กองบรรณาธิการใกล้หมอ
มะเร็งของผิวหนัง ในสมัยก่อนแทบจะไม่พบในเด็กเลยแต่ปรากฏว่าเดี๋ยวนี้เฉพาะที่สหรัฐอเมริกา มีการตรวจพบมะเร็งผิวหนังปีละ 5 แสนราย โดยในจำนวนนี้เป็นเด็กและวัยรุ่นมากขึ้น ยิ่งมีข่าวว่า ชั้นโอโซนในบรรยากาศเปลือกโลก ถูกทำลายไปมาก ก็ยิ่งทำให้โอกาส เกิดมะเร็งผิวหนังเพิ่มขึ้น เพราะขาดเครื่องกรองรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด
ผิวหนังของเด็ก ๆ จะมีความอ่อนไหวต่อแสงแดดมากที่สุดใน 10 ขวบปีแรกของชีวิต ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการนำเด็กทารก ออกไปสัมผัสแสงแดด และถ้าเป็นไปได้ ในกรณีที่ลูก ๆ ออกไปเล่นกลางแจ้ง ระหว่างเวลา 10.00 น.-15.00 น. ก็ควรทายากันแดด ประเภทซันสกรีน (SUNSCREEN) และไม่ว่าเด็กจะมีผิวหนังแบบไหน ก็ควรใช้ซันสกรีน อย่างน้อย 15 SPF ขึ้นไป โดยอาจเลือกโลชั่น หรือครีมชนิดกันน้ำ เพราะจะเกาะผิวหนัง ได้นานขึ้น
แม้ในวันที่มีเมฆมาก เด็ก ๆ ก็ยังมีโอกาสเกิดผิวไหม้แดด (SUNBURN) ได้ โดยเฉพาะคนที่มี ผิวขาว หรือ ในฝรั่งที่มีผมสีบรอนด์ หรือแดง และตาสีจาง ข้อเสียของผิวไหม้แดดก็คือ การเกิดจ้ำผิวไหม้แดด ครั้งเดียวก็จะทำให้บริเวณนั้นมีความเสี่ยงสูงขึ้น ต่อการเกิดมะเร็ง ผิวหนังชนิด เมลาโนมา (MELANOMA) ซึ่งเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงที่สุด เคราะห์ดีที่ว่า การใช้ซันสกรีนในช่วง 18 ปีแรกของชีวิต จะลดโอกาสเกิดผิวไหม้แดด และมะเร็งผิวหนังได้อย่างมาก
ซันสกรีนและซันบล็อคไม่เหมือนกัน
ซันสกรีน
ผลิตในรูปครีม, โลชั่นหรือน้ำมัน โดยมีหน่วยเป็น SPF (SUN PROTECTION FACTOR) คือเป็นตัวเลขที่บอกคร่าว ๆ ว่าผิวหนัง จะสัมผัสแดดได้นานเท่าใด ก่อนจะเกิดการไหม้ เมื่อเปรียบเทียบกับ เวลาที่ไม่ได้ทาซันสกรีน ยกตัวอย่างเช่น โลชั่นกันแดดที่มี SPF= 8 หมายความว่า ถ้าทาโลชั่นนี้แล้วจะสัมผัสแสงแดดได้นานขึ้น
8 เท่า เมื่อเทียบกับผิวหนังที่ไม่ได้ทาโลชั่น ข้อจำกัดของ SPF คือ กล่าวถึงรังสีอัตราไวโอเลต แถบ B (UVB) เท่านั้น โดยไม่ได้กล่าวถึงUVA
เมื่อเราทาซันสกรีนลงบนผิวหนัง สารเคมีจากซันสกรีน ก็จะทำปฏิกริยากับสารเคมี บนผิวหนัง จนได้สารที่ช่วยปกป้องผิวหนัง จากแสงแดดอันแรงกล้า และเนื่องจากปฏิกริยา ที่ว่านี้ ต้องใช้เวลาพอสมควร ดังนั้นก่อนจะออกไปสัมผัสแสงแดด ควรทาซันสกรีนเสียก่อน อย่างน้อย 20 นาที ส่วนประกอบของซันสกรีน ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ในการกันแดดคือ การผสมผสาน ระหว่างสาร PABA และ BENZOPHENONES
สารต่าง ๆ ที่ใช้ทำซันสกรีนมี อาทิเช่น
|
|
ซันบล็อค (SUNBLOCK)
ทำหน้าที่เป็นเสมือนม่านบังแดดให้ผิวหนังจริง ๆ ดังนั้นจึงมักจะเป็นครีมสีทึบ ประกอบด้วยซิงค์ออกไซด์ หรือไทแทเนียมออกไซด์ ซึ่งถ้าทาผิวดี ๆ แล้วจะป้องกันรังสี UVA และ UVB ไม่ให้ทะลุถึงผิวหนัง เนื่อจากเป็นม่านบังแดดสนิทจึงไม่ต้องมีหน่วย SPF แต่ในกรณีที่ซันสกรีนมี SPF สูงกว่า 15 บางทีเขาก็เรียกผลิตภัณฑ์นั้นว่าซันบล็อคได้ แม้มันจะยอมให้รังสีอัตราไวโอเลตผ่านบ้างก็ตาม
ท่านผู้อ่านลองไปสำรวจผลิตภัณฑ์จำพวกซันสกรีน หรือ ซันบล็อค บนหิ้งวางสินค้า ในห้างร้านใหญ่ ๆ จะพบสินค้าไม่ต่ำกว่า 60 สูตร และถ้าดูดี ๆ จะพบสินค้าออกใหม่ ที่ช่วยปกป้องผิวหนังจากแสงแดด ได้ทั้ง UVA และ UVB
แต่เดิมนั้นเราจะห่วงแต่รังสี UVB ซึ่งเป็นตัวการก่อมะเร็งและผิวไหม้แดด แต่ต่อมาพบว่า UVA ซึ่งมีคลื่นแสงยาวกว่า UVB ไม่เพียงแต่ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัยเท่านั้น ยังทำให้เนื้อเยื่อประสานที่อยู่ใต้ผิวหนังเกิดความเสียหาย แล้วยังอาจมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ในร่างกาย ได้อีกด้วย นักวิจัยจึงเริ่มสงสัยว่า UVA อาจเป็นตัวการก่อมะเร็งด้วย พวกเขาจึงคิดค้นสารมาเติมลงไปในซันสกรีนเพื่อให้คุ้มครองผิวหนังจาก UVA ได้ เขาเรียกสารนี้ว่า "PARSOL 1789" ซึ่งแพงกว่าซันสกรีนธรรมดาถึง 2 เท่าตัว แต่ถ้าจะประหยัดสตางค์ลงก็หันไปใช้ซันบล็อคซึ่งมีซิงค์ออกไซด์ หรือไทแทเนียมออกไซด์ เพราะจะกัน UVA และ UVB ได้ ข้อเสียคือทาแล้วรู้สึกเหนอะหนะ
วิธีเลือกหาซันสกรีน
|
จากนิตยสารใกล้หมอ
main |