พญ.วิญญารัตน์ ตันศิริ
เชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะพอรู้จักกับ "หูด" และ "ตาปลา" กันบ้างพอสมควร บางท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อหูดเฉย ๆ แต่ไม่เคยเป็น ไม่รู้จักว่าหน้าตาของหูดนี่ เป็นอย่างไร บางท่านเคยเป็นหูดกันแล้ว หรือมีญาติพี่น้องคนรู้จักกันเป็นหูด จะรู้ว่าเจ้าหูดนี่ น่าเบื่อน่ารำคาญใจจริง ๆ บางท่านเกิดมาไม่เคยได้ยินคำว่า "หูด" มาก่อนเลย ไม่เข้าใจ ด้วยซ้ำว่า หูดคืออะไรกัน และในทางตรงกันข้าม ถ้านึกถึงตาปลา ส่วนใหญ่จะรู้จักกันดี เพราะพบได้บ่อยมาก ทำให้เกิดมีการท้ากันว่า "อย่าเหยียบตาปลากันนะ" หูดกับตาปลาจะไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีหูดอีกประเภทหนึ่ง เรียกกันว่า "หูดข้าวสุก" ซึ่งแตกต่างจากหูดทั่วไปทั้งลักษณะ รูปร่าง ตำแหน่งและเชื้อโรค วิธีการรักษา ก็ยังแตกต่างกันอีกด้วยทั้ง หูดทั่วไป ตาปลา และหูดข้าวสุก ค่อนข้างจะเป็นเรื้อรัง ก็ยังแตกต่างกันอีกด้วยทั้ง หูดทั่วไป ตาปลา และหูดข้าวสุก ค่อยข้างจะเป็นเรื้อรัง บางครั้งในบางคนชอบกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ไม่หายขาด ทำให้เบื่อหน่ายได้ ลองมาดูรายละเอียดของหูด ตาปลา และหูดข้าสุก กันดีกว่านะคะ
หูด (Wart)
หูด เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส "ปาโปวา" (papova virus) ลักษณะหูดนี้จะเป็นเม็ดตุ่มนูนแข็ง มีรากอยู่ข้างใต้หูด มีขนาดแตกต่างกันไป แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
|
ใครกันบ้างที่เป็นหูด ?
หูดพบได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้หูดมักจะพบในผู้ที่มี ความต้านทานต่ำหรือไม่ค่อยสบาย มีการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย
หูดมีอาการอย่างไร ?
หูดทำให้มีอาการเจ็บได้แต่ไม่คัน ส่วนใหญ่ที่เจ็บมากคือ หูดที่ฝ่าเท้า เพราะเมื่อคุณเดินไปเดินมา จะไปกดทับหูดโดยตรง ทำให้เจ็บได้
หูดติดต่อกันอย่างไร
วิธีการติดต่อของหูดทั้ง 3 ชนิด คือ ติดต่อทางการสัมผัสเชื้อโดยตรง (direct contact) เช่น ถ้าคุณผู้อ่านมีรอยถลอก หรือมีแผล ตามมือ เท้า แขน แล้วอยู่ดี ๆ ก็ไปสัมผัสกับคนที่เป็นหูดนี้ โดยที่ตัวคุณไปสัมผัสเข้ากับเจ้าตุ่มเม็ดหูดนี้โดยตรงเลย เชื้อไวรัสหูดนี้ ก็จะสามารถแพร่กระจาย มาที่ตัวคุณผู้อ่านได้ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่แล้ว คนที่เป็นหูด ระยะแรกจะมีเม็ดเดียว ต่อมาเกิดรำคาญหงุดหงิดใจ ก็เลยลองแกะดูเล่น ๆ หรือพยายามใช้กรรไกรตัดเล็บตัดออก แกะไปแกะมา จะทำให้เกิดการแพร่กระจาย ของเชื้อไวรัสหูดนี้ได้ ดังนั้นช่วงแรก อาจเป็นหูด 1 เม็ด ต่อมาไม่นาน กลายเป็นหูดถึง 10-20 เม็ดเชียวนะคะ อย่าทำเป็นเล่นไป
วิธีการรักษาหูด
|
ปัญหาของการรักษา
คือ หูด มักจะกลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่อีก ที่บริเวณใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม
หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)
หูดข้าวสุก เป็นโรคอีกชนิดหนึ่งแตกต่างจากหูดทั่วไป หูดข้าวสุก เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อว่า "พอกซ์" (pox virus) ลักษณะเป็นตุ่มแข็งสีขาวขนาดเล็ก ตรงกลางมีรอยบุ๋มเล็กน้อย ถ้าลองสะกิดตุ่มสีขาวนี้ออก แล้วเอามือบีบดู จะพบเนื้อหูดสีขาว คล้ายเม็ดข้าวสุก
ตำแหน่งที่พบ
ในวัยเด็ก จะพบตุ่มนี้ ที่ใบหน้า ลำตัว แขน ขา ติดต่อได้ง่ายมากทางการสัมผัสโดยตรง (direct contact)
ในผู้ใหญ่ มักจะพบตุ่มนี้บริเวณอวัยวะเพศ จึงมักจะติดต่อกันได้ทาง เพศสัมพันธ์
อาการ
ของหูดข้าวสุกมักจะไม่ค่อยมีอาการคันหรือเจ็บ
วิธีการรักษา
|
หูดกับตาปลาต่างกันอย่างไรบ้าง ?
หลายคนคงพอจะรู้จักกับตาปลา มีข้อแตกต่างกันดังนี้
หูด (wart) |
|
ตาปลา (callus) |
|
พญ.วิญญารัตน์ ตันศิริ
main |