มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอกจาก นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 22 ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2541 ]

สู้ภัยแดด

นพ. จารุวัธน์ พลเดช


ปัจจุบันเราทราบกันว่าแสงแดดที่ส่องมายังพื้นโรคนั้น มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 200 ถึง 3000 นาโมเมตร และแสงแดดโดยรวมนั้น มีทั้งคุณประโยชน์และโทษ ซึ่งคนในโซนเอเซีย จะไม่ค่อยชอบ เนื่องจากจะทำให้เกิดผิวสีคล้ำขึ้นเกิดไหม้แดด, ฝ้า และกระเข้มขึ้น ดูไม่สวยงาม โดยหลักการแสง นั้นแบ่งตามความยาวคลื่นได้ 3 กลุ่ม คือ
  1. แสงอัตราไวโอเลต (Ultraviolet) 200-400 นาโนเมตร
    • UVA 320-400 nm ทำให้เกิดผิวไหม้แดด, ผื่น แพ้แดด และทำให้ผิวสีแทน
    • UVB 280-320 nm ทำให้เกิดผื่นระคายเคือง, ไหม้แดด, กระ ฝ้าเข้มขึ้น , ริ้วรอยและ มะเร็งโรคผิวหนังได้
    • UVC 200-280 nm ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังแต่ไม่พบบนพื้นโลก เพราะมีชั้นบรรยากาศกั้นไว้
  2. แสงทีทำให้มองเห็นภาพ (Visible light) 400-700 นาโนเมตร
  3. แสงและรังสีความร้อน (Infrared) มากกว่า 760 นาโนเมตร

แสง UV light ที่ส่องมายังโลกในแต่ละวันส่วนมากจะอยู่ใน 2 ช่วง ตอนกลางวันคือตั้งแต่เวลา 9.00-12.00 น. และบ่าย 12.00-15.00 น. ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการออกแดดหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งตอนนี้ทางสมาคมโรคผิวหนังกำลังรณรงค์ให้โรงเรียนจัดกิจกรรมพละศึกษา หลังช่วงเวลานี้ เช่นกัน

แสง UV สามารถส่องทะลุหรือสะท้อนลำแสงเมื่อตกกระทบกับวัตถุต่าง ๆ เช่น พื้นดิน, กระจก ฉะนั้น ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน ก็จะสามารถรับเอารังสี UV ได้เช่นกัน จำไว้ว่า ยิ่งขึ้นไปที่สูงเท่าไร ก็จะรับเอารังสี UV ได้มากเท่านั้น เคยมีรายงานว่าโอกาสของแอร์หรือนักบิน นักปีนเขา ชาวเขา จะเกิดเป็นฝ้า หรือกระ มากกว่าคนที่อยู่ในที่ราบ เช่นเดียวกับการไปทะเล หรือว่ายน้ำ ผิวจะคล้ำขึ้น เนื่องจากโดนแสงสะท้อนกระทบผิวน้ำและไอแดด

หน้าต่างกระจกบางชนิดที่แสงส่องลอดได้ สามารถกัน UVB ได้ แต่ไม่สามารถกัน UVA ได้ นอกจากทำพิเศษ ดังนั้นการขับรถตอนกลางวัน ควรสวมแว่นกันแดด ที่ป้องกันทั้งแสง UVA และUVB การป้องกันอันตรายต่อแสงแดด ที่จะมารบกวนผิวสวยของคุณ ทำได้ง่ายที่สุด ก็คือการหลบเลี่ยงแสงแดด แต่การทำอย่างที่ว่านั้น คงเป็นไปไม่ได้ตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีผู้ค้นคิดครีมกันแดด ขึ้นมาใช้ (bopical sunscreen) ซึ่งครีมกันแดดที่ดีนั้น จะต้องดูดซับรังสี UVB หรือลดอันตรายต่อผิว จากทั้งรังสี UVA และ UVB

