คนไทยทุกคน มีหน้าที่ต้องรู้กฏหมายไทย
หมวดนี้ จะนำเสนอบทความเกี่ยวกับ กฏหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
ที่คุณต้องรู้ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข
[ hey.to/yimyam ]

[ คัดลอกจาก คลินิก กฏหมาย จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 2 มีนาคม 2542 ]
law clinic

สัญญาก่อนสมรส



ดิฉันกำลังจะแต่งงานกับแฟนประมาณกลางปีนี้ หากดิฉันจะจดทะเบียนสมรสกับแฟน โดยตกลงกันในขณะจดทะเบียนสมรสไว้ 2 อย่างคือ
-ในการขายทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส ดิฉันจะให้แฟนจัดการได้ตามลำพัง,
-ถ้าวันใดดิฉันกับแฟนหย่ากัน ให้สินสมรสทั้งหมดตกเป็นของดิฉันฝ่ายเดียว

. เหตุที่เราตกลงกันเช่นนี้ เพราะแฟนทำธุรกิจจะได้สะดวกในการตัดสินใจ แต่ถ้าเราเลิกกันทรัพย์สินทั้งหมดจะได้ตกแก่ดิฉัน เพื่อเป็นหลักประกันชีวิตสมรสของเรา ดิฉันกับแฟนตกลงจะทำกันในก่อนจดทะเบียนสมรสจะทำได้หรือไม่ และวันข้างหน้าถ้าเราจะยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกล่าว ในขณะที่จดทะเบียนสมรสไปแล้ว จะทำได้หรือไม่

สุปราณี

ก่อนที่ชายหญิงจะจดทะเบียนสมรสกัน กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสที่จะทำสัญญาก่อนสมรส กำหนดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามี ภริยา ในเรื่องทรัพย์สินได้ ซึ่งหากไม่มีสัญญาก่อนสมรสได้ ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาในเรื่องทรัพย์สิน ต้องเป็นไปตามกฎหมาย

สินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายคือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่น เงิน ทอง เพชร รถ ฯลฯ คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจจัดการได้ตามลำพัง เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ได้แก่บ้าน ที่ดิน คอนโด ที่เป็นการขาย จำหน่าย จำนองที่กฎหมายบังคับให้คู่สมรสจะต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนการซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นการได้มา คู่สมรสย่อมจัดการตามลำพังได้อยู่แล้ว

ที่กล่าวมาคือ ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ในเรื่องการจัดการทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส ดังนั้นคู่สมรสใดที่ต้องการที่จะจัดการเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ตามลำพัง โดยไม่ต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องขอความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง จึงอาจทำได้โดยการทำสัญญาก่อนสมรส

สัญญาก่อนสมรสทำได้โดยการจดแจ้งสัญญาก่อนสมรสไว้ในทะเบียนสมรส พร้อมกันไปกับ การจดทะเบียนสมรส หรือจะทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคน แนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส พร้อมทั้งจดไว้ในทะเบียนสมรส ในขณะจดทะเบียนสมรสว่า ได้มีสัญญาดังกล่าวแนบไว้ สัญญาก่อนสมรสใดที่ตกลงกันไว้ถ้าไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนดแนบไว้ สัญญาก่อนสมรสนั้นจะตกเป็นโมฆะ

อย่างไรก็ตาม การทำสัญญาก่อนสมรส จะต้องเป็นเรื่องของการจัดทรัพย์สิน ดังนั้นเงื่อนไขข้อที่ 2 ของคุณว่า ต้องการหย่าขาดกัน ให้สินสมรสทั้งหมดตกเป็นของภริยาฝ่ายเดียว โดยสามีไม่มีสิทธิในสินสมรสนั้น สัญญาก่อนสมรสตราเงื่อนไขข้อที่ 2 ใช้บังคับไม่ได้ เพราะไม่ใช่สัญญาที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน แต่เป็นสัญญาเกี่ยวกับ การแบ่งทรัพย์สินหลังจากการหย่า เงื่อนไขที่ 2 ถึงแม้จะเขียนไว้ก่อน เป็นสัญญาก่อนสมรสในทะเบียนสมรสก็ไม่อาจใช้บังคับได้

โดยทั่วไปสัญญาก่อนสมรส เมื่อได้ทำขึ้นตามแบบที่กฎหมายกำหนดคือ บันทึกไว้ในทะเบียนสมรส ในขณะที่มีการจดทะเบียนสมรสแล้ว จะทำให้ผูกพันคู่สมรสตลอดไป การจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสที่ทำไว้จะทำไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล และแม้จะมีข้อความในสัญญาก่อนสมรสไว้ให้สามีภริยามีสิทธิที่จะตกลงเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสได้ ข้อตกลงเช่นนี้บังคับไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรส ต้องร้องขอต่อศาลให้อนุญาตเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คู่สมรสที่อยู่กินจดทะเบียนกันแล้วซึ่งต่อไปอาจตกอยู่ใต้อิทธิพลของอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสฝ่ายที่เสียประโยชน์อาจถูกบีบบังคับให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรส โดยเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ได้ เพื่อให้การคุ้มครองในเรื่องนี้ จึงต้องให้ศาลอนุญาต แต่สัญญาก่อนสมรสที่ได้ทำ และต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หากยังไม่มีการจดทะเบียนสมรส ย่อมแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

สุกัญญา รัตนนาคินทร์


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด
ห้องสมุด E-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]
1