พาเด็กหนีตาม
เขาอยู่กันได้เพียง 2 อาทิตย์ พ่อแม่ฝ่ายเด็กผู้หญิงก็เอาหมายมาค้นบ้านผม และพาลูกสาวเขากลับไป พร้อมกับแจ้งความตำรวจว่า ลูกชายผมข่มขืนลูกสาวของเขา และข้อหาพรากผู้เยาว์ ขณะนี้เรื่องยังอยู่ที่ สถานีตำรวจ
จริงหรือไม่ที่มีคนแนะนำผมว่าให้ไปสู่ขอเด็กกับพ่อแม่ แล้วร้องขอต่อศาล ให้เด็กทั้งสองคน จดทะเบียน สมรสกัน ศาลจึงจะไม่ลงโทษ ผมจะได้จัดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน เพื่อช่วยลูกชายให้พ้นโทษ
หัวอกผู้เป็นพ่อ
ตอบ |
อย่างไรก็ตามแม้จะไม่ต้องรับโทษในความผิดดังกล่าว แต่การที่มีการพาเด็กหญิงหนีตามกันมาในขณะที่ เด็กหญิงยังเป็นผู้เยาว์อยู่ในอำนาจปกครองของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ถือว่าเป็นการล่วงละเมิด อำนาจของบุคคลดังกล่าวด้วย ดังนั้นผู้ที่พาเด็กหนีมาก็ยังมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารด้วย
และเดิมมักจะเข้าใจกันว่าการที่ฝ่ายผู้กระทำผิดยังไม่มีภริยา ทำให้ฝ่ายชายสามารถที่จะพาเด็กหญิง ไปเป็น ภริยาได้ จึงอาจไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร เพราะชายสามารถที่จะ จดทะเบียนสมรส เลี้ยงดูผู้เยาว์เป็นภริยาได้ รวมทั้งเคยมีคำพิพากษาของศาลตัดสินสนับสนุนได้ว่า การพาเด็กหญิงอายุ 14 ปี เศษไปด้วยประสงค์จะเลี้ยงดูเป็นภริยาไม่เป็นการพรากไปโดยปราศจาก เหตุอันสมควร จึงมีผลให้ ในระหว่างคดีได้หาทางออกโดยการร้องขอใขอเด็กหญิงและฝ่ายชายได้จด ทะเบียนสมรสกันตามคำสั่ง ของศาล เพื่อให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการอาจจะมีคำสั่งไม่ฟ้อง คดีฐานพรากผู้เยาว์ หรือเพื่อให้ศาล ไม่ลงโทษ ในความผิดฐานกระทำชำเราโดยเด็กหญิงเต็มใจและ รอการลงโทษในความผิดฐานพรากผู้เยาว์
การหาทางออกไว้เช่นนี้จึงก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามนานาประการ เพราะเด็กหญิงเหล่านี้ยังไม่ถึงวัย ที่เหมาะสมที่จะมีครอบครัว ดิฉันขออนุญาติคัดลอกความเห็นของนักกฎหมาย ที่ให้ข้อคิดไว้ ในบันทึกท้าย คำพิพากษาฎีกาที่ 5079/2537 แย้งความเห็นที่ศาลเคยตัดสินไว้ในคดีดังกล่าวว่า เป็นความผิดฐาน พรากผู้เยาว์ มาให้ดูว่า "การที่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ชายพาหญิงไปเป็นเมียแล้ว ไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไป โดยปราศจากเหตุอันสมควร ย่อมเป็นความเข้าใจผิดอย่างมากและเป็นความเข้าใจที่ทำลายหลักศีลธรรม อันดีของชนชาติโดยแท้ ทั้งนี้เพราะในอดีตนั้นเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปแล้วว่า การที่ชายพาหญิงหนีไป และหญิงนั้นยังเป็นเด็ก อยู่ในเกณฑ์พรากผู้เยาว์ ชายจะต้องมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปโดยไม่มีเหตุ อันสมควร ในทางชนบทจะมีเรื่องราวการฉุดหรือทำพิธีพาหญิงหนีไปเพื่ออยู่กินด้วยกันเช่นนี้เสมอ ซึ่งถือว่าเป็นการทำลายจิตใจของบิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่ได้ยินยอมด้วย ทั้งไม่รู้เห็นเป็นใจด้วย จึงต้องจัดเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร
จากประสบการณ์การทำงานของดิฉันที่ผ่านมาพบว่าสำหรับรายที่แก้ปัญหาโดยยอมให้เด็กหญิง จดทะเบียนสมรสกับฝ่ายชายไปก่อน เพื่อให้ศาลจะได้ไม่ลงโทษฝ่ายชายในความผิดฐานชำเรา โดยเด็กหญิงเต็มใจ หรือเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมไม่ดำเนินคดีในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ เช่น การสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการหรือการที่ศาลใช้ดุลพินิจรอการลงโทษ
แต่การที่แก้ปัญหาดังกล่าวกลายเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจฝ่ายเด็กหญิงเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กหญิงที่ต้อง มามีครอบครัวก่อนวัย ในขณะที่วัยของเธอควรจะอยู่ในแวดวงการศึกษา เพื่อแสวงหาความรู้ ในการประกอบวิชาชีพ เพื่อสร้างความมั่นคงแก่ชีวิตในวันข้างหน้า ต้องกลับมารับหน้าที่แม่บ้านด้านเดียว และยังด้อยวุฒิภาวะในการครองเรือนในวัยอันสมควร ทำให้เพื่อประโยชน์ให้ฝ่ายชายรอดพ้น จากคดีอาญา แต่ในระยะยาวเด็กหญิงเหล่านี้มักจะถูกฝ่ายชายผู้เป็นสามีเขี่ยทิ้งในวันข้างหน้าเสมอ
การตัดสินเช่นนั้นเท่ากับไม่ได้ใช้มาตรการในการลงโทษทางอาญามาปราบปรามปัญหาสังคมได้เสมอไป กลับสนับสนุนให้มีการกระทำเกิดขึ้นเช่นนี้เป็นประจำเพราะสมาชิกในสังคมมิได้เกรงกลัวต่ออาญาบ้านเมือง ดังนั้นต่อมาศาลฎีกาจึงได้เปลี่ยนแนวเป็นว่า แม้ศาลจะอนุญาตให้การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายซึ่งอายุ เพียง 14 ปีเศษ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษฐานกระทำชำเราเด็กก็ตาม แต่ก็ลงโทษจำเลยฐานพรากผู้เยาว์ โดยไม่มีเหตุอันสมควรได้ ทั้งนี้เพื่อให้ความคุ้มครองแก่มารดาหรือผู้ปกครองของเด็กหญิงที่เป็นผู้เสียหาย ซึ่งจะช่วยเหลือเด็กหญิงเหล่านี้ได้ทางหนึ่ง เพราะการไม่ปรามโดยการไม่ลงโทษหรือรอการลงโทษดังกล่าว มาแล้วแก่ผู้ที่พาเด็กหญิงหนีแม้จะพาเลี้ยงเป็นภริยา แต่ทางออกคือยอมให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือไปจดทะเบียน สมรสได้ สังคมไทยคงจะยุ่งเหยิงกว่านี้เป็นแน่
ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับแนวคิดของกระบวนการยุติธรรมในแต่ละยุคสมัยว่าจะใช้มาตรการลงโทษในการปกป้อง สังคมเพียงใด ดิฉันจึงตอบคุณได้ว่าปัจจุบันนี้จึงไม่แน่ว่าวิธีการร้องขอต่อศาล ให้เด็กจดทะเบียนสมรสกัน แล้วจะทำให้ลูกชายของคุณรอดพ้นจากคดีอาญาได้เสมอไป
สุกัญญา รัตนนาคินทร์
main |