังต่าง ๆ หรือมีปัญหาเรื่องผมร่วง มักถามหมอด้วยคำถามว่า
"แชมพูยี่ห้อไหนดีคะ" หรือ "ยี่ห้อนี้ ดีไหมคะ"
เรามารู้จักคำว่า "แชมพู" กันดีกว่า
แชมพู (Shampoo) มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ
Surfactant กลุ่มแรก คือ Anionic นั้น มีคุณสมบัติละลายน้ำแล้วให้ประจุลบให้ฟองมาก ไม่เป็นอันตรายต่อตา และมีราคาไม่แพง ดังนั้น แชมพูตามท้องตลาดมากมายจะมี ingredient ชนิดนี้ผสมอยู่ในเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูง ตัวนิยมใช้คือ Alkyl sulfate salt, Aryl sulfonate และ Sarcoside กลุ่มแรกนี้มีความเป็นด่างค่อนข้างมาก และตกตะกอนเมื่อทำปฏิกิริยากับ Calcium และ magnesium ซึ่งตะกอนที่เกาะตามผมเหล่านี้จะทำให้ผมด้าน ข้อเสียของ Surfactant กลุ่มนี้อีกอย่างหนึ่งคือ ทำให้ผมฟู เนื่องจากมีประจุลบผลักดันระหว่างประจุลบในเส้นผมกับประจุลบจาก Surfactant
กลุ่มที่ 2 Cationic มีคุณสมบัติ คือ ละลายน้ำแล้วได้ประจุบวก บางชนิดมีอันตรายต่อตาและผิวหนัง และมีฟองน้อย เนื่องจากคุณสมบัติของการมีฟองน้อยนี้เอง จึงไม่นำมาใช้เป็นตัวหลักในการทำแชมพู แต่มักนำมาใช้เป็น Active ingredient ของครีมนวดผม (Rinse) เพื่อ neutralize ประจุลบ ซึ่งเกิดจากการใช้แชมพูที่มี Anionic surfactant เป็นส่วนประกอบหลัก ดังนั้น คุณผู้อ่านคงเห็นถึง ประโยชน์ของการใช้ครีมนวดผมแล้วนะคะ ว่าจะช่วยทำให้ผมไม่ฟูออกจากการที่มีประจุผลักกัน ตัวอย่าง เช่น Quarternary Lanolin (Lanoquat) และ Protein Q
ปัจจุบันนี้มีแชมพูหลายยี่ห้อที่เรียกว่า Two in One ความหมายถึง มีทั้ง Shampoo และ Rinse อยู่ในขวดเดียวกันนั่นเอง
กลุ่มที่ 3 คือ Amphoteric มีคุณสมบัติ คือ ละลายน้ำแล้วมีทั้งประจุบวกและลบ ช่วยปรับ pH ช่วยให้ฟองคงทน ช่วยให้ผมไม่หยาบแห้ง แต่มีราคาแพง และจับกับเส้นผม ทำให้ผมดูมัน และแฉะง่าย ดังนั้นจึงเป็นตัวผสมในแชมพู แต่ไม่ใช่ตัวหลัก ตัวอย่างเช่น Miranol, Derphat
กลุ่มสุดท้าย คือ Nonionic มีคุณสมบัติ คือ ละลายน้ำแล้วไม่ให้ประจุ ทำให้ฟองคงทน แต่มีราคาแพง จึงไม่ใช้เป็น Main ingredient ใช้เป็นส่วนผสมที่ช่วยป้องกันผมเปราะจาก Anionic surfactant
ทีนี้มากล่าวถึง Additive กันบ้าง
Additive
คือ สารที่ผสมลงไป ทำให้มีคุณสมบัติต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
Basic Test เป็นการวัดในส่วนของผู้ผลิตส่วนใหญ่ ซึ่งประเมินในเรื่องของ
1. ฟองและความคงทนของฟอง
2. ความสามารถในการทำความสะอาด
3. ความเป็นกรด-ด่าง
4. ความสามารถในการละลาย
Cosmetic Attribute Test เป็นการวัดในด้านความงามในการใช้นั่นเอง ซึ่งประเมินในเรื่องของ
1. คุณสมบัติในการหวี (Combing property)
2. ความแข็งแรงของโครงสร้างของผม (Body)
3. ความฟู (Flyaway)
4. ความเงางาม (Luster)
5. ความอ่อนนุ่ม (Feel)
คุณผู้อ่านคงนึกออกนะคะ ว่าเราคงประเมินแชมพูในด้าน Cosmetic มากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่ เราประเมินได้ เพราะด้านหลังของขวดแชมพูมักไม่บอกเปอร์เซ็นต์ของ Active ingredient หรอกค่ะ ดังนั้น "คำตอบของแชมพูยี่ห้อไหนดีค่ะ" คงไม่มีคำตอบตายตัวคะ
ลักษณะแชมพูที่ดีที่สังเกตได้คือ
1. ไม่ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา
2. ล้างออกได้ง่าย
3. หวีผมได้ง่ายขณะที่ผมยังเปียกอยู่
4. หวีผมและจัดทรงได้ง่ายเมื่อผมแห้ง
5. ทำให้ผมสวยเป็นเงางาม
6. ทำให้ผมแห้งเร็ว
7. กระจายไปทั่วผมและหนังศีรษะได้ง่าย
8. มีฟองมากและฟองอยู่ได้นาน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบและความรู้สึกของผู้ใช้มากกว่า ตราบใด ที่ยังไม่มีเรื่องอื่น ๆ เช่น มีรังแค หรือผมร่วงมากผิดปกติ แต่หมอแนะนำว่าไม่ควรใช้แชมพูหลายยี่ห้อในเวลาเดียวกัน หรือเปลี่ยนแชมพูบ่อย ๆ เพราะถ้ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เราก็ไม่ทราบว่าเกิดจากแชมพูยี่ห้อไหน จริงมั๊ยคะ
พญ.นันทิรัตน์ สมรูป
main |