ปัจจุบันครีมกันแดดได้แบ่งออกเป็น 3 จำพวก คือ
  1. แบบเคมี (chemical sunscreen) ใช้สารดูดซับแสง UV ไม่ให้ผ่านสู่ชั้นในของผิว แยกเป็นกลุ่ม PABA และไม่มี PABA ส่วนมากเนื้อครีมจะเหนียวหนืดติดทนกับผิว ป้องกัน UVB ได้ และ UVA ได้บางส่วน บางครั้งใช้แล้วผิวอาจจะเป็นสีแทนได้
  2. แบบฟิสิกส์ (Physical sunscreen) ใช้สารทึบแสง ทำให้เกิดการสะท้อนและหักเห ของแสงที่จะตกกระทบผิว ให้สะท้อนกลับ สารพวกนี้ไม่ค่อยกันน้ำและเหงื่อ ต้องทาซ้ำบ่อย ๆ เพราะหลุดง่าย แต่ทำให้ผิวขาวนวลเวลาใช้
  3. แบบผสม (combination sunscreen) ปัจจุบันถือว่าดีที่สุด สามารถป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB มีความปลอดภัยสูง

SPF (Sun protecting factor)
SPF MED ของคนที่ใช้กันแดด
เป็นการวัดค่าประสิทธิภาพของยากันแดดที่ใช้โดยวัดจากแสง UVB เท่านั้น การวัดคิดจาก MED (Mininal erythema dose) เป็นการใช้ปริมาณรังสีอย่างน้อยที่สุด ที่ทำให้เกิดปฏิกริยา อักเสบของผิว (Delay sensitivity) ฉะนั้นค่า SPF ยิ่งสูง แสดงว่าประสิทธิภาพการป้องกันแสง ดี เช่น SPF 15 หมายความว่า คนที่ทากันแดด จะป้องกันแสงได้ทน นานกว่าคนที่ไม่ทา กันแดด 15 เท่า เช่น สมมุติคนไทยมีค่าทนของผิว MED 20-30 นาที, คนที่ใช้กันแดดที่มี SPF 15 จะได้ค่าทนต่อแสง เพิ่มเป็น 30x15 = 450 นาที คิดเป็น 7 ชม. 5 นาที แต่โดยทั่วไป ครีมกันแดดที่วางขายตามท้องตลาด คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเคยไปสุ่มตรวจแล้ว ปรากฏว่าตัวเลขต่ำกว่าความเป็นจริง เกือบทั้งนั้น ดังนั้นควรเลือกเบอร์ SPF สูงขึ้นเล็กน้อย

การเลือกยากันแดด
  1. เลือกตามลักษณะการใช้งาน เช่น อยู่ในที่ร่ม, เล่นกีฬา, ไปทะเล ฯลฯ
  2. ดูค่า SPF เสมอให้เลือก SPF 15 หรือสูงกว่า
  3. คุณสมบัติป้องกันทั้ง UVA และ UVB กันน้ำ, เหงื่อได้ดี
  4. พิจารณาตามลักษณะผิว เช่น ผิวมันอาจใช้โลชั่น, ผิวธรรมดาใช้เป็นครีม
  5. หลีกเลี่ยงสารประกอบที่ทำให้เกิดอาการแพ้ง่ายเช่นในกลุ่ม PABA
  6. ราคาไม่แพงมาก

วิธีใช้ครีมกันแดด
  1. ทาให้ทั่วหน้าก่อนออกแดดประมาณ 1/2-1 ชม. เป็นอย่างน้อย
  2. ให้ทาใหม่ทุกครั้งเมื่อล้างหน้าถูกน้ำหรือเหงื่อออกมาก
  3. กรณีว่ายน้ำ ควรใช้เป็นแบบ water resistance โดยทา 1/2-1 ชม. ก่อนลงน้ำและเมื่อขึ้นจากน้ำตอนกลางวันให้ทาซ้ำใหม่
  4. วิธีทาให้ทาบาง ๆ ให้ทั่ว ๆ เน้นส่วนที่สัมผัสแสงเช่น โหนกแก้ม, ดั่งจมูก
  5. กรณีผู้ที่มีฝ้า, กระ ควรใช้ทุกวันและใช้ร่มช่วยเวลาออกแดด

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย
  1. ระคายเคือง แสบ คัน หลังทา และเกิดสิวได้ง่าย
  2. ผื่นตุ่มเม็ดเล็กจากปฏิกริยาแพ้สารประกอบบางตัว ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม PABA, PABA ester ถ้าเกิดอาการดังกลล่าว ขอแนะนำให้มาพบแพทย์ผู้ชำนาญจะดีกว่า

นพ. จารุวัธน์ พลเดช


[ BACK TO ความงาม]   [ BACK TO เรื่องยา]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
ห้องสมุด E-LIB [ hey.to/yimyam ]

best view with [IE3.02] [NETSCAPE 4.05] [OPERA 3.21]
1