มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

แพทย์เตือนใช้'ไวอะกร้า' เสี่ยงตาบอดสีถึงบอดสนิท

จากกรุงเทพธุรกิจฉบับ วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ.2541


แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุ การใช้ยา 'ไวอะกร้า' หรือ ตัวยา ''ซิลดีนาฟิล'' รักษาอาการ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีผลกระทบต่อการมองเห็น ทำให้ไม่สามารถแยกสีเขียวและสีฟ้า ออกจากกันได้ ในกรณีที่ตัวยาสะสมอยู่ในเรตินามาก อาจทำให้ตาบอดสีและอาจมองไม่เห็น ในที่สุด ด้านสมาคมแพทย์ทางตาของสหรัฐอเมริกา กำลังจับตาดูอย่างเข้มงวดว่า จะมีผลกระทบอย่างไร

ศ.พ.ญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต หัวหน้าภาควิชาจักษุ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ยาบางชนิดในการรักษาโรค มีผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อดวงตา ทำให้การมองเห็นสีเปลี่ยนไป โดยเป็นผลจากเซลล์โคนซึ่งเป็นตัวรับรู้สีในเรตินาเปลี่ยนและเสียไป เนื่องจากตัวยา ไปรบกวนระบบการเห็นสี แต่จะมีอาการเพียงชั่วคราวในระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นก็กลับมา เป็นปกติเหมือนเดิม อาทิ ยารักษาวัณโรค บางชนิด และ 'ซิลดีนาฟิล' ซึ่งเป็นตัวยาของ 'ไวอะกร้า'

''การสะสมของสารในเรตินาจากการใช้ ''ซิลดีนาฟิล'' หรือ ''ไวอะกร้า'' นอกจากจะทำให้ ตาบอดสีแล้ว มีส่วนทำให้โคนเซลล์ ซึ่งเป็นตัวรับรู้การเห็นสีมีผลกระทบกระเทือนต่อ การมองเห็นด้วย เพราะไวอะกร้าจะออกฤทธิ์ไปทั่วร่างกาย ไปเกาะที่-รีเชฟเตอร์ของ PDE 5 [Posphodiesterase Type 5] เพื่อทำให้อวัยวะ แข็งตัวแล้ว ยังไปเกาะที่ PDE 6 จึงทำ ให้การมองเห็นผิดปกติ แต่เนื่องจากเป็นยาใหม่คงต้องติดตามผลในระยะหนึ่ง'' ศ.พ.ญ.สกาวรัตน์ กล่าว

ด้าน น.พ.เรย์มอนต์ แอนโทนี่ คอสตาบาลย์ ศัลยแพทย์สาขาโรคระบบปัสสาวะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำโรงพยาบาลวอลเตอร์รีด อาร์มี เมดิคัล เซนเตอร์ ประเทศ สหรัฐอเมริกา กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ผู้ที่ใช้ 'ซิลดีนาฟิล' พบว่า 3% ในผู้ป่วย 3,000 ราย มีอาการด้านการมองเห็น คือ ไม่สามารถแยกสีฟ้าและสีเขียวออกจากกันได้ อาการดังกล่าวเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ 1-2 ชั่วโมง ก็กลับเข้าสู่ปกติ

"อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สมาคมแพทย์ทางตาของสหรัฐกำลังเฝ้าติดตามผลข้างเคียง จากการใช้ยาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด'' น.พ.เรย์มอนต์กล่าว

สำหรับยาไวอะกร้า นำเข้าและจัดจำหน่ายโดยบริษัท ไฟเซอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยได้รับการอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนยาจากคณะกรรมการยา และขึ้นทะเบียนยา กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ที่ผ่านมา พร้อมเงื่อนไขการจัดโครงการเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างปลอดภัย ให้แก่แพทย์ บุคลากรทางด้านสาธารณสุข และ ประชาชนทั่วไป

ทั้งนี้ ในส่วนของการจัดจำหน่าย บริษัทไฟเซอร์ฯ จะจำหน่ายผ่านองค์การเภสัชกรรม และทางองค์การเภสัชฯ จะจำหน่ายให้เฉพาะโรงพยาบาลเท่านั้น โดยจะไม่มีวางจำหน่าย ในท้องตลาด นอกจากนั้น ในการสั่งจ่ายยา จะต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยว ชาญเป็นผู้สั่งจ่าย

สำหรับผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น ทางบริษัทไฟเซอร์ฯ ยืนยันว่า ถ้าการใช้ยาไวอะกร้า อยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถจะใช้ยาได้อย่างปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า ยาไวอะกร้ามีจำหน่ายในตลาดมืด โดยผู้บริโภคสามารถ หาซื้อได้เอง ไม่ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่าย ซึ่งมีจำหน่ายมาก่อนที่ยาไวอะกร้าจะได้รับอนุมัติ ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทำให้ทางบริษัท ไฟเซอร์ฯ จึงได้เร่งประชาสัมพันธ์ ภาพยาไวอะกร้า และบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องไปยังสื่อต่างๆ


[ BACK TO คำเตือน] [ BACK TO เรื่องยา]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